"TURN EXPERIENCE TO VICTORY"

Litigation

Litigation

Posted by on May 16, 2013

James & Partners Law Offices provides and assists our clients into several courts in any types of case in Thailand including breach of contract case, joint venture dispute case, governmental Case, tax dispute case, insurance dispute case, debt enforcement, tort, international trade dispute, general criminal case, securitization case, fraud and embezzlement case, labor dispute case, bankruptcy and rehabilitation case, family dispute case, prosecution and defense of white collar crimes, DSI accusation. Experience – Thailand-lawyer/ Litigation (Government Contracts) The firm represented Pollution Control Department, Ministry of Natural Resources and Environment in a white collar crime case relating to public contracts in Thailand. This was the first time in history that Thai government retained a specialized private law firm to replace the Attorney General’s office as the representative of the authority. The firm acted as plaintiff’s attorney in taking legal action against nineteen defendants who were former politicians and powerful construction contractors. The amount claimed in the complaint was approximately Baht 30 Billion, representing the biggest cheating case ever filed with Thai court. In November 2005 the court made a ruling that the...

Read More

Company Registration

Company Registration

Posted by on May 16, 2013

James &Partners Law Offices provides wide ranges of corporate services for Thai and foreign clients such as Limited Company Registration,  company’s name reservation include select business entities, Memorandum  Registration, Joining as a Company Promoter, one day registration, company promoter, company director, power of director, 25 % paid-up, Drafting  Article of association, TAX &VAT registration  for company, requiring for any business license(FBC,FBL ), dissolution, M&A. furthermore, we also assisted our  client in drafting reviewing any types of agreements,  and draft relevant legal opinion for our client. Guideline for setting Limited Company in Thailand by James and Partners Law Offices Steps for limited company registration under the Laws of Thailand 1. Corporate Name Reservation The reserved name must not be repeatable or similar to name of other registered companies, which approved by the Commercial Registration Department at the Ministry of Commerce (“MOC”) before. After that, the approved corporate name must be registered within 30 days. Note: Company name reservation must be done via Department of Business Development (“DBD”) website only the process should not spend time more than 30 minutes 2. Memorandum Registration...

Read More

Visa & Work Permit

SPECIAL PACKAGES FOR FOREIGNERS ARRIVED THAILAND

Posted by on May 8, 2021

English Russian Chinese Japanese Korean English Russian Chinese Japanese...

Read More

BOI

BOI

BOI

Posted by on May 16, 2013

James & Partners Law Offices provides several legal practices in connection with investment field. We assist our client to obtain BOI’s promotion in every step including filing and revising BOI application and supporting documents, following up and dealing with BOI’s officers, advising eligible business types under BOI promotion for our clients.  We also advised on benefits and rights of clients under BOI such as collecting FBC under BOI, setting up company under BOI’s benefits and rights, filing applications for expats or workers of clients under BOI promotion and purchasing of real estate for client under BOI promotion. After obtaining BOI we assist our client to make annual report to BOI’s official.  Our office assist investors who want to invest in Thailand and other Asean countries toward the opening of AEC in 2105. Enhancing Competitiveness and Investment Facilitation • Offers an attractive and competitive package of tax incentives. • Imposes no foreign equity restrictions on manufacturing activities or on some service. • Provide assistance in the provision of visas and work permits to facilitate entry and        subsequent operation for...

Read More

Recent Posts

คิดค่าโทรเป็นวินาที

คิดค่าโทรเป็นวินาที

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมานี้หลายท่านอาจจะได้ทราบข่าวที่สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีมติเห็นชอบให้มีการแก้กฎหมายเพื่อเปลี่ยนโครงสร้างการคิดราคาค่าใช้บริการโทรศัพท์มือถือ จากฐานจากการคิดบริการปัดเศษเป็นนาที เป็นการคิดตามจริงเป็นวินาทีและเตรียมส่งเรื่องให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เห็นชอบในหลักการดังกล่าวด้วยแล้ว ส่วนทางด้านสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะผู้กำกับดูแลผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ได้เรียกหารือกับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 5 รายได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการคิดค่าโทรศัพท์ปัดเศษวินาทีเป็นนาทีซึ่งผู้ประกอบการได้ปฏิบัติแนวทางนี้มาโดยตลอด โดยได้ข้อสรุปว่า ให้ผู้ประกอบการต้องออกโปรโมชั่นการคิดค่าโทรศัพท์เป็นวินาทีให้ประชาชนเลือกเปลี่ยนแพกเกจได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2558

