"TURN EXPERIENCE TO VICTORY"

Litigation

Litigation

Posted by on May 16, 2013

James & Partners Law Offices provides and assists our clients into several courts in any types of case in Thailand including breach of contract case, joint venture dispute case, governmental Case, tax dispute case, insurance dispute case, debt enforcement, tort, international trade dispute, general criminal case, securitization case, fraud and embezzlement case, labor dispute case, bankruptcy and rehabilitation case, family dispute case, prosecution and defense of white collar crimes, DSI accusation. Experience – Thailand-lawyer/ Litigation (Government Contracts) The firm represented Pollution Control Department, Ministry of Natural Resources and Environment in a white collar crime case relating to public contracts in Thailand. This was the first time in history that Thai government retained a specialized private law firm to replace the Attorney General’s office as the representative of the authority. The firm acted as plaintiff’s attorney in taking legal action against nineteen defendants who were former politicians and powerful construction contractors. The amount claimed in the complaint was approximately Baht 30 Billion, representing the biggest cheating case ever filed with Thai court. In November 2005 the court made a ruling that the...

Read More

Company Registration

Company Registration

Posted by on May 16, 2013

James &Partners Law Offices provides wide ranges of corporate services for Thai and foreign clients such as Limited Company Registration,  company’s name reservation include select business entities, Memorandum  Registration, Joining as a Company Promoter, one day registration, company promoter, company director, power of director, 25 % paid-up, Drafting  Article of association, TAX &VAT registration  for company, requiring for any business license(FBC,FBL ), dissolution, M&A. furthermore, we also assisted our  client in drafting reviewing any types of agreements,  and draft relevant legal opinion for our client. Guideline for setting Limited Company in Thailand by James and Partners Law Offices Steps for limited company registration under the Laws of Thailand 1. Corporate Name Reservation The reserved name must not be repeatable or similar to name of other registered companies, which approved by the Commercial Registration Department at the Ministry of Commerce (“MOC”) before. After that, the approved corporate name must be registered within 30 days. Note: Company name reservation must be done via Department of Business Development (“DBD”) website only the process should not spend time more than 30 minutes 2. Memorandum Registration...

Read More

Visa & Work Permit

SPECIAL PACKAGES FOR FOREIGNERS ARRIVED THAILAND

Posted by on May 8, 2021

English Russian Chinese Japanese Korean English Russian Chinese Japanese...

Read More

BOI

BOI

BOI

Posted by on May 16, 2013

James & Partners Law Offices provides several legal practices in connection with investment field. We assist our client to obtain BOI’s promotion in every step including filing and revising BOI application and supporting documents, following up and dealing with BOI’s officers, advising eligible business types under BOI promotion for our clients.  We also advised on benefits and rights of clients under BOI such as collecting FBC under BOI, setting up company under BOI’s benefits and rights, filing applications for expats or workers of clients under BOI promotion and purchasing of real estate for client under BOI promotion. After obtaining BOI we assist our client to make annual report to BOI’s official.  Our office assist investors who want to invest in Thailand and other Asean countries toward the opening of AEC in 2105. Enhancing Competitiveness and Investment Facilitation • Offers an attractive and competitive package of tax incentives. • Imposes no foreign equity restrictions on manufacturing activities or on some service. • Provide assistance in the provision of visas and work permits to facilitate entry and        subsequent operation for...

Read More

Recent Posts

คุณภาพเสียง 3G

คุณภาพเสียง 3G

 ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

การจัดประมูลใบอนุญาต 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม หรือ กสทช. ที่ผ่านไปนั้น สิ่งที่หน่วยงานกำกับดูแลอย่าง กสทช. คำนึงถึงมากที่สุดประเด็นหนึ่งคือคุณภาพการให้บริการ 3G ภายหลังการได้รับใบอนุญาตไปแล้ว

