"TURN EXPERIENCE TO VICTORY"

Litigation

Litigation

Posted by on May 16, 2013

James & Partners Law Offices provides and assists our clients into several courts in any types of case in Thailand including breach of contract case, joint venture dispute case, governmental Case, tax dispute case, insurance dispute case, debt enforcement, tort, international trade dispute, general criminal case, securitization case, fraud and embezzlement case, labor dispute case, bankruptcy and rehabilitation case, family dispute case, prosecution and defense of white collar crimes, DSI accusation. Experience – Thailand-lawyer/ Litigation (Government Contracts) The firm represented Pollution Control Department, Ministry of Natural Resources and Environment in a white collar crime case relating to public contracts in Thailand. This was the first time in history that Thai government retained a specialized private law firm to replace the Attorney General’s office as the representative of the authority. The firm acted as plaintiff’s attorney in taking legal action against nineteen defendants who were former politicians and powerful construction contractors. The amount claimed in the complaint was approximately Baht 30 Billion, representing the biggest cheating case ever filed with Thai court. In November 2005 the court made a ruling that the...

Read More

Company Registration

Company Registration

Posted by on May 16, 2013

James &Partners Law Offices provides wide ranges of corporate services for Thai and foreign clients such as Limited Company Registration,  company’s name reservation include select business entities, Memorandum  Registration, Joining as a Company Promoter, one day registration, company promoter, company director, power of director, 25 % paid-up, Drafting  Article of association, TAX &VAT registration  for company, requiring for any business license(FBC,FBL ), dissolution, M&A. furthermore, we also assisted our  client in drafting reviewing any types of agreements,  and draft relevant legal opinion for our client. Guideline for setting Limited Company in Thailand by James and Partners Law Offices Steps for limited company registration under the Laws of Thailand 1. Corporate Name Reservation The reserved name must not be repeatable or similar to name of other registered companies, which approved by the Commercial Registration Department at the Ministry of Commerce (“MOC”) before. After that, the approved corporate name must be registered within 30 days. Note: Company name reservation must be done via Department of Business Development (“DBD”) website only the process should not spend time more than 30 minutes 2. Memorandum Registration...

Read More

Visa & Work Permit

SPECIAL PACKAGES FOR FOREIGNERS ARRIVED THAILAND

Posted by on May 8, 2021

English Russian Chinese Japanese Korean English Russian Chinese Japanese...

Read More

BOI

BOI

BOI

Posted by on May 16, 2013

James & Partners Law Offices provides several legal practices in connection with investment field. We assist our client to obtain BOI’s promotion in every step including filing and revising BOI application and supporting documents, following up and dealing with BOI’s officers, advising eligible business types under BOI promotion for our clients.  We also advised on benefits and rights of clients under BOI such as collecting FBC under BOI, setting up company under BOI’s benefits and rights, filing applications for expats or workers of clients under BOI promotion and purchasing of real estate for client under BOI promotion. After obtaining BOI we assist our client to make annual report to BOI’s official.  Our office assist investors who want to invest in Thailand and other Asean countries toward the opening of AEC in 2105. Enhancing Competitiveness and Investment Facilitation • Offers an attractive and competitive package of tax incentives. • Imposes no foreign equity restrictions on manufacturing activities or on some service. • Provide assistance in the provision of visas and work permits to facilitate entry and        subsequent operation for...

Read More

Recent Posts

ทดลองประมูลทีวีดิจิตอล

ทดลองประมูลทีวีดิจิตอล

www.lawyer-thailand.com

ในคอลัมน์นี้เราจะมาตามติดความเคลื่อนไหวในการประมูลทีวีดิจิตอลที่มีประเด็นน่าสนใจและเข้มข้นมากขึ้นทุกขณะ โดยเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้จัดให้มีการ
ทดลองประมูลคลื่นความถี่หรือ Pre-Mock Auction เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทช่องบริการธุรกิจทั้ง 24 ช่องขึ้น