หลังจากที่เรื่องดังกล่าวมีการกล่าวอ้างและหยิบยกขึ้นมาว่าประชาชนทั่วไปที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งในระบบเติมเงินรายเดือนนั้นต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าโทรศัพท์แบบกินเปล่าไปฟรีๆถึง เดือนละ 3,591 ล้านบาท หรือ ปีละ 43,092 ล้านบาท และจากการสำรวจการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ค่าบริการในระบบเติมเงินเฉลี่ยอยู่ที่ 341 บาทต่อเดือน ส่วนระบบรายเดือนอยู่ที่ 716 บาท ถ้าเฉลี่ยทั้งสองระบบมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 415 บาทต่อเดือน โดยค่าโทรระบบเติมเงินอยู่ที่ 1.20 บาทต่อนาที ระบบรายเดือนอยู่ที่ 1.70 บาทต่อนาที เฉลี่ยทั้งสองระบบค่าโทรอยู่ที่ 1.30 บาท ทำให้รายได้ของผู้ให้บริการมือถือ 3 ราย ได้แก่ ทรู มีรายได้รวมปี 56 อยู่ที่ 9.6 หมื่นล้านบาท ดีแทคมีรายได้ 9.4 หมื่นล้านบาท และเอไอเอสมีรายได้ 1.4 แสนล้านบาท ต่อมาทางคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคจึงได้จัดทำรายงานนำเสนอหลักการกำหนดค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามระยะเวลาการใช้งานจริงเป็นวินาทีให้กับ สปช. พิจารณาเพื่อแก้ไขการคิดค่าบริการโทรศัพท์เกินจริงดังกล่าว

ในขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาการคิดค่าบริการของต่างประเทศเช่น การคิดค่าบริการมือถือของสหภาพยุโรป (EU) มีข้อกำหนดเรื่องการคิดค่าบริการข้ามแดนอัตโนมัติ (Roaming) โดยคิดค่าโทรขั้นต่ำที่ 30 วินาทีแรก จากนั้นตั้งแต่วินาทีที่ 31 เป็นต้นไปให้คิดค่าโทรตามระยะเวลาการใช้งานจริงเป็นวินาทีทั้งหมด แต่ในทางกลับกันพบว่าประเทศไทยมีการคิดค่าบริการเป็นนาที โดยมีหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ลงทะเบียนในปัจจุบัน 100 ล้านเลขหมาย ซึ่งจะได้รับผลกระทบทั้งหมด เพราะส่วนใหญ่จะใช้บริการเกิน 1 นาที และมีเศษวินาที โอกาสที่โทรลงตัวครบ 1 นาทีคิดเป็น 1 ใน 60 เท่านั้น และมีถึง 99% ที่โทรเป็นวินาทีที่ถูกปรับเศษเป็นนาทีทั้งหมด จึงประเมินว่าทุกวันจะมีการใช้งานที่ถูกปรับเศษวินาทีเป็นนาที เกิน 100 ล้านนาที รวมต่อเดือนกว่า 3,000 ล้านนาที ทำให้ผู้ประกอบการมือถือได้รับรายได้ส่วนเกินมากกว่า 4,500 ล้านบาทต่อเดือน คิดเป็นปีมากกว่า 5.4 หมื่นล้านบาท

แนวคิดดังกล่าวส่งผลมีข้อสนอให้ทาง กสทช. ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 โดยอาศัยมาตรา 31 วรรคสอง ให้ออกคำสั่งห้ามผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม โทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียง คิดค่าบริการโดยปัดเศษวินาทีขึ้นเป็นหนึ่งนาที เนื่องจากเป็นการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคและเร่งออกประกาศหรือหลักเกณฑ์ว่าด้วยการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคที่อาศัยการใช้งานเครือข่ายหรือการโฆษณาอันมีลักษณะเป็นการค้ากำไรเกินควรหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ พร้อมใช้อำนาจตามกฎหมาย กสทช. พ.ศ.2553 มาตรา 27 (9) ออกหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียง คิดค่าบริการตามระยะเวลาที่ใช้งานจริงเป็นวินาทีโดยไม่ปัดเศษเป็นนาทีเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้บริโภค

