"TURN EXPERIENCE TO VICTORY"

Litigation

Litigation

Posted by on May 16, 2013

James & Partners Law Offices provides and assists our clients into several courts in any types of case in Thailand including breach of contract case, joint venture dispute case, governmental Case, tax dispute case, insurance dispute case, debt enforcement, tort, international trade dispute, general criminal case, securitization case, fraud and embezzlement case, labor dispute case, bankruptcy and rehabilitation case, family dispute case, prosecution and defense of white collar crimes, DSI accusation. Experience – Thailand-lawyer/ Litigation (Government Contracts) The firm represented Pollution Control Department, Ministry of Natural Resources and Environment in a white collar crime case relating to public contracts in Thailand. This was the first time in history that Thai government retained a specialized private law firm to replace the Attorney General’s office as the representative of the authority. The firm acted as plaintiff’s attorney in taking legal action against nineteen defendants who were former politicians and powerful construction contractors. The amount claimed in the complaint was approximately Baht 30 Billion, representing the biggest cheating case ever filed with Thai court. In November 2005 the court made a ruling that the...

Read More

Company Registration

Company Registration

Posted by on May 16, 2013

James &Partners Law Offices provides wide ranges of corporate services for Thai and foreign clients such as Limited Company Registration,  company’s name reservation include select business entities, Memorandum  Registration, Joining as a Company Promoter, one day registration, company promoter, company director, power of director, 25 % paid-up, Drafting  Article of association, TAX &VAT registration  for company, requiring for any business license(FBC,FBL ), dissolution, M&A. furthermore, we also assisted our  client in drafting reviewing any types of agreements,  and draft relevant legal opinion for our client. Guideline for setting Limited Company in Thailand by James and Partners Law Offices Steps for limited company registration under the Laws of Thailand 1. Corporate Name Reservation The reserved name must not be repeatable or similar to name of other registered companies, which approved by the Commercial Registration Department at the Ministry of Commerce (“MOC”) before. After that, the approved corporate name must be registered within 30 days. Note: Company name reservation must be done via Department of Business Development (“DBD”) website only the process should not spend time more than 30 minutes 2. Memorandum Registration...

Read More

Visa & Work Permit

SPECIAL PACKAGES FOR FOREIGNERS ARRIVED THAILAND

Posted by on May 8, 2021

English Russian Chinese Japanese Korean English Russian Chinese Japanese...

Read More

BOI

BOI

BOI

Posted by on May 16, 2013

James & Partners Law Offices provides several legal practices in connection with investment field. We assist our client to obtain BOI’s promotion in every step including filing and revising BOI application and supporting documents, following up and dealing with BOI’s officers, advising eligible business types under BOI promotion for our clients.  We also advised on benefits and rights of clients under BOI such as collecting FBC under BOI, setting up company under BOI’s benefits and rights, filing applications for expats or workers of clients under BOI promotion and purchasing of real estate for client under BOI promotion. After obtaining BOI we assist our client to make annual report to BOI’s official.  Our office assist investors who want to invest in Thailand and other Asean countries toward the opening of AEC in 2105. Enhancing Competitiveness and Investment Facilitation • Offers an attractive and competitive package of tax incentives. • Imposes no foreign equity restrictions on manufacturing activities or on some service. • Provide assistance in the provision of visas and work permits to facilitate entry and        subsequent operation for...

Read More

Recent Posts

ค่าโทร ใน-นอกเครือข่ายต่างกัน??

ค่าโทร ใน-นอกเครือข่ายต่างกัน??