ขั้นตอนในการทดลองมีการกำหนดเหมือนสถาณการณ์จริง เช่น การกำหนดวงเงินให้กับผู้เข้าร่วมประมูล กำหนดเวลาที่ใช้ รวมถึงกฎเกณฑ์ในการประมูลต่างๆ ยกเว้นแต่เพียงระบบซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการทดลองประมูลในครั้งนี้เป็นโปรแกรมที่มีการจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะสำหรับการทดสอบหรือทดลองเท่านั้น แต่จะไม่นำไปใช้ในการประมูลจริง โดยในระหว่างการทดสอบประมูลได้เกิดเหตุซอฟต์แวร์ล่มแต่ก็สามารถกู้ระบบกลับมาได้ในเวลาต่อมา ซึ่งในฐานะของประชาชนผู้บริโภคทำให้เห็นว่าการทดลองประมูลในครั้งนี้มีประโยชน์หลายประการ นอกจากจะทำให้ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมประมูลได้รับรู้กับเข้าใจกฎเกณฑ์การประมูลรวมถึงได้ลองปฏิบัติจริงแล้ว ยังทำให้ทราบถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับระบบซอฟแวร์ก่อนการประมูลจริงอีกด้วย ซึ่ง พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. ในฐานะประธาน กสท. ได้ชี้แจงว่าระบบซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์จริงที่จะใช้ในการประมูลนั้นจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาจากผลที่ได้จากการทดลองและคาดว่าจะสามารถใช้งานได้ในช่วงเดือนสิงหาคมก่อนการประมูลในเดือนกันยายนปีนี้

ทั้งนี้การประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจทั้ง 24 ช่องที่กำลังจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนกันยายนนี้จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทช่องใบอนุญาตตามสูตร 3-7-7-7 ได้แก่ ช่องรายการเด็กจำนวน 3 ช่อง ช่องรายการข่าวจำนวน 7 ช่อง ช่องรายการทั่วไประบบความคมชัดมาตรฐาน (SD) จำนวน 7 ช่องและช่องรายการทั่วไปออกอากาศในระบบความคมชัดสูง (HD) จำนวน 7 ช่อง รวมไปถึงการกำหนดเพดานการถือครองช่องรายการของผู้เข้าประมูลทีวีดิจิตอล 1 ราย สามารถถือครองช่องรายการสูงสุดได้ไม่เกิน 3 ช่องรายการภายใต้เงื่อนไขที่ว่าห้ามผู้ประกอบการ 1 รายถือครองช่องรายการประเภท HD ควบกับช่องรายการข่าว ซึ่งแม้ว่าในขณะนี้ข้อกำหนดเรื่องเพดานและเงื่อนไขการประมูลดังกล่าวจะยังคงได้รับการโต้แย้งจากผู้ประกอบการบางส่วนที่ไม่ต้องการให้มีการจำกัดเพดานจำนวนใบอนุญาตรวมถึงการห้ามถือครองช่องรายการข่าวคู่กับช่องรายการ HD แต่กฎเกณฑ์ดังกล่าวยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นผู้ประกอบการยังต้องเคารพและปฏิบัติตามอยู่

การจัดทดลองประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการทีวีดิจิตอลทั้ง 24 ช่องที่ผ่านมาทำให้เราพอจะมองเห็นภาพแล้วว่าจะมีผู้ประกอบการรายใดบ้างที่จะเข้าร่วมการประมูลในเดือนกันยายนนี้ ทั้งรายใหญ่และรายเก่าที่เคยประกาศตัวอย่างชัดเจนมาก่อนหน้าว่าประสงค์ที่จะเข้าร่วมประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอลก็ได้มาแสดงตัวในการทดลองการประมูลกันอย่างพร้อมเพรียง ไม่ว่าจะเป็นสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ช่อง 7 และช่อง 9 หรือผู้ประกอบการที่เราเห็นหน้าคร่าตากันผ่าน Pay TV อย่าง บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) หรือบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการที่นับว่าเป็นรายใหม่ในวงการโทรทัศน์เข้ามาให้ความสนใจและเผยโฉมว่าจะเข้าร่วมประมูลในครั้งนี้ด้วย เช่น บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ อินทัช บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด บริษัท ทริปเปิลวี บรอดคาสท์ จำกัด ในเครือหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ รวมทั้งนายแพทย์ประเสริฐ ปราสาททองโอสถ เจ้าของธุรกิจสายการบินบางกอกแอร์เวย์สด้วย รวมผู้ประกอบการที่ได้เข้าร่วมทดลองประมูลช่องประเภทธุรกิจทั้ง 4 ประเภท 24 ช่องแล้วกว่า 40 ราย ซึ่งน่าจะทำให้การประมูลทีวีดิจิตอลที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทยเร็วๆ นี้มีความคึกคักอย่างยิ่ง