ปัจจุบันต้องเรียกได้ว่าเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านการให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิมอย่าง 850 MHz 900 MHz และ 1800 MHz ไปสู่ 3G บนคลื่นความถี่มาตรฐาน 2.1 GHz บรรดาผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ค่ายที่ชนะการประมูลต่างพยายามวางโครงข่ายระบบ 3G อย่างเต็มที่เพื่อการให้บริการแก่ประชาชนโดยครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด แต่ถึงกระนั้นในระยะเริ่มแรกนี้ก็ยังคงพบปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการ 3G ประเภทเสียงอยู่มากพอสมควร ปัญหาที่มีการร้องเรียนจากผู้ใช้บริการมากที่สุดคือการโทรติดยาก ไม่มีสัญญาณ สายหลุดบ่อย เครือข่ายไม่ว่าง เป็นต้น ทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความเดือดร้อนและไม่ได้รับความสะดวก ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าในช่วงตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556 มีผู้ร้องเรียนต่อ กสทช. ทั้งหมด 1,465 เรื่อง พื้นที่ที่พบปัญหาร้องเรียนมากสุดในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ เขตยานนาวา เขตบางโพงพาง เขตพระราม 3 เขตบางรักและเขตท่าพระ

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่าจากปัญหาการร้องเรียนดังกล่าว กสทช. ได้ดำเนินการออกตรวจวัดคุณภาพการให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครทุกพื้นที่และในส่วนภูมิภาคทุกจังหวัด โดยให้ดำเนินการตรวจวัดคุณภาพการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลการตรวจสอบสำหรับในเขตกรุงเทพมหานครระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมาพบว่าการให้บริการประเภทเสียงบนเครือข่าย 2G มีอัตราการโทรออกสำเร็จและอัตราสายหลุดของผู้ให้บริการทุกค่ายอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน โดยอัตราสายหลุดของทุกค่ายนั้นเป็น 0 ส่วนระดับความแรงสัญญาณและคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ในขณะที่การให้บริการประเภทเสียงบนเครือข่าย 3G แบบ HSPA หรือ 3G บนคลื่นความถี่เดิมนั้น แม้จะพบว่าการให้บริการทุกเครือข่ายมีอัตราสายหลุดมากกว่าระบบ 2G คือมีตั้งแต่ร้อยละ 0.65 ไปจนถึงร้อยละ 3.95 และคุณภาพสัญญาณไม่ค่อยดี แต่ผู้ให้บริการส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่ง กสทช. ได้ย้ำให้ผู้ประกอบการทุกรายต้องรักษาคุณภาพบริการบนโครงข่ายเดิมให้ดีด้วยและต้องเร่งดำเนินการปรับปรุงการให้บริการให้เป็นไปตามมาตรฐานโดยเร็ว

ทั้งนี้ตามประกาศ กสทช. เรื่องมาตรฐานและคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทเสียงได้กำหนดคุณภาพของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ว่าต้องมีอัตราส่วนการเรียกสำเร็จ หรือ Successful Call Ratio ต่อจำนวนการเรียกทั้งหมดไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 สำหรับการโทรภายในโครงข่ายของผู้ประกอบการเดียวกัน และไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 สำหรับการโทรข้ามโครงข่ายต่างผู้ประกอบการ ในกรณีสายหลุดนั้นประกาศฯ กำหนดให้มีอัตราส่วนของจำนวนสายหลุดต่อจำนวนการเรียกใช้ทั้งหมดภายใน 24 ชั่วโมงได้ไม่เกินร้อยละ 2 สำหรับการโทรภายในโครงข่ายของผู้ประกอบการเดียวกัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าตามประกาศฯ ของ กสทช. ฉบับนี้กำหนดให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มีอัตราส่วนของการสายหลุดระหว่างร้อยละ 0 ถึงร้อยละ 2 เท่านั้น แต่บางค่ายยังคงมีอัตราส่วนการสายหลุดที่เกินกว่าเกณฑ์ที่ กสทช. กำหนด จึงจำเป็นที่จะจะต้องปรับปรุงคุณภาพสัญญาณการให้บริการ เพราะแม้ว่าสาเหตุหลักของปัญหาจะมาจากการปรับปรุงโครงข่ายเพื่อดำเนินการเข้าสู่ระบบ 3G บนคลื่น 2.1 GHz ที่อาจทำให้เกิดปัญหาเช่นนี้ได้ก็ตาม แต่บรรดาผู้ประกอบการควรใช้ความระมัดระวังอย่างมากเพื่อไม่ให้กระทบประชาชนผู้บริโภคโดยอาจเลือกดำเนินการในช่วงเวลาที่มีการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่น้อยที่สุดควบคู่ไปกับการเร่งเปิดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz เพื่อโอนย้ายผู้ใช้บริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิมไปยัง 3G บนคลื่นความถี่ใหม่อันจะทำให้สัญญาณคุณภาพดีขึ้น