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

ผู้อ่านหลายท่านอาจจะไม่ได้สังเกตว่าที่ผ่านมาผู้ประกอบการต่างออกแพคเกจ ค่าโทร ในเครือข่ายเดียวกันถูกกว่าโทรนอกเครือข่าย ขณะที่ผู้ใช้บริการก็มักจะไม่ทราบว่าบรรดาเลขหมายที่โทรออกไปนั้นอยู่ภายในหรือนอกเครือข่าย บทความฉบับนี้จะได้วิเคราะห์ข้อกฎหมายกันว่า ค่าโทร ในเครือข่ายกับโทรนอกเครือข่ายนั้นจะต่างกันได้หรือไม่

การที่บรรดาค่ายโทรศัพท์มือถือกำหนดให้เป็นเช่นนั้นก็เนื่องมาจาก ในการโทรข้ามโครงข่ายนั้นจะมีอัตราค่าเชื่อมต่อข้ามโครงข่ายหรือ Interconnection Charge หรือ ค่า IC ซึ่งเป็นการคิดค่าเชื่อมต่อโครงข่ายเพื่อให้โครงข่ายฝ่ายรับได้รับผลประโยชน์จากการติดต่อสื่อสารในครั้งนั้นด้วย โดยทางโครงข่ายต้นทางจะเป็นผู้จ่ายค่า IC ให้กับโครงข่ายฝ่ายรับ ซึ่งจะส่งผลในทางอ้อมกับผู้ใช้บริการโครงข่ายเพราะต้นทุนค่าติดต่อสื่อสารจะเพิ่มมากขึ้น ทำให้ค่าใช้บริการอาจจะต้องเพิ่มตามไปด้วย แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีประกาศ กทช. (ซึ่งก็คือ กสทช. ในปัจจุบัน) กำหนดให้ผู้ประกอบการคิดค่าบริการโทรใน-นอกเครือข่ายราคาเดียว โดยสาระหลักของคำสั่งดังกล่าวที่มีการออกในยุคของ กทช. ตั้งแต่เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 คือ ห้ามผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมดำเนินการจัดทำรายการส่งเสริมการขายในลักษณะที่มีการเรียกเก็บค่าใช้บริการโทรคมนาคมจากผู้ใช้บริการของตนในอัตราที่แตกต่างกันสำหรับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในโครงข่าย (On-net) และการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระหว่างโครงข่าย (Off-net) โดยหากพบว่าผู้ประกอบกิจการรายใดฝ่าฝืน ให้สำนักงาน กสทช. กำหนดมาตรการบังคับทางปกครอง เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดโดยเคร่งครัดต่อไป

ประกาศดังกล่าวส่งผลให้ผู้ประกอบการโครงข่ายโทรศัพท์หลายรายเช่น บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด ได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.2555 ขอให้เพิกถอนคำสั่งของ กสทช. ที่ห้ามเรียกเก็บเงินค่าบริการในกิจการโทรคมนาคมจากผู้ใช้บริการในอัตราที่แตกต่างกันสำหรับบริการโทรคมนาคมลักษณะหรือประเภทเดียวกันดังกล่าวข้างต้น โดยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานั้นศาลปกครองกลางมีคำพิพากษายกฟ้องโดยให้เหตุผลว่าคำสั่ง กสทช. กรณีดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว เพราะเหตุว่าการที่ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมเรียกเก็บค่าบริการโทรคมนาคมในอัตราที่แตกต่างกันระหว่างการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในโครงข่าย (On-net) กับการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระหว่างโครงข่าย (Off-net) เป็นการขัดต่อมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 และข้อ 17 ของประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง อัตราขั้นสูงของค่าบริการและการเรียกเก็บเงินล่วงหน้าในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 และคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 19/2553 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2553 เรื่อง ห้ามเก็บค่าบริการในกิจการโทรคมนาคมจากผู้ใช้บริการในอัตราที่แตกต่างกันสำหรับบริการโทรคมนาคมลักษณะหรือประเภทเดียวกัน โดยข้ออ้างอื่นๆ ที่บริษัทดิจิตอลบรรยายในฟ้องนั้น ศาลเห็นว่าไม่อาจรับฟังได้

ขณะนี้คดีอยู่ในระหว่างการยื่นอุทธรณ์ให้ศาลปกครองสูงสุดพิจารณา ในชั้นนี้จึงถือว่าคดีความยังไม่สิ้นสุด แต่ผลของคำพิพากษาของศาลปกครองกลางมีผลว่าคำสั่งของ กทช. ดังกล่าวยังมีผลบังคับใช้อยู่ และผู้ประกอบกิจการต้องอยู่ใต้บังคับ

