"TURN EXPERIENCE TO VICTORY"

Litigation

Litigation

Posted by on May 16, 2013

James & Partners Law Offices provides and assists our clients into several courts in any types of case in Thailand including breach of contract case, joint venture dispute case, governmental Case, tax dispute case, insurance dispute case, debt enforcement, tort, international trade dispute, general criminal case, securitization case, fraud and embezzlement case, labor dispute case, bankruptcy and rehabilitation case, family dispute case, prosecution and defense of white collar crimes, DSI accusation. Experience – Thailand-lawyer/ Litigation (Government Contracts) The firm represented Pollution Control Department, Ministry of Natural Resources and Environment in a white collar crime case relating to public contracts in Thailand. This was the first time in history that Thai government retained a specialized private law firm to replace the Attorney General’s office as the representative of the authority. The firm acted as plaintiff’s attorney in taking legal action against nineteen defendants who were former politicians and powerful construction contractors. The amount claimed in the complaint was approximately Baht 30 Billion, representing the biggest cheating case ever filed with Thai court. In November 2005 the court made a ruling that the...

Read More

Company Registration

Company Registration

Posted by on May 16, 2013

James &Partners Law Offices provides wide ranges of corporate services for Thai and foreign clients such as Limited Company Registration,  company’s name reservation include select business entities, Memorandum  Registration, Joining as a Company Promoter, one day registration, company promoter, company director, power of director, 25 % paid-up, Drafting  Article of association, TAX &VAT registration  for company, requiring for any business license(FBC,FBL ), dissolution, M&A. furthermore, we also assisted our  client in drafting reviewing any types of agreements,  and draft relevant legal opinion for our client. Guideline for setting Limited Company in Thailand by James and Partners Law Offices Steps for limited company registration under the Laws of Thailand 1. Corporate Name Reservation The reserved name must not be repeatable or similar to name of other registered companies, which approved by the Commercial Registration Department at the Ministry of Commerce (“MOC”) before. After that, the approved corporate name must be registered within 30 days. Note: Company name reservation must be done via Department of Business Development (“DBD”) website only the process should not spend time more than 30 minutes 2. Memorandum Registration...

Read More

Visa & Work Permit

SPECIAL PACKAGES FOR FOREIGNERS ARRIVED THAILAND

Posted by on May 8, 2021

English Russian Chinese Japanese Korean English Russian Chinese Japanese...

Read More

BOI

BOI

BOI

Posted by on May 16, 2013

James & Partners Law Offices provides several legal practices in connection with investment field. We assist our client to obtain BOI’s promotion in every step including filing and revising BOI application and supporting documents, following up and dealing with BOI’s officers, advising eligible business types under BOI promotion for our clients.  We also advised on benefits and rights of clients under BOI such as collecting FBC under BOI, setting up company under BOI’s benefits and rights, filing applications for expats or workers of clients under BOI promotion and purchasing of real estate for client under BOI promotion. After obtaining BOI we assist our client to make annual report to BOI’s official.  Our office assist investors who want to invest in Thailand and other Asean countries toward the opening of AEC in 2105. Enhancing Competitiveness and Investment Facilitation • Offers an attractive and competitive package of tax incentives. • Imposes no foreign equity restrictions on manufacturing activities or on some service. • Provide assistance in the provision of visas and work permits to facilitate entry and        subsequent operation for...

Read More

Recent Posts

ค่าบริการ 3G ลดแล้ว

ค่าบริการ 3G ลดแล้ว

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

หลังจากที่มีกระแสพูดถึงค่าบริการ 3G ใหม่บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ที่ในช่วงเริ่มต้นของการเปิดให้บริการดูเหมือนว่าจะไม่มีการปรับลดราคาลงดังที่มีการคาดหมายกันไว้ ทำให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการอย่างคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทสช. ต้องเรียกผู้ได้รับใบอนุญาตทั้ง 3 รายอันได้แก่บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เนทเวอร์ค จำกัด ในเครือ AIS บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ในเครือ TRUEMOVE และบริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด ในเครือ DTAC มาหารือถึงแนวทางในการลดค่าบริการ 3G ลงให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 15 ตามที่ได้มีการประกาศไว้ ซึ่งผลการหารือก็น่าจะเรียกได้ว่าเป็นที่น่าพอใจของบรรดาผู้ใช้บริการทั้งหลาย เมื่อผู้ประกอบการทั้ง 3 รายยอมลดค่าบริการลงตามที่ กสทช. กำหนด