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับประทศไทยในขณะนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยอาจดูตัวอย่างได้จากประเทศญี่ปุ่นที่เปิดให้บริการ 4G ด้วยเทคโนโลยี LTE คู่ไปกับ 3G ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ระบบ 4G ของประเทศญี่ปุ่นจะอยู่บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ใช้แถบความถี่กว้าง 10 MHz ซึ่งเป็นปริมาณแถบคลื่นความถี่ขั้นต่ำสำหรับเทคโนโลยี LTE โดยทำงานควบคู่กับเทคโนโลยี 3G เพื่อให้มีบริการครอบคลุมทั่วประเทศ ขณะเดียวกันด้วยรูปแบบธุรกิจแบบ MVNO ที่เปิดให้ผู้ประกอบการที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเองเข้ามาเช่าใช้โครงข่ายเพื่อไปเปิดให้บริการในหลากหลายรูปแบบภายใต้
แบรนด์อื่นนั้นก็มีส่วนช่วยทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น ทั้งรูปแบบบริการและแพ็กเกจราคาที่หลากหลาย

สำหรับประเทศไทยแม้ผู้ประกอบการจะยังไม่มีนโยบายในการทำ 4G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz อย่างเช่นในประเทศญี่ปุ่นก็ไม่มีปัญหา เนื่องจากในทางทฤษฎีแล้วศักยภาพของแต่ละย่านความถี่ไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญกับความเร็วของบริการข้อมูล (Data) แต่ความเร็วขึ้นอยู่กับปริมาณแถบความถี่ที่นำมาใช้ที่ต้องมีความกว้าง 10 MHz ขึ้นไปเท่านั้น

แม้หลาย ๆ คนจะมุ่งให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี 3G เป็นหลักแต่ในขณะเดียวกันก็ควรเริ่มให้ความสำคัญกับการลงทุนโครงข่าย LTE เนื่องจากเทคโนโลยี 3G เน้นใช้งาน Data แบบ Downlink ขณะที่ LTE เข้ามาแก้จุดอ่อนเรื่องการใช้งาน Uplink ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นจากการใช้งานSocial Network รูปแบบต่างๆ ที่ทำให้โครงข่าย 3G หนาแน่นขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ดังนั้นการลงทุนโครงข่ายที่รองรับทั้ง 3G และ 4G ไว้แต่เนิ่นๆ น่าจะเป็นทางเลือกที่เป็นประโยชน์สำหรับอนาคตอันใกล้นี้และยังช่วยลดปัญหาคุณภาพสัญญาณที่อาจเกิดขึ้นด้วย

ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

ดาวโหลดเอกสาร

 

 

 

