"TURN EXPERIENCE TO VICTORY"

Litigation

Litigation

Posted by on May 16, 2013

James & Partners Law Offices provides and assists our clients into several courts in any types of case in Thailand including breach of contract case, joint venture dispute case, governmental Case, tax dispute case, insurance dispute case, debt enforcement, tort, international trade dispute, general criminal case, securitization case, fraud and embezzlement case, labor dispute case, bankruptcy and rehabilitation case, family dispute case, prosecution and defense of white collar crimes, DSI accusation. Experience – Thailand-lawyer/ Litigation (Government Contracts) The firm represented Pollution Control Department, Ministry of Natural Resources and Environment in a white collar crime case relating to public contracts in Thailand. This was the first time in history that Thai government retained a specialized private law firm to replace the Attorney General’s office as the representative of the authority. The firm acted as plaintiff’s attorney in taking legal action against nineteen defendants who were former politicians and powerful construction contractors. The amount claimed in the complaint was approximately Baht 30 Billion, representing the biggest cheating case ever filed with Thai court. In November 2005 the court made a ruling that the...

Read More

Company Registration

Company Registration

Posted by on May 16, 2013

James &Partners Law Offices provides wide ranges of corporate services for Thai and foreign clients such as Limited Company Registration,  company’s name reservation include select business entities, Memorandum  Registration, Joining as a Company Promoter, one day registration, company promoter, company director, power of director, 25 % paid-up, Drafting  Article of association, TAX &VAT registration  for company, requiring for any business license(FBC,FBL ), dissolution, M&A. furthermore, we also assisted our  client in drafting reviewing any types of agreements,  and draft relevant legal opinion for our client. Guideline for setting Limited Company in Thailand by James and Partners Law Offices Steps for limited company registration under the Laws of Thailand 1. Corporate Name Reservation The reserved name must not be repeatable or similar to name of other registered companies, which approved by the Commercial Registration Department at the Ministry of Commerce (“MOC”) before. After that, the approved corporate name must be registered within 30 days. Note: Company name reservation must be done via Department of Business Development (“DBD”) website only the process should not spend time more than 30 minutes 2. Memorandum Registration...

Read More

Visa & Work Permit

SPECIAL PACKAGES FOR FOREIGNERS ARRIVED THAILAND

Posted by on May 8, 2021

English Russian Chinese Japanese Korean English Russian Chinese Japanese...

Read More

BOI

BOI

BOI

Posted by on May 16, 2013

James & Partners Law Offices provides several legal practices in connection with investment field. We assist our client to obtain BOI’s promotion in every step including filing and revising BOI application and supporting documents, following up and dealing with BOI’s officers, advising eligible business types under BOI promotion for our clients.  We also advised on benefits and rights of clients under BOI such as collecting FBC under BOI, setting up company under BOI’s benefits and rights, filing applications for expats or workers of clients under BOI promotion and purchasing of real estate for client under BOI promotion. After obtaining BOI we assist our client to make annual report to BOI’s official.  Our office assist investors who want to invest in Thailand and other Asean countries toward the opening of AEC in 2105. Enhancing Competitiveness and Investment Facilitation • Offers an attractive and competitive package of tax incentives. • Imposes no foreign equity restrictions on manufacturing activities or on some service. • Provide assistance in the provision of visas and work permits to facilitate entry and        subsequent operation for...

Read More

Recent Posts

ศูนย์กลางโทรคมนาคม AEC

ศูนย์กลางโทรคมนาคม AEC

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

กิจการโทรคมนาคม (Telecommunications) เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีส่วนสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ ความทันสมัยและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคมช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารทำได้โดยง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนของกิจการ เป็นผลให้กิจการโทรคมนาคมกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของทั้งประเทศไทยและผู้ประกอบการไทยรวมไปถึงช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัวอีกด้วย

ในการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กระทรวง ICT) มีนโยบายที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางโทรคมนาคมของอาเซียน จึงมีการดำเนินการหลายๆ อย่างที่จะช่วยให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางโทรคมนาคมของอาเซียนในที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของภาคอุตสาหกรรม ICT ในด้านต่างๆ ทั้งด้านโทรคมนาคม ด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ ด้านแอนิเมชั่น ด้านเกม ด้านอุตสาหกรรมผลิตคอมพิวเตอร์ ด้านการให้บริการโครงข่าย เป็นต้น ทั้งยังมีการรวบรวมข้อมูลสถานภาพของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ICT และภาพรวมของอุตสาหกรรม ICT การจัดตั้งสถาบันเฉพาะทางด้าน ICT หรือ ICT Academy เพื่อเป็นแหล่งพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ให้มีศักยภาพและทักษะฝีมือสูงเพียงพอที่จะลงสนามแข่งขันในตลาดระดับภูมิภาค รวมไปถึงการเตรียมวางกรอบมาตรฐานวิชาชีพ ICT เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายบุคลากรด้าน ICT ของภูมิภาคอาเซียนเมื่อเข้าสู่การเป็น AEC แล้ว นอกจากนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับด้านงานราชการก็ยังมีสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. ที่ได้นำเทคโนโลยี Cloud Computing มาใช้ในระบบราชการไทย โดยการตั้ง Government Cloud Service ขึ้นตามนโยบายของกระทรวง ICT ซึ่ง Government Cloud Service นี้จะช่วยส่งเสริมระบบการทำงานของส่วนราชการให้สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ด้านภาคเอกชนในอุตสาหกรรม ICT ก็ตื่นตัวกับการเข้าสู่ AEC เช่นกัน บรรดาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม ICT รวมไปถึงผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคมต่างมีการเตรียมความพร้อมรับการเข้าสู่การเป็น AEC อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม Capacity เพื่อรองรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปิด AEC มีการหาหุ้นส่วนหรือพาร์ทเนอร์เพื่อร่วมลงทุนด้านโครงข่ายในประเทศเพื่อนบ้าน และการเชื่อมโครงข่ายกับผู้ให้บริการในต่างประเทศอันเป็นวิธีการขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมประเทศในภูมิภาคอาเซียนทั้งหมดวิธีหนึ่ง ทั้งยังเป็นการปรับตัวให้เป็นไปตามนโยบายของอาเซียนที่ต้องการให้อาเซียนเป็นหนึ่งเดียว มีการเปิดเสรีในหลายๆ ด้านรวมไปถึงด้านกิจการโทรคมนาคมด้วย การเปิดเสรีนี้จะทำให้ผู้ให้บริการทุกรายในอาเซียนแข่งขันอยู่ในสนามเดียวกัน ผู้ให้บริการจากประเทศอื่นในอาเซียนก็จะสามารถให้บริการในประเทศไทยได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้ให้บริการไทยจึงอาจพิจารณาความเหมาะสมในการขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียนเพื่อแข่งขันกับผู้ให้บริการรายอื่นรวมทั้งอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการชาวไทยเมื่อเดินทางไปในประเทศอื่นๆ ในอาเซียนด้วยนั่นเอง ทั้งนี้อุตสาหกรรม ICT บรรจุไว้ในสาขาเร่งรัดของการเปิดเสรีภาคบริการ (Fast Track) คือสำหรับประเทศที่รับรองแล้วต้องไม่มีข้อจำกัดการให้บริการข้ามพรมแดน ทยอยให้ต่างชาติถือหุ้นได้ร้อยละ 70 และเปิดให้คนต่างชาติเข้ามาทำงานด้านกิจการโทรคมนาคมในประเทศไทยได้ในปี ค.ศ. 2013

ทางด้านคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมของประเทศไทยก็มีการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่เออีซี เช่นกัน เบื้องต้น กสทช. มีการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนการปฏิบัติเพื่อรองรับการเปิดเออีซีผ่านการจัดทำแผนแม่บทพัฒนากิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555 – 2559) ซึ่งหนึ่งในหกยุทธศาสตร์ที่ กสทช. จัดทำขึ้นคือการเตรียมความพร้อมและการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ นอกจากนี้ กสทช. ยังมีความพยายามที่จะแก้ประกาศหลายฉบับของ กทช. เดิม เพื่อผ่อนคลายกฎระเบียบหรือลดความตึงของประกาศ (Deregulated) ให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมสามารถเติบโตได้ดีขึ้น อันเป็นการเพิ่มการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคมที่ในปัจจุบันมีผู้ประกอบการน้อยรายหากเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียนที่มีการพัฒนาด้านโทรคมนาคมสูงอย่าง สิงคโปร์ มาเลเซีย การแข่งขันสูงในตลาดนี้จะช่วยให้คุณภาพการให้บริการดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ กสทช. ยังมีการทำข้อตกลงกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้ศึกษาหาข้อเสนอแนะในการวางทิศทางเมื่อเปิดเออีซีอีกด้วย