สำหรับรายการส่งเสริมการขาย 3G เดิม (บนคลื่นความถี่อื่น) ที่ยกมาให้บริการต่อบนคลื่นความถี่ 2.1 GHz นั้นจะต้องลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ในขณะที่รายการส่งเสริมการขายที่ออกใหม่สำหรับบริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz นั้นมติที่ประชุมบอร์ดคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. กำหนดให้ใช้อัตราเฉลี่ยของวันที่ 7 ธันวาคม 2555 ซึ่งเป็นวันที่ กสทช. ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบการทั้ง 3 รายเป็นฐานในการกำหนดอัตราค่าบริการใหม่ที่ต้องลดลงอย่างน้อยร้อยละ 15 โดยอัตราเฉลี่ยค่าบริการประเภทเสียงจากเดิมที่คำนวณได้คือ 97 สตางค์ต่อนาที ลดลงเหลือ 82 สตางค์ต่อนาที ค่าบริการข้อความสั้นหรือ SMS จากเดิมข้อความละ 1.56 บาท ลดลงเหลือ 1.33 บาทต่อข้อความ ค่าบริการ MMS จากเดิมข้อความละ 3.90 บาท ลดลงเหลือ 3.32 บาทต่อข้อความ และค่าบริการอินเทอร์เน็ตจากเดิม 33 สตางค์ต่อ 1 Mb ลดลงเหลือ 28 สตางค์ต่อ 1 Mb โดย กสทช. จะเริ่มตรวจสอบอย่างจริงจังในอีก 1 เดือนหลังจากวันที่ 27 พฤษภาคมที่ประกาศมาตรฐานราคากลางและรอบใบแจ้งหนี้เดือนแรกของคลื่นความถี่ 2.1 GHz ออกมาแล้ว

หากพิจารณาถึงค่าบริการ 3G ประเภทเสียง (Voice) ที่ถูกกำหนดให้ลดลงเหลือ 82 สตางค์ต่อนาทีนั้นจะพบว่าถูกกว่าที่ กสทช. เคยออกประกาศกำหนด เรื่อง อัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงภายในประเทศ พ.ศ. 2555 ที่กำหนดให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินนาทีละ 99 สตางค์ และหากเทียบกับค่าบริการในต่างประเทศแล้วจะพบว่าต่ำกว่าราคาค่าบริการในประเทศที่พัฒนาแล้วไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร อิตาลี และญี่ปุ่น

นอกจากในประเด็นของค่าบริการแล้ว มาตรฐานความเร็วในการใช้งาน 3G ประเภทการรับ-ส่งข้อมูล (Data) ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีความคืบหน้าออกมาเช่นกัน ภายหลังจากที่ก่อนหน้านี้คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ใช้บริการกรณีความเร็วของการใช้งานรับ-ส่งข้อมูลบน 3G ที่ลดลงเมื่อผู้ใช้บริการใช้ความเร็วสูงสุดครบตามที่ผู้ประกอบการกำหนด ระบบจะทำการลดความเร็วลงอัตโนมัติตามกฎที่ผู้ประกอบการตั้งขึ้นมา โดยมีชื่อเรียกว่า Fair Usage Policy (FUP) ให้มาอยู่ที่ 64 – 128 Kbps ต่อวินาทีตามแต่ผู้ประกอบการจะกำหนด แต่ในการประชุมหารือเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา กสทช. ได้ให้ผู้ประกอบการยึดหลักปฏิบัติตามประกาศ กสทช. เรื่องมาตรฐานของคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทข้อมูลสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งกำหนดให้ความเร็วเฉลี่ยในการส่งข้อมูลกรณี Download ต้องไม่ต่ำกว่า 345 kbps และไม่ต่ำกว่า 153 kbps สำหรับการ Upload ด้วย