ลดค่าบริการ 3G

ลดค่าบริการ 3G

ลดค่าบริการ 3G

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

หลังจากปรากฏการณ์เปิดบริการ 3G บนคลื่นความถี่มาตรฐาน 2.1 GHz อย่างเป็นทางการของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 รายเมื่อวันที่ 7 – 8 – 9 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทยก้าวไปอีกขั้นกับการมี 3G เพื่อติดต่อสื่อสารอย่างเป็นทางการอย่างเช่นประเทศอื่นๆ ที่พัฒนาแล้ว ซึ่งในการเปิดตัว 3G ของแต่ละค่ายนั้นต่างก็ชูจุดเด่นที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นในด้านคุณภาพการให้บริการ ด้านการเป็นผู้ให้บริการที่มีแบนด์วิธกว้างที่สุดหรือแม้แต่การเปิดให้บริการ 3G พร้อมกับ 4G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz เป็นรายแรกของประเทศ แต่สิ่งหนึ่งที่ประชาชนผู้บริโภคคาดหวังในขณะเดียวกันก็คืออัตราค่าบริการที่ไม่สูง

สำหรับอัตราค่าบริการที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเรียกเก็บจากผู้บริโภคในการให้บริการ 3G ได้นั้น คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้กำหนดหลักเกณฑ์เบื้องต้นไว้ในประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประมูล 3G ว่าผู้รับใบอนุญาตจะต้องกำหนดอัตราค่าบริการให้เป็นธรรม สมเหตุสมผล ไม่เอาเปรียบผู้บริโภคและต้องจัดให้มีบริการที่มีคุณภาพ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่ กสทช. ประกาศกำหนด ซึ่งในเวลาต่อมา กสทช. ได้ระบุไว้ในเงื่อนไขใบอนุญาตให้บริการ 3G กำหนดให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะต้องลดค่าบริการลงจากเดิมโดยเฉลี่ยอย่างน้อยร้อยละ 15 ของอัตราค่าบริการเฉลี่ยประเภทเสียง (Voice) และบริการที่ไม่ใช่เสียง (Non Voice) ที่มีการให้บริการในตลาด ณ วันที่ 7 ธันวาคม 2555

ปรากฏว่าในช่วงเริ่มแรกของการเปิดให้บริการ 3G นั้นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยังคงไม่ได้ปรับลดราคาลงตามที่ กสทช. กำหนด โดยจะเห็นได้จากรายการส่งเสริมการขายหรือโปรโมชั่นที่ยังคงเป็นอัตราเดิม แต่ผู้ให้บริการได้ให้เหตุผลว่าได้เพิ่มสิทธิประโยชน์และความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล (Data) ให้มากกว่า 15 % แทนการลดราคาแล้ว ทำให้เกิดเสียงวิพากวิจารณ์จากฝ่ายผู้บริโภคและสื่อมวลชนอันนำมาซึ่งการประชุมร่วมกันระหว่างผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 รายกับ กสทช. เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา ท้ายที่สุดได้ผลสรุปร่วมกันว่าผู้ประกอบการทุกรายจะลดราคาค่าบริการ 3G ลงร้อยละ 15 และจะไม่ใช้การเสนอสิทธิประโยชน์ภายใต้ราคาเดิมอีกต่อไปแล้ว โดยบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เนทเวอร์ค จำกัด ในเครือ AIS จะเริ่มปรับราคาการให้บริการ 3G ทุกรายการตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคมเป็นต้นไป บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ในเครือ TRUEMOVE จะเริ่มปรับอัตราค่าบริการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนเป็นต้นไป ส่วนบริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด ในเครือ DTAC คาดว่าจะปรับราคาลดลงในเดือนมิถุนายนเช่นกัน ทั้งนี้การลดค่าบริการ 3G ของผู้ประกอบการทั้ง 3 รายนั้นจะครอบคลุมทั้งแพ็คเกจการให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิมและ 3G บนคลื่นความถี่ใหม่ 2.1 GHz ด้วย จึงนับว่าเป็นข่าวดีอย่างยิ่งสำหรับประชาชนผู้ใช้บริการ