นอกจากนี้การประมูลทีวีดิจิตอลยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเรื่องค่าบริการโครงข่ายทีวีดิจิตอลที่ยังไม่มีการประกาศกำหนดออกมาในขณะนี้ ด้วยเหตุผลที่ กสทช. กล่าวว่าหากมีการกำหนดราคาค่าบริการโครงข่ายตั้งแต่เริ่มต้นอาจทำให้บรรดาผู้ให้บริการโครงข่ายที่ได้รับใบอนุญาตไม่สร้างและพัฒนาโครงข่ายเท่าที่ควร จึงต้องให้ฝ่ายผู้ให้บริการโครงข่ายเป็นผู้เสนอราคาและเสนอแผนในการขยายโครงข่ายต่อ กสท. ก่อน และ กสท. จะประกาศราคาค่าบริการก่อนการประมูล 30 วัน

ในขณะที่ทางฝ่ายผู้ประกอบการที่เข้าจะเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอลมีความกังวลถึงราคาและความสามารถในการให้บริการของผู้ให้บริการโครงข่าย เช่น คุณภาพของอุปกรณ์ รวมถึงบุคลากรที่จะดูแล บรรดาผู้ประกอบการจึงต้องการให้ กสทช. เข้ามากำกับเรื่องการคิดค่าบริการเพื่อไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบเพราะอาจส่งผลในระยะยาวทำให้การแพร่ภาพไม่ดีเท่าที่ควร

อย่างไรก็ดีในส่วนของราคาค่าบริการหรือคุณภาพของอุปกรณ์รวมทั้งความครอบคลุมของโครงข่ายนั้นคงไม่ต้องกังวลอีกต่อไป เมื่อบรรดาผู้ประกอบที่ได้รับใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ซึ่งขณะนี้มีอยู่ 4 ใบอนุญาตจากทั้งหมด 6 ใบอนุญาต ได้แก่ บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) สถานีโทรทัศน์
ไทยพีบีเอส กองทัพบกและกรมประชาสัมพันธ์นั้น ได้เดินหน้าร่วมมือกันทำความตกลงใช้อุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกร่วมกันแล้ว อาทิ อุปกรณ์ส่งสัญญาณ ระบบเชื่อมต่อ เสาอากาศและสถานีฐาน ทั้งนี้เพื่อทำการรวบรวมช่องสัญญาณบนโครงข่ายในระบบโทรทัศน์ทั้งหมดไว้ในที่เดียวกันและส่งสัญญาณพร้อมกัน ซึ่งจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างมากเพราะการลงทุนวางโครงข่ายทีวีดิจิตอลในปีแรกนั้นหากต่างฝ่ายต่างทำแล้ว ผู้ให้บริการรายหนึ่งจะต้องเสียเงินไปกับค่าอุปกรณ์ต่างๆ ไปจนถึงค่าที่ดินในการตั้งสถานีฐานไม่ต่ำกว่ารายละ 1,000 ล้านบาทเลยทีเดียว

ในส่วนของราคาให้บริการโครงข่ายที่ผู้ได้รับใบอนุญาตทีวีดิจิตอลต้องจ่ายให้กับผู้ให้บริการโครงข่ายนั้น เบื้องต้นบรรดาผู้ประกอบโครงข่ายทั้ง 4 รายได้ตกลงกันว่าผู้ให้บริการโครงข่ายทุกรายจะคิดราคาค่าใช้บริการในอัตราราคาเดียวกันทั้งหมด ส่วนราคาให้บริการที่แน่นอนจะหาข้อสรุปภายในเดือนกรกฎาคมนี้

กว่าจะถึงการประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจในเดือนกันยายนนี้น่าจะมีข่าวคราวความคืบหน้ารวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่ออกมาจากทั้งทางฝั่ง กสทช. และทางฝั่งบรรดาผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องนับจากนี้วงการโทรทัศน์ของไทยน่าจะได้เห็นสีสันของการพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ

พัฒนาอันดับ ICT

พัฒนาอันดับ ICT

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

ด้วยความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีผลโดยตรงต่อศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ องค์การ World Economic Forum หรือ WEF จึงได้จัดอันดับความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ Networked Readiness Index (NRI) ของประเทศสมาชิกต่างๆ จำนวน 144 ประเทศทั่วโลกเป็นประจำทุกปีเพื่อชี้วัดว่าแต่ละประเทศมีความพร้อมทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมากน้อยเพียงใด ปรากฏว่าในปีนี้อันดับ NRI ของประเทศไทยอยู่อันดับที่ 74 ซึ่งปรับอันดับดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาจากดับดับที่ 77 ของโลก