โดยปกติค่าบริการของผู้ประกอบการมักจะแปรผันตามการแข่งขันของตลาด ดังนั้นหากผู้ประกอบการรายใดสามารถมอบคุณภาพการบริการแก่ประชาชนผู้ใช้บริการที่ดีกว่าผู้ให้บริการรายอื่น ผู้ให้บริการรายนั้นก็อาจจะคิดอัตราค่าบริการที่สูงกว่าผู้ให้บริการรายอื่นได้ แต่ทั้งนี้ยังคงต้องเป็นไปตามอัตราค่าบริการที่ไม่สูงไปกว่าที่ กสทช. ประกาศกำหนด ภายใต้คุณภาพที่ได้มาตรฐานทั้งด้านเสียงและข้อมูล

ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

ดาวโหลดเอกสาร

 

7 รายการที่ต้องได้ดู

7 รายการที่ต้องได้ดู

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างหลักเกณฑ์สำคัญในการเผยแพร่ภาพการแข่งขันกีฬาโดยกำหนดประเภทของการแข่งขันที่คนไทยทุกคนจะต้องได้ดู

นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กสทช. และกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. ด้านเศรษฐศาสตร์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมและกำกับการแข่งขันในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เป็นประธานในการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการโทรทัศน์ในช่องทางต่างๆ ทั้งตัวแทนฟรีทีวีและเคเบิลทีวีเกี่ยวกับร่างประกาศใหม่ของ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การแพร่ภาพรายการแข่งขันกีฬาที่สำคัญ

ในอดีตการถือครองลิขสิทธิ์กีฬาจะเป็นลักษณะการแข่งกันประมูลด้วยราคาลิขสิทธิ์มหาศาลที่ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่ซื้อลิขสิทธิ์ด้วยมูลค่าสูงสุดติดอันดับแรกๆ ของโลกและเป็นการซื้อลิขสิทธิ์แบบผูกขาด แต่ในขณะนี้ กสทช. กำลังขอความเห็นเพื่อพิจารณาร่างประกาศลิขสิทธิ์กีฬาบางชนิดที่คนไทยต้องการดูซึ่งผู้ที่ซื้อลิขสิทธิ์ควรแบ่งให้ฟรีทีวีและเคเบิลทีวีออกอากาศได้ด้วย เรียกว่า “ร่าง Non-Exclusive” หรือมาตรการแบ่งให้ โดยผู้ประกอบการไม่สามารถผูกขาดหรือกีดกันผู้ประกอบการรายอื่นๆ ได้

การแบ่งจะต้องเป็นการซื้อขายลิขสิทธิ์ด้วยราคาที่สมเหตุสมผล ไม่ผูกขาดไว้เพียงเจ้าเดียวเพราะจะเป็นการกีดกันทำให้ผู้ชมเสียประโยชน์ไม่สามารถรับชมได้ การแข่งขันกีฬาที่ กสทช. ได้มีการกำหนดเบื้องต้นว่าจะต้องมีการแบ่งลิขสิทธิ์ให้ฟรีทีวีและเคเบิลทีวีในขณะนี้ยังเป็นการกำหนดในเบื้องต้นเท่านั้น สามารถเพิ่มเติมหรือลดรายการจากที่กำหนดไว้แล้วได้

ชนิดกีฬาที่บังคับถ่ายทอดสด 7 รายการประกอบด้วย รายการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก รายการแข่งขันคอนเฟเดอเรชั่นส์คัพ รายการแข่งขันเอเชี่ยนคัพรอบสุดท้ายและรอบที่มีทีมชาติไทยเข้าร่วมแข่งขัน รายการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกหรือฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย การแข่งขันเซปักตะกร้อชิงแชมป์โลก รายการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับชิงแชมป์โลก รายการแข่งขันเทนนิส เดวิส คัพ