นอกจากคดีความของบริษัทดังกล่าวข้างต้นที่ศาลปกครองได้ยกฟ้องไปแล้ว บริษัทผู้ประกอบการรายอื่นๆเช่น บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ก็ได้ยื่นฟ้องเพื่อขอให้ศาลเพิกถอนประกาศดังกล่าวเช่นกัน โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ศาลปกครองกลางก็ได้มีคำพิพากษายกฟ้องดังเช่นคดีก่อนหน้านี้ โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวของ กทช. ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ส่วนประเด็นผลกระทบ และความเสียหายต่างๆ จากการออกคำสั่งตามที่ผู้ฟ้องกล่าวอ้างนั้นไม่อาจรับฟังได้ โดยศาลชี้ชัดว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ได้มีผลเป็นการจำกัดเสรีภาพในการประกอบกิจการ แต่ตรงกันข้ามกลับถือเป็นการสนับสนุนให้มีการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรีและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น อีกทั้งผู้ฟ้องคดีมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อประโยชน์ต่อหลักการกำกับดูแลค่าบริการในกิจการโทรคมนาคมอันเป็นบริการสาธารณะ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน และผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมในการแข่งขันและเข้าถึงบริการโทรคมนาคมที่มีคุณภาพมากที่สุด

การที่ศาลปกครองกลางเห็นว่าคำสั่งของ กทช. หรือ กสทช. ฉบับดังกล่าวจะเป็นการสนับสนุนให้มีการแข่งขันโดยเสรีและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้นก็อาจเป็นเพราะเมื่อผู้ประกอบการรายใดสามารถทำได้โดยอาจยอมมีกำไรที่ลดลงเพราะต้องทำให้ค่าบริการนอกโครงข่ายเท่ากับค่าบริการในโครงข่าย ย่อมได้รับความนิยมจากผู้ใช้บริการและมีผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามมีผู้แสดงความคิดเห็นที่ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลปกครองกลางว่าคำสั่งดังกล่าวถูกกำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้บริโภคในเรื่องของการมีเสรีภาพในการติดต่อสื่อสารได้อย่างทั่วถึงโดยไม่ต้องคำนึงว่าเป็นการใช้บริการโทรศัพท์มือถือในโครงข่ายโทรคมนาคมเดียวกันหรือต่างกัน และไม่ก่อให้เกิดข้อจำกัดหรือภาระที่ต้องคอยตรวจสอบว่าเลขหมายปลายทางนั้นเป็นเลขหมายที่อยู่ในโครงข่ายโทรคมนาคมเดียวกันหรือไม่เพราะไม่ว่าจะโทรในโครงข่ายเดียวกันหรือต่างกันก็ไม่มีผลต่ออัตราค่าบริการก็ตาม แต่หากเรามาวิเคราะห์ถึงผลจากการปรับค่าบริการให้เท่ากันทั้งใน-นอกเครือข่ายดังกล่าวแล้วจะพบว่าคำสั่งดังกล่าวอาจจะส่งผลให้ค่าบริการเฉลี่ยทั้งการโทรภายในเครือข่ายและนอกเครือข่ายนั้นสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากเป็นเพราะผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องปรับลดราคาค่าบริการโทรนอกเครือข่ายให้ลดลงเท่ากับค่าบริการโทรในเครือข่าย ทำให้ค่าบริการโดยรวมสูงขึ้น ผู้ใช้บริการจึงอาจจะต้องจ่ายค่าบริการในเครือข่ายที่สูงเกินควร ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาดังกล่าวอาจทำได้โดยการลดค่า IC ลงเพราะหากอัตราค่าไอซียังคงเดิม เมื่อมีการปรับกติกาให้คิดอัตราค่าบริการโทรใน-นอกเครือข่ายเป็นอัตราเดียว การกำหนดราคา ค่าโทร ภายในเครือข่ายต่ำๆ ก็จะทำไม่ได้อีกต่อไป แต่ต้องเป็นการกำหนดอัตรา ค่าโทร แบบเฉลี่ยระหว่างการโทรข้ามเครือข่ายกับภายในเครือข่าย