จากสถิติที่ผ่านมาเราจะพบว่าอันดับ NRI หรืออันดับความพร้อมด้าน ICT สำหรับการพัฒนาและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีทิศทางที่ไม่ค่อยดีนัก เช่น ในปี 2006 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 34 ปี 2007 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 37 ต่อมาปี 2008 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 40 ถัดมาในปี 2009 และ 2010 ประเทศไทยอยู่คงที่ในอันดับที่ 47 ต่อมาในปี 2011 ประเทศไทยได้อันดับที่ 59 และปี 2012 ประเทศไทยตกไปอยู่ในอันดับที่ 77 ของโลกจากทั้งหมด 142 ประเทศ ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านของเราซึ่งกำลังจะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) พร้อมกันในปี 2015 อย่างสิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 2 ของโลกเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน

ทิศทางในการพัฒนาอันดับ NRI ของประเทศไทยดีขึ้นและมีความหวังสดใสมากขึ้นเมื่อในปี 2013 นี้ประเทศไทยได้อันดับที่ดีขึ้น คืออยู่ในอันดับที่ 74 ซึ่งแซงหน้าประเทศเพื่อนบ้านอื่นอย่างอินโดนิเซียที่อยู่ในอันดับที่ 76 เวียดนามที่อยู่ในอับดับที่ 84 และกัมพูชาที่อยู่ในอันดับที่ 106
หลายท่านคงอยากทราบว่าอันดับ NRI นี้พิจารณาจากอะไรและบ่งชี้ถึงอะไรที่เกี่ยวกับประเทศไทย อันดับ NRI นั้นจะพิจารณาจากปัจจัยหลัก 3 ปัจจัย ปัจจัยแรกคือความพร้อมด้านสิ่งแวดล้อม (Environment Component) ประกอบไปด้วยสภาพแวดล้อมด้านตลาด ด้านกฎระเบียบกับการกำกับดูแล และด้านโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ จำนวนเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐาน ความปลอดภัยในการใช้งานอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ปัจจัยที่สองคือความพร้อมในการใช้งานด้าน ICT (Readiness Component) ซึ่งประกอบด้วยความพร้อมของประชาชนในการใช้ ICT เช่น อัตราค่าบริการทั้งโทรศัพท์ประจำที่และโทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมไปถึงความเท่าทันเทคโนโลยีของผู้ใช้บริการ ความพร้อมของภาคธุรกิจในการใช้ ICT และความพร้อมของภาครัฐในการใช้ ICT ปัจจัยสุดท้ายคือปัจจัยด้านการใช้งาน ICT (Usage Component) ซึ่งประกอบด้วยการใช้งานของประชาชน เช่น จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต การใช้งานของภาคธุรกิจ ได้แก่ ความสามารถในการคุ้มครองสิทธิบัตรและการใช้งาน ICT ของภาครัฐ เช่น ความสำเร็จในการนำ ICT มาใช้ในภาครัฐ บริการออนไลน์ของภาครัฐกับความทั่วถึงของหน่วยงานของรัฐที่นำ ICT มาใช้งาน

ข้อมูลข้างต้นของแต่ละประเทศที่ World Economic Forum จะนำมาวิเคราะห์เพื่อหาอันดับ NRI นั้นเป็นข้อมูลที่ได้จากสหภาพโทรคมนาคมสากล (International Telecommunication Union : ITU) และองค์การสหประชาชาติ (United Nation : UN) ในสัดส่วนร้อยละ 43 ของจำนวนข้อมูลทั้งหมด ส่วนอีกร้อยละ 57 เป็นข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ (Survey Data)

จากการที่ World Economic Forum เป็นองค์กรอิสระที่ไม่หวังผลกำไรและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติ รวมถึงการเป็นองค์กรซึ่งทำหน้าที่จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ ทั่วโลกมายาวนานกว่า 30 ปี ทำให้ผลการจัดอันดับที่ออกมารวมถึงปัจจัยที่ใช้วิเคราะห์ในการจัดอันดับ NRI เป็นสิ่งที่ทุกประเทศให้ความสำคัญและถือเป็นส่วนสำคัญประการหนึ่งในการกำหนดหรือปรับปรุงนโยบายทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการจัดอันดับ NRI มุ่งเน้นไปที่ความพร้อมทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแต่ละประเทศซึ่งรวมถึงกิจการด้านโทรคมนาคมด้วย