เหตุผลที่ กสทช. ออกร่างประกาศ Non-Exclusive นี้เพราะต้องการให้กีฬาบางรายการที่ประชาชนให้ความสนใจ ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงและรับชมได้อย่าวทั่วถึง กับทั้งยังเป็นการลดต้นทุนของผู้ประกอบการได้อีกทางหนึ่ง เพราะการแบ่งให้ถ่ายทอดสดนั้นสามารถต่อรองเรื่องส่วนแบ่งต้นทุนค่าลิขสิทธิ์กับผู้ประกอบการรายอื่นที่จะนำไปออกอากาศได้ อีกทั้งประเภทรายการกีฬาทั้ง 7 รายการล้วนเป็นประเภทที่มีผลต่อตลาดน้อย เนื่องจากนโยบาย กสทช. ไม่ประสงค์เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกลไกเรื่องการตลาดการแข่งขัน ดังนั้นในกรณีลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ฟุตบอลโลก หรือรายการที่มีการแข่งขันกันสูง กสทช. จะไม่มีการนำร่างประกาศฉบับนี้เข้าไปบังคับใช้

ในการรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ตัวแทนของฟรีทีวีและเคเบิลทีวีส่วนใหญ่เห็นด้วยและได้เสนอแนวความคิดเรื่องการประมูลกีฬาชนิดต่างๆ ว่าควรให้ผู้ประกอบการในแต่ละช่องทางได้พูดคุยกันมากกว่าการแข่งขันกัน เนื่องจากในปัจจุบันการประมูลมีตัวเลขค่อนข้างสูงและผลประโยชน์ไม่ได้ตกอยู่กับคนไทย นอกจากนี้ยังเสนอให้ก่อตั้งหน่วยงานกลางของผู้ประกอบการเพื่อจัดซื้อลิขสิทธิ์กีฬาต่างประเทศ และก่อนที่จะไปซื้อลิขสิทธิ์กีฬาใดควรที่จะมีการพูดคุยกับผู้ที่สนใจลิขสิทธิ์กีฬารายการเดียวกันและรวมเงินกันไปซื้อเพื่อป้องกันการซื้อลิขสิทธิ์ด้วยราคาที่แพงมหาศาลเหมือนที่เป็นมาซึ่งผลเสียจะอยู่กับผู้บริโภค ในขณะที่นายวิชิต เอื้ออารีวรกุล ที่ปรึกษานายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทยได้เสนอว่า กสทช. ควรออกประกาศบังคับให้ทุกชนิดกีฬา ไม่ใช่แค่เพียง 7 ประเภทรายการต้องแบ่งการออกอากาศ ห้ามถือครองลิขสิทธิ์ผูกขาดไว้แต่เพียง ผู้เดียว ซึ่งวิธีดังกล่าวจะช่วยลดมูลค่าเพิ่มจากการแข่งขันช่วงชิงเป็นผู้ชนะในการประมูลลิขสิทธิ์รายการใดรายการหนึ่งของผู้ประกอบการรายใหญ่อันจะเป็นการลดต้นทุนในการประมูลค่าลิขสิทธิ์อย่างแท้จริง

ร่างประกาศฉบับนี้ยังคงอยู่ในกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ยังไม่มีผลบังคับใช้และมีโอกาสที่จะเพิ่มหรือลดประเภทรายการ หรือมีการเปลี่ยนแปลงประเภทรายการกีฬาได้ ผู้บริโภคจึงควรติดตามอย่างใกล้ชิด แต่อย่างน้อยที่สุดนับว่าเป็นเรื่องที่ดีและเป็นการพัฒนาวงการโทรทัศน์ไทยควบคู่ไปกับการพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภค

ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

ดาวโหลดเอกสาร