สำหรับการคิดค่า IC ในประเทศไทย กทช. ได้กำหนดให้ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเรียกเก็บค่าตอบแทนการใช้หรือเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมให้เป็นไปตามที่คู่กรณีเจรจาตกลงซึ่งปัจจุบันผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ทั้ง 3 ราย ได้ใช้รูปแบบ CNPN (ให้คนโทรออกเป็นคนจ่าย) โดยกำหนดอัตราค่าเชื่อมต่อโครงข่ายในส่วนการรับสายเรียกเข้าในอัตราประมาณ 45 สตางค์ต่อนาที อันเป็นผลมาจากการปรับลดค่า IC ลงของ กสทช. และการประกาศใช้อัตราขั้นสูงค่าบริการโทรศัพท์มือถือห้ามเกินนาทีละ 99 สตางค์ ซึ่งทำให้ค่า IC หรือค่าเชื่อมโยงโครงข่ายนั้นมีอัตราถูกลง แสดงให้เห็นว่าค่า IC นั้นมีผลต่อค่าบริการมือถือโดยรวม ซึ่งหากในอนาคตมีการปรับแก้ไขปัญหาดังกล่าวย่อมจะส่งผลให้ค่าบริการโทรศัพท์ถูกลงมากขึ้นอันจะส่งผลดีต่อผู้ใช้บริการในประเทศไทยต่อไป

Source : http://telecomjournalthailand.com/

เช็คก่อนแชร์!

เช็คก่อนแชร์!

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

เมื่อไม่กี่วันมานี้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ออกมากล่าวถึงผลการสำรวจสถิติของไอซีที ที่พบว่าปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้ใช้แอพพลิเคชั่น“ไลน์” ประมาณ 33 ล้านคน โดยมีการส่งข้อความวันละเกือบ 40 ล้านข้อความ และได้แจ้งว่ากระทรวงไอซีทีสามารถสอดส่องตรวจดูได้หมดว่ามีการส่งต่อข้อความประเภทไหนบ้างในแอพพลิเคชั่น“ไลน์” โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อความหมิ่นประมาท ข้อความหมิ่นสถาบันและข้อความที่มีผลกระทบด้านความมั่นคงซึ่งจะถูกจับตาเป็นพิเศษ ต่อมาทางด้านบริษัท LINE ประเทศไทย ได้เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าวว่า LINE ยืนยันว่าไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลผู้ใช้ได้ซึ่งถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล และในทางสากลก็มีกฎหมายละเมิดสิทธิของผู้ใช้ LINE คุ้มครองอยู่ หากทางการไทยประสานมาที่ LINE ประเทศไทยเพื่อจะขอข้อมูลผู้ใช้ก็จะต้องมีหมายศาลมาที่ทาง LINE และติดต่อไปที่ LINE ประเทศญี่ปุ่นหรือบริษัทแม่ก่อน แต่ยังขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทแม่ด้วยว่าจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ได้หรือไม่ ทั้งนี้เพราะบริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทต่างชาติ การที่จะขอข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้จึงจะมีหลายขั้นตอนในการติดต่อระหว่างประเทศ อีกทั้งนโยบายความเป็นส่วนตัวที่ทางไลน์แจ้งไว้กับผู้ใช้ก็ระบุชัดเจนว่าจะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวใดๆของผู้ใช้หากไม่ได้รับความยินยอมอีกด้วย