สำหรับอันดับ NRI ของประเทศไทยในปี 2013 ซึ่งอยู่ในอันดับที่ขยับดีขึ้นนั้นน่าจะเกิดจากความร่วมมือทำงานของหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นความก้าวหน้าจากการที่ประเทศไทยได้จัดประมูลใบอนุญาต 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz โดยสำนักงาน กสทช. ที่ช่วยทำให้ประเทศไทยมี 3G บนคลื่นความถี่มาตรฐานสากล ส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าด้านการรับ – ส่งข้อมูล (Data) บนโทรศัพท์เคลื่อนที่และเพิ่มจำนวนประชาชนที่เข้าถึงบริการ 3G ให้มากขึ้น รวมไปถึงการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมหรือ USO ที่เน้นกระจายการเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตสู่ชุมชนในพื้นที่ชนบท และอีกหนึ่งส่วนสำคัญคือนโยบาย Smart Thailand ของกระทรวง ICT ที่เร่งผลักดันและส่งเสริมการเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตของประชาชนในด้านต่างๆ อาทิ การจัดหาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband) เพื่อให้ประชาชนใช้งานอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมในระดับตำบล โครงการ ICT Free Wi-Fi ในพื้นที่สาธารณะ รวมถึงการสนับสนุนให้ประชาชนใช้บริการภาครัฐผ่านโครงข่าย Broadband ซึ่งเป็นนโยบายของกระทรวง ICT

การเข้าถึง ICT ของภาครัฐอันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ชี้วัดความพร้อมด้าน ICT ของประเทศนั้น กระทรวง ICT เปิดเผยว่าได้มีการดำเนินงานในส่วนของ Smart Government ซึ่งเป็นการส่งเสริมการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงกับดำเนินการร่วมกับกระทรวงต่างๆ ในการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ซึ่งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. หน่วยงานในกำกับของกระทรวง ICT ได้เปิดบริการใหม่สำหรับหน่วยงานภาครัฐเรียกว่า “Government Software as a Service” หรือบริการออนไลน์ซอฟแวร์ภาครัฐ ที่จะเป็นทางเลือกให้กับภาครัฐได้มีโอกาสเลือกใช้ซอฟแวร์ที่ทำงานผ่านระบบ Government Cloud Service (G-Cloud) อันเป็นประโยชน์ในการรวมศูนย์กลางจัดการข้อมูลที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและทำให้หน่วยงานของรัฐมีทางเลือกในการจัดการระบบ IT มากขึ้น และที่สำคัญยังเป็นการลดต้นทุนงบประมาณในการจัดหาซอฟต์แวร์เพิ่มอีกด้วย บริการออนไลน์ซอฟแวร์ภาครัฐที่เปิดตัวแล้ว คือซอฟต์แวร์ด้านสารบรรณที่ให้ภาครัฐปรับเปลี่ยนการทำงานจากที่เคยอยู่บนระบบซอฟต์แวร์ของแต่ละหน่วยงานย้ายมาทำงานบนระบบ G-Cloud ซึ่ง Smart Government จะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ผลักดันโครงการ Smart Thailand ของกระทรวง ICT ให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ว่าจะให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงครอบคลุมประชากรอย่างน้อยร้อยละ 80 ในปี พ.ศ. 2558 และร้อยละ 95 ในปี พ.ศ. 2563

ปัจจัยทั้งหมดในด้าน ICT และด้านโทรคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐาน อัตราค่าบริการโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์เคลื่อนที่ ความปลอดภัยในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ความสามารถในการคุ้มครองสิทธิบัตร รวมไปถึงบริการออนไลน์ของภาครัฐกับความทั่วถึงของหน่วยงานของรัฐที่นำ ICT มาใช้งานล้วนแต่เป็นตัวชี้วัดความพร้อมในด้าน ICT ของประเทศทั้งสิ้น ดังนั้นรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจึงต้องร่วมมือกันผลักดันความก้าวหน้าด้าน ICT ให้เกิดขึ้นและขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่ขัดขวางการพัฒนาอย่างจริงจัง เพื่อให้ประเทศสามารถกลับไปยืนอยู่ในตำแหน่งที่มีความพร้อมด้าน ICT ได้ในอันดับต้นๆ และทัดเทียมประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน

ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

ดาวโหลดเอกสาร