ยังมีผู้ที่เสนอต่อไปอีกว่านโยบายดังกล่าวไม่ควรแต่เป็นเพียงแค่การเปลี่ยนโปรโมชั่นชั่วคราวเท่านั้น แต่จะต้องเปลี่ยนระบบอย่างถาวรโดยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างราคาค่าบริการซึ่งจะต้องมีการปรับระบบซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และระบบบิลลิ่ง (Billing System) ใหม่ซึ่งคาดว่าสามารถทำได้ภายใน 2-3 เดือน อีกทั้งต้องดูกระแสการตอบรับของประชาชนว่ามีผู้สนใจเปลี่ยนแพกเกจมากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้ควรสนับสนุนให้มีการตั้งองค์กรอิสระคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นมากำกับดูแลในอนาคต เพราะถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค อีกทั้งการดำเนินการด้านกิจการโทรคมนาคมใดๆ จะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกอยู่ด้วย ซึ่งในเบื้องต้นหากมีการเปลี่ยนแปลงโปรโมชั่นเป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้ได้จริงจะช่วยประหยัดค่าโทรได้วันละ 1 นาที คิดเป็น 1.33 บาท ใน 1 เดือน ประหยัดได้ 40 บาทต่อคน เมื่อประเทศไทยมีหมายเลขโทรศัพท์ 94 ล้านเลขหมาย จะประหยัดเงินได้เดือนละ 3,591 ล้านบาท หรือปีละ 43,092 ล้านบาทเลยทีเดียว แต่สิ่งที่สำคัญในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในเรื่องค่าบริการโทรศัพท์ครั้งใหญ่นี้คือการได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกค่าย ซึ่งหากร่วมมือก็สามารถดำเนินการได้ทันที ไม่ต้องผ่านกระบวนการใดๆ แต่ถ้าหากทางผู้ประกอบการไม่ให้ความร่วมมือในการปรับโครงสร้างดังกล่าว ก็อาจจำเป็นที่จะต้องออกกฎเป็นคำสั่งทางปกครอง ภายใต้การออกประกาศของ กสทช. ซึ่งอาจจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน จึงจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการได้ แต่โดยหลักถ้าทุกโอปอเรเตอร์ปรับมาตรฐานการให้บริการ ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องออกกฎหมายมาบังคับแต่อย่างใด

เมื่อเรามาพิจารณาในหลายๆประเทศแล้วจะเห็นได้ว่ามีระบบการคิดค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่จะคิดค่าโทรเป็นนาที แต่ในหลายประเทศก็คิดค่าโทรตามจริงเป็นวินาที เช่นในประเทศไต้หวันจะมีการเก็บค่าบริการโทรในประเทศคิดเป็นนาที แต่ค่าบริการเซลลูล่าร์อาจคิดเป็นนาทีหรือวินาที ขึ้นอยู่กับโอปอเรเตอร์และแพกเกจ ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นคิดค่าโทรในประเทศแบบเหมาจ่ายรายเดือน (Flat-Rate) ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการคิดค่าโทรในแต่ละครั้ง หากมองอีกด้านในแง่ของการเปลี่ยนโครงสร้างระบบการจัดเก็บค่าบริการดังกล่าว การใช้โรมมิ่งในต่างประเทศนั้นอาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้เพราะต่างประเทศส่วนใหญ่ จัดเก็บค่าบริการโทรศัพท์เป็นแบบนาที เมื่อคนไทยเดินทางอออกไปนอกประเทศและใช้ระบบโรมมิ่ง จะเกิดความยุ่งยากซับซ้อนในการเก็บค่าบริการ อันเป็นปัญหาที่จะต้องช่วยกันหาทางแก้กันต่อไปหากมีการปรับเปลี่ยนระบบอย่างเต็มรูปแบบ

Source : http://telecomjournalthailand.com/

E-Payment

E-Payment

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

ผู้อ่านหลายท่านอาจจะได้ยินข่าวที่ทาง บมจ.กสท โทรคมนาคม (CAT Telecom) เปิดเผยว่าบริษัทมีมีมติให้จัดตั้งธุรกิจร่วมค้าและการทำระบบธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และธุรกรรมทางออนไลน์อย่างครบวงจร หรือ เพย์เม้นท์ เกตเวย์ (Payment Gateway) โดยจะดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบกิจการจากทางธนาคารแห่งประเทศไทยและคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในไตรมาส 3 ปีนี้โดยจะเจาะทั้งธุรกิจภาครัฐไปยังเอกชน (G2C) ธุรกิจต่อธุรกิจ (B2B) และธุรกิจถึงกลุ่มผู้บริโภค (B2C) เนื่องจากยังไม่มีองค์กรภาครัฐให้บริการประเภทนี้ ธุรกิจนี้จะต้องทำร่วมกับหุ้นส่วนหรือพาร์ทเนอร์ที่มีความเชี่ยวชาญ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยความปลอดภัยและน่าเชื่อถือเป็นหลัก แนวคิดดังกล่าวสืบเนื่องมาจากธุรกิจด้านอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ที่มีอัตราเติบโตสูง อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนนโยบายดิจิตอล อีโคโนมีของรัฐบาลอีกด้วย อย่างไรก็ตาม CAT ยังตั้งเป้าหมายว่าจะมีรายได้จากธุรกิจเพย์เม้นท์ประมาณ 1,000 ล้านบาทภายใน 5 ปี ซึ่งตลาดออนไลน์เพย์เม้นท์ปัจจุบันมีมูลค่าราวหมื่นล้านบาทต่อปี