ข้อกล่าวอ้างขอทางไลน์ในประเด็นข้อมูลส่วนตัวนั้นก็ถูกต้องอยู่และมีกฎหมายไทยรองรับว่า ผู้ใช้บริการย่อมได้รับความคุ้มครองในสิทธิความเป็นส่วนตัวหรือสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่เคยมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในมาตรา 35 ซึ่งบัญญัติว่า “สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ ส่วนตัว ย่อมได้รับความคุ้มครอง การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ ส่วนตัว จะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ”

จากกรณีดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงแง่มุมในการใช้เครื่องมือเพื่อสื่อสารในโลกออนไลน์ทั้งสองด้านได้เป็นอย่างดี กล่าวคือทางผู้ที่ตรวจสอบควบคุมไม่ให้มีการกระทำผิดกฎหมายก็จะต้องคอยติดตามและหาหลักฐานเพื่อเอาผิดกับผู้ที่กระทำความผิดเพราะปัจจุบันแต่ละวันมีการส่งข้อความประเภทนี้จำนวนมากเช่นกัน ส่วนที่ไลน์ประเทศไทยออกมากล่าวเช่นนั้นก็น่าจะเป็นเพราะว่าตามหลักสากลแล้วในสังคมเห็นว่าเรื่องนี้มีความสำคัญมากเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน (As a Right of the Person) โดยการกำกับดูแลสิทธิส่วนบุคคลเป็นเครื่องมือในการคุ้มครองความเสี่ยงประเภทต่างๆ ในระบบการทำธุรกิจ เพื่อที่จะสามารถให้ความมั่นใจเกี่ยวกับความปลอดภัย การรักษาข้อมูล หลักในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งทางบริษัทไลน์ย่อมยึดถือเรื่องนี้เป็นนโยบายสำคัญในการให้บริการ

อย่างไรก็ตามไม่ว่าการขอตรวจสอบข้อมูลจากทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมดูแลดังกล่าวจะสามารถทำได้หรือไม่ ผู้ใช้บริการพึงระมัดระวังในการที่จะส่งต่อข้อมูล Social Media ใดๆทางออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นการแชร์เรื่องราวจาก Facebook  หรือแม้กระทั่งการส่งข้อความต่อกันทางไลน์โดยควรจะตรวจสอบก่อนว่าเรื่องดังกล่าวนั้นมีแหล่งที่มาจากไหนและมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด เพราะการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จและก่อให้เกิดความเสียหาย หลอกลวง ปล่อยข่าวลือให้เกิดความตื่นตระหนกต่อสาธารณะ หรือนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นมาเผยแพร่จนทำให้เกิดความเสียหาย อาจมีความผิดตามกฎหมายไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 ที่ห้ามนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นหรือประชาชน ข้อมูลอันเป็นเท็จที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติหรือทำให้เกิดความตื่นตระหนกกับประชาชน ข้อมูลที่ผิดกฎหมายว่าด้วยความมั่นคงและการก่อการร้าย และข้อมูลที่เป็นเรื่องลามกอนาจาร โดยจะมีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงมาตรา 16 ซึ่งเป็นความผิดอันเนื่องมาจากการนำภาพของผู้อื่นมาตัดแต่งต่อเติมแล้วเผยแพร่ในลักษณะที่ทำให้บุคคลนั้นได้รับความเสียหาย อับอาย ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง มีโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้การกระทำดังกล่าวยังอาจมีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญาอีกด้วย ทำให้ผู้ที่เผยแพร่นั้นโดนฟ้องเป็นคดีอาญาได้ ขณะที่สื่อมวลชนซึ่งทำการเผยแพร่ต่อไปก็ดีหรือผู้ที่ส่งต่อข้อมูลที่เข้าข่ายความผิดข้างต้นก็ดี ถือว่ามีความผิดด้วยและมีโทษเท่ากับตัวการผู้ผลิตข้อมูลดังกล่าว เนื่องจากการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นความผิดข้างต้นก็มีความผิดเช่นเดียวกัน ดังนั้นหากใครได้รับการส่งต่อข้อความประเภทนี้ สามารถนำข้อความนั้นไปแจ้งความกับตำรวจเพื่อให้กระทรวงไอซีทีดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ในการไปตรวจสอบหาต้นตอที่ส่งมาได้  ส่วนกรณีที่หากมีการจับกุมแล้วผู้ต้องสงสัยอ้างว่า “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” นั้นอาจจะฟังได้ยากเพราะตามกฎหมายแล้วถือว่าเป็นคนที่สมรู้ร่วมคิด ดังนั้นทางที่ดีทุกคนไม่ควรส่งต่อข้อความที่สุ่มเสี่ยงและอาจจะเป็นความผิดตามกฎหมายดังกล่าวหรือข้อความที่มีลักษณะพาดพิงถึงบุคคลที่สามที่อาจทำให้ได้รับความเสียหายได้