แต่เรื่องนี้จะไม่กล่าวถึงคู่แข่งที่สำคัญคือประเทศสิงคโปร์นั้นไม่ได้ ปัจจุบันประเทศสิงคโปร์เป็นสมาชิกอาเซียนที่มีการพัฒนาด้านกิจการโทรคมนาคมและการสื่อสารล้ำหน้าที่สุดในอาเซียน มีความเจริญด้านเทคโนโลยีต่างๆ และมีการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมที่ค่อนข้างสมบูรณ์เนื่องจากมีหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมมานานแล้ว อีกทั้งบรรดาผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ICT รวมทั้งกิจการโทรคมนาคมระดับโลกต่างก็ใช้สิงคโปร์เป็นฐานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของภูมิภาคอาเซียน บางบริษัทมีการตั้งสำนักงานระดับเอเชีย-แปซิฟิกในสิงคโปร์ แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรม ICT ของสิงคโปร์อยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดีประเทศไทยมีข้อได้เปรียบตรงที่มีตลาดโทรคมนาคมขนาดใหญ่กว่า ผู้บริโภคมากกว่าสิงคโปร์ที่เป็นประเทศเล็กมีประชากรน้อย นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีความเหมาะสมทางด้านภูมิศาสตร์ และประชาชนในประเทศยังมีกำลังซื้อที่ค่อนข้างสูง ซึ่งหากประเทศไทยมีการบริหารจัดการที่ดีก็จะสามารถเป็นศูนย์กลางโทรคมนาคมของอาเซียนได้

อุตสาหกรรมทีวีดิจิตอล

อุตสาหกรรมทีวีดิจิตอล

www.lawyer-thailand.com

การประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจทั้ง 24 ช่องของประเทศไทยโดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. มีความคึกคักและน่าติดตามมากขึ้นทุกขณะเมื่ออุตสาหกรรมต่างๆ เผยกลยุทธ์รับโอกาสในการสร้างรายได้จากการปรับเปลี่ยนสู่ยุคทีวีดิจิตอล

การปรับระบบรับและส่งสัญญาณโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันไปสู่ระบบดิจิตอลนั้น กสทช. ได้กำหนดให้มีใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องจำนวน 4 ประเภท คือ ใบอนุญาตโครงข่าย หรือ Multiplexer (MUX) ใบอนุญาตสิ่งอำนวยความสะดวกหรือเสาส่งสัญญาณ ใบอนุญาตช่องรายการ 48 ช่อง และใบอนุญาตบริการประยุกต์ ระบบทีวีดิจิตอลกำลังจะก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนเงินมหาศาล นายอนุพนธ์ เตจ๊ะวันโน ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญด้านทีวีดิจิตอล บริษัท ซิสโก้ ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) หนึ่งในทีมงานที่เคยร่วมเปลี่ยนระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกสู่ระบบดิจิตอลในประเทศออสเตรเลียได้ทำการประเมินเบื้องต้นว่าการเปลี่ยนผ่านระบบในประเทศไทยครั้งนี้จะก่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนประมาณ 1 – 3 แสนล้านบาทด้วยจำนวนผู้เล่นหลายภาคส่วนทั้งคอนเทนท์โพรวายเดอร์ เน็ตเวิร์คโปรวายเดอร์ และบรอดแคสเตอร์รวมทั้งสิ้นกว่า 100 ราย

ที่กล่าวว่าจะมีเงินสะพัดกว่าแสนล้านนั้นประกอบด้วยหลายกลุ่ม อาทิ การลงทุนโครงข่าย หรือ MUX ที่ กสทช. กำหนดให้มีใบอนุญาตรวม 6 ใบอนุญาต 6 โครงข่ายซึ่งแต่ละโครงข่ายจะลงทุนประมาณ 3,000 ล้านบาท หากรวม 6 ใบอนุญาตก็จะเป็นเงินประมาณ 18,000 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบการที่สนใจขอใบอนุญาตด้านโครงข่ายนี้ เช่น อสมท. ไทยพีบีเอส กรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 11 เป็นต้น

ด้านกลุ่มผู้ผลิตเนื้อหาหรือคอนเทนท์โพรวายเดอร์ก็มองการลงทุนทีวีดิจิตอลเป็นโอกาสทองของอุตสาหกรรมประเภทนี้เช่นกันโดยจะเห็นได้จากการออกมาประกาศแผนธุรกิจและทิศทางการดำเนินงานของบริษัท อาร์เอส โปรโมชั่น จำกัด (มหาชน) ที่จะก้าวสู่การเป็น Multi Content Media Network เช่นเดียวกับบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ที่จะใช้ความเชี่ยวชาญด้านการผลิตรายการในกลุ่มวาไรตี้ของบริษัทในเครือมาร่วมดำเนินการทั้งเอ็กแซ็กท์ กลุ่ม A-Time และ GTH เป็นต้น

ในอดีตคอนเทนท์ โพรวายเดอร์ อาจเข้าสู่ตลาดได้ยากเนื่องจากแพลตฟอร์มมีอยู่อย่างจำกัดแค่ฟรีทีวีไม่กี่ช่อง แต่ในปัจจุบันที่มีทั้งทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี และกำลังจะมีทีวีดิจิตอลด้วยอีก ทำให้ผู้ประกอบการรายเล็กมีโอกาสเข้ามาเป็นคอนเทนท์โพรวายเดอร์ได้มากขึ้น ประกอบกับความต้องการรับชมประเภทรายการของผู้บริโภคในปัจจุบันที่มีความหลากหลายและแตกต่างกันมากขึ้น ทำให้โอกาสของคอนเทนท์ โพรวายเดอร์เหล่านี้มีมากขึ้นโดยส่วนหนึ่งคงต้องยอมรับว่ามีผลมาจากการเกิดทีวีดิจิตอลนั่นเอง