ส่วนการออกประกาศกำหนดอัตราค่าบริการขั้นสูงสำหรับบริการ 3G นั้นน่าจะต้องใช้เวลาอีกประมาณ 14-16 เดือนหลังจากการเปิดให้บริการ เนื่องจาก กสทช. ต้องเก็บข้อมูลต้นทุนค่าบริการภายหลังการเปิดให้บริการจริงก่อนจึงจะสามารถคำนวณและกำหนดอัตราค่าบริการขั้นสูงได้ จึงมีความเป็นไปได้ที่ค่าบริการอาจมีการปรับลดลงเร็วกว่าที่กำหนด เนื่องจากตัวแปรสำคัญประการหนึ่งในการกำหนดอัตราค่าบริการขั้นสูงนั้น คืออัตราค่าตอบแทนในการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม หรือ Interconnection Charge (IC) แต่หากผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกรายสามารถเจรจาลดค่าเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างกันได้ให้มีอัตราที่ต่ำกว่าอัตราค่าเชื่อมต่อชั่วคราวที่ กสทช. มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556 ให้ใช้อยู่ในขณะนี้สำหรับ 3G ที่นาทีละ 45 สตางค์กับ 2G ซึ่งอัตราค่าเชื่อมต่ออยู่ที่นาทีละ 1.70 บาท จึงอาจมีความเป็นไปได้ที่สุดท้ายแล้วอัตราค่าบริการ 3G อาจลดลงมากกว่า 15 % ด้วย

อย่างไรก็ดีเมื่อมีการเปิดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ยังไม่ได้หมายความว่าลูกค้าจะสามารถใช้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ใหม่ 2.1 GHz ได้ในทันที แต่หากลูกค้าที่ใช้บริการอยู่กับทั้ง 3 ค่ายนั้นต้องการรับบริการ 3G บนคลื่น 2.1 GHz ใหม่จะต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งใน 2 วิธีนี้ คือเลือกโอนย้ายบริการจากคลื่นความถี่ที่ใช้อยู่เดิมไปยังคลื่นความถี่ใหม่ 2.1 GHz ด้วยเลขหมายเดิม หรือที่เรียกว่า “การย้ายค่ายเบอร์เดิม” ภายใต้บริการคงสิทธิเลขหมาย (Mobile Number Portability : MNP)

เนื่องจากบรรดาบริษัทผู้ให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ในปัจจุบันนั้นแม้จะเป็นบริษัทลูกของบรรดาบริษัทผู้ให้บริการรายเดิมแต่ก็ถือว่าเป็นอีกบริษัทหนึ่งหรืออีกนิติบุคคลหนึ่ง ดังนั้นหากผู้ใช้บริการต้องการนำเลขหมายเดิมไปใช้บนเครือข่าย 3G ก็ต้องทำเรื่องขอใช้บริการคงสิทธิเลขหมาย เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. จึงได้มีมติให้ระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ขยายประสิทธิภาพให้สามารถรองรับบริการได้ถึง 40,000 เลขหมายต่อวันแล้ว นอกจากนี้ กสทช. ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาร่างกำหนดค่าธรรมเนียมในการย้ายค่ายเบอร์เดิมให้ลดลงจากเดิม 99 บาทต่อครั้ง เหลือ 39 บาทต่อครั้งเป็นเวลา 2 เดือนและยังจะให้ลดอีกในภายหลังเหลือเพียง 29 บาทต่อครั้ง อีกทั้งยังระบุเงื่อนไขการโอนย้ายเลขหมายผู้ใช้โทรศัพท์ระบบเติมเงินไปใช้บริการ 3G ว่าจะต้องมีการยืนยันตัวบุคคลโดยใช้ข้อมูลบัตรประชาชนทุกครั้งเพื่อเป็นมาตรการป้องปรามอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์อีกด้วย

สำหรับอีกวิธีหนึ่งในการใช้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz คือผู้ใช้บริการสามารถเลือกรับ Sim Card ใหม่ที่สามารถเปิดใช้งานได้ทันทีภายใต้เลขหมายใหม่นั่นเอง

ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

ดาวโหลดเอกสาร