นอกจากการส่งต่อหรือเผยแพร่ข้อความที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมายข้างต้นแล้ว ด้วยในยุคสมัยที่ข้อมูลต่างๆถูกเผยแพร่อย่างรวดเร็วและเข้าถึงได้ง่ายผ่านทางสื่อออนไลน์ ปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในยุคนี้คือการใช้ “สื่อสังคมออนไลน์” (Social Media) เพื่อจุดกระแสบางอย่างในสังคม หากแต่มิได้ทำอย่างตรงไปตรงมาจนหลายครั้งทำให้ผู้รับสื่อเกิดความสับสน ไม่เว้นแม้กระทั่งสื่อหลักทั้งไทยและต่างประเทศ ที่นำไปขยายความต่อโดยอาจจะไม่ได้ตรวจสอบต้นตอหรือจุดประสงค์ให้ดีเสียก่อน ซึ่งเมื่อเผยแพร่ออกไปแล้วอาจเกิดความเข้าใจผิดๆได้ โดยที่เห็นกันบ่อยๆเช่นกลยุทธ์การโฆษณาแบบ “ไวรัลมาร์เก็ตติ้ง” (Viral Marketing) หรือการสร้างกระแสขึ้นมาสักอย่างหนึ่งผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่เมื่อผู้รับสื่อเห็นแล้วก็จะนำไปบอกต่อกับคนอื่นๆโดยไม่ว่าจะบอกต่อในแง่ใดก็ตาม การใช้กลยุทธ์โฆษณาแบบไวรัลมาร์เก็ตติ้งนี้ในหลายกรณีแม้จะไม่ผิดในแง่กฎหมาย แต่ก็ถูกตั้งคำถามถึงความเหมาะสมและการนำเสนอที่ชวนให้คนเข้าใจผิดอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นคนเสพสื่อออนไลน์ในยุคนี้จึงต้องใช้วิจารณญาณขั้นสูงก่อนแชร์ข้อมูลออกไป เพราะข่าวสารแต่ละเนื้อหาบนโลกอินเทอร์เน็ตเชื่อถือได้ยากมากขึ้น แม้จะมีทั้งให้ข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แต่ก็ยังมีอีกหลายเนื้อหาที่แฝงด้วยเล่ห์เหลี่ยมในการปล่อยข่าวเพื่อโจมตีทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อให้ร้ายบุคคลอื่นจนอาจทำให้เราหลงเชื่อไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนั้นผู้ใช้บริการควรตรวจสอบข้อมูลจากสื่อหลายๆแหล่งหรือตรวจสอบที่มาของข้อมูลอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะหลงเชื่อ รวมทั้งไม่ส่งต่อหรือเผยแพร่ข้อมูลในทันทีจนกว่าจะมีการยืนยันจากแหล่งที่น่าเชื่อถือว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการแชร์โดยไม่ได้ตรวจสอบ ซึ่งนอกจากจะเป็นผลเสียให้เรารับรู้ข้อมูลแบบผิดๆแล้วยังจะเป็นการส่งต่อข้อมูลผิดๆเหล่านั้นไปให้ผู้อื่นหลายคน และที่สำคัญก็คือทำให้เรากลายเป็นผู้ทำผิดตามกฎหมายไปอีกด้วย

Source : http://telecomjournalthailand.com/