กลุ่มต่อมาที่ต้องเรียกได้ว่าเป็นที่จับตามองที่สุดคือช่องรายการธุรกิจจำนวน 24 ช่องที่ กสทช. จะจัดประมูลในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายนปีนี้ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว รศ.ดร.ไพฑูรย์ ไกรพรศักดิ์ หัวหน้าทีมวิจัยประเมินมูลค่าคลื่นความถี่โทรทัศน์ในระบบดิจิตอล คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคาดรายได้จากการประมูล 24 ช่องอยู่ที่ราว 20,700 ล้านบาท

นอกจากนี้เม็ดเงินในอุตสาหกรรมทีวีดิจิตอลยังมาจากการวิธีในการรับชมที่แบ่งออกเป็น 2 ช่องทางคือการติดตั้งกล่องรับสัญญาณหรือที่บางคนเรียกว่า Set top box โดยวิธีนี้สามารถที่จะติดตั้งกับจอโทรทัศน์เครื่องเดิมที่มีอยู่ได้ทันที ปัจจุบันกล่องรับสัญญาณรุ่น HD ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 2,500 บาทต่อกล่อง และด้วยจำนวน 22 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศจะทำให้เกิดเม็ดเงินถึง 5.5 หมื่นล้านบาท อีกช่องทางหนึ่งคือการซื้อโทรทัศน์รุ่นใหม่ที่ออกแบบมาให้สามารถรับสัญญาณดิจิตอลได้ โดยราคาจะขึ้นอยู่กับขนาดและลูกเล่นต่างๆ ที่มากับเครื่องโทรทัศน์นั้นๆ แต่ทั้งการซื้อกล่องรับสัญญาณและการซื้อทีวีใหม่นั้น กสทช. มีแผนงานที่จะแจกคูปองส่วนลดให้กับประชาชนทั้ง 22 ครัวเรือนเพื่อนำไปเป็นส่วนลดในการซื้อด้วย

การเปิดประมูลทีวีดิจิตอลในครั้งนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบเฉพาะแต่ในกิจการวิทยุโทรทัศน์แต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลกระทบถึงอุตสาหกรรมโทรคมนาคมด้วยเนื่องจากกำลังจะเกิดการหลอมรวมของอุตสาหกรรมทั้ง 2 ส่วน อันมีที่มาจากการเปิดให้บริการ 3G อย่างเป็นทางการบนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ของทางฝั่งโทรคมนาคมจากผู้ประกอบการทั้ง 3 รายที่มีแนวโน้มว่าจะนำ 3G มาผนวกเข้ากับธุรกิจด้านทีวีดิจิตอล

โดยที่เห็นได้เด่นชัดที่สุดน่าจะเป็นกลุ่มบริษัท อินทัช กรุ๊ป ที่มีบริษัท แอดวานซ์ อินโฟว์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS เป็นบริษัทในเครือนั้น นายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหาร อินทัช กรุ๊ปกล่าวถึงสาเหตุที่อินทัชต้องการเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอลเพื่อต่อยอดธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ของบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค บริษัทลูกของ AIS ด้วย ซึ่งภาพธุรกิจเบื้องต้นของอินทัช คือเมื่ออินทัชมีช่องรายการทีวีก็จะส่งสัญญาณทีวีผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่

การเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับและส่งสัญญาณในระบบทีวีดิจิตอลในครั้งนี้นับเป็นการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรมวิทยุโทรทัศน์ไทยในรอบ 50 ปีและจะเป็นการประมูลใบอนุญาตช่องรายการโทรทัศน์ครั้งแรกของ กสทช. จึงไม่น่าแปลกใจที่กำลังจะสร้างเม็ดเงินที่สะพัดกว่าแสนล้านบาท ประกอบกับใบอนุญาตช่องรายการที่มีระยะเวลา 15 ปีจึงนับเป็นโอกาสอันดีในการเข้ามาของผู้เล่นรายใหม่ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่างๆ รวมไปถึงเป็นโอกาสอันดีของผู้เล่นรายเดิมในการขยายฐานผู้ชมและพัฒนาคุณภาพของเนื้อหาที่จะต้องมีความหลากหลายและตอบโจทก์ความต้องการของผู้บริโภคที่อาจมีความแตกต่างหรือมีความต้องการในลักษณะเฉพาะทางมากยิ่งขึ้น