จากข่าวดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการทำธุรกรรมทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์หรือ E-Payment นั้นไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่ แต่หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าระบบดังกล่าวคืออะไรและมีขั้นตอนการทำงานที่จะช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้กับเราได้อย่างไร บทความฉบับนี้จะได้เผยแพร่ความรู้ในประเด็นนี้ ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Payment System  คือ กระบวนการส่งมอบหรือโอนสื่อการชำระเงินเพื่อชำระราคาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม โทรสาร โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ในยุคปัจจุบันการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอินเตอร์เน็ตกำลังได้รับความนิยมอย่างมากโดยมีทั้งธนาคารและผู้ประกอบการที่ไม่ใช่สถาบันการเงินที่ให้บริการดังกล่าว ส่วน Payment Gateway นั้นคือบริการที่ให้ Website สามารถรับชำระค่าบริการธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ผ่านบัตรเครดิตได้ แต่เดิมแล้วบริการ Payment Gateway จะให้บริการผ่านทางธนาคารต่างๆ แต่เนื่องจากความยุ่งยากในการเดินเรื่องเอกสารกับทางธนาคาร ไม่ว่าจะการทำรอบบัญชี การวางวงเงินประกัน การต้องเป็นบริษัทจดทะเบียนต่างๆ  ทำให้การเปิด Payment Gateway กับธนาคารมักจะเป็นที่ยุ่งยากสำหรับ Website ขนาดเล็กๆแนวคิดดังกล่าวจึงทำให้มีการเปิด Payment Gateway แทนธนาคารดังกล่าวโดยการทำหน้าที่เป็นตัวกลาง แทนที่เราจะไปติดต่อกับทางธนาคารเอง ก็ให้ทำการติดต่อผ่าน Payment Gateway ของเว็บไซต์ตัวแทนนั้นๆ แทน สิ่งที่เราจะได้รับก็คือความสะดวก รวดเร็ว แต่ก็จะมีการหักค่าธรรมเนียมที่สูงกว่าของธนาคารเล็กน้อย ผู้บริโภคจึงมีทางเลือกว่าจะทำธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารหรือบริษัทที่เป็นคนกลางก็ได้

ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ได้อาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์  พ.ศ.2551  และประกาศกระทรวงการคลังเรื่องกิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58  (การประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์)  โดยธุรกิจ e-Payment ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ประกอบด้วยธุรกิจ  8  ประเภท ได้แก่ การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Money การให้บริการเครือข่ายบัตรเครดิต การให้บริการเครือข่ายอีดีซี การให้บริการสวิตช์ชิ่งในการชำระเงิน การให้บริการหักบัญชี การให้บริการชำระดุล การให้บริการรับชำระเงินแทนและการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใดหรือผ่านทางเครือข่าย

เนื่องจากการทำธุรกิจ E-payment หรือ Payment Gateway นี้มีมานานในต่างประเทศเช่นสหรัฐอเมริกานั้น ธุรกิจการชำระเงินในระบบ E-payment มีมูลค่าสูงถึง 4 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อวัน การที่ธุรกรรมแบบดังกล่าวได้รับความนิยมมากก็เนื่องมาจากความสะดวกสบาย ความปลอดภัย ลดค่าใช้จ่าย อีกทั้งประหยัดต้นทุนเพราะต้นทุนของ e-Payment มีมูลค่าเพียงครึ่งหนึ่งถึงหนึ่งในสามของต้นทุนของการใช้เงินสด ยกตัวอย่างเช่นในประเทศไอซ์แลนด์นั้น การใช้เงินสดมีต้นทุนสูงถึง US$2.57ต่อรายการ ในขณะที่ การใช้บัตรในการชำระเงินมีต้นทุนเพียง US$0.61 เท่านั้น ส่วนในประเทศไทยนั้นแม้ว่าธุรกิจดังกล่าวจะเพิ่งได้รับความนิยมไม่นานมานี้แต่กลับมีอัตราการใช้ที่เพิ่มขึ้นทุกปี ส่วนหนึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีโดยเฉพาะความเร็วของอินเตอร์เน็ตและโครงข่ายระบบที่ออกแบบมารองรับการใช้งาน ไม่เพียงแต่การทำธุรกรรมทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ในตลาด E-Commerce ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน ทั้งนี้ผลสำรวจพฤติกรรมการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ของคนไทยในปี 2557 ที่ผ่านมาพบว่า ตัวเลขการซื้อสินค้าผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่มีมากขึ้นกว่าปีก่อนๆ โดยมูลค่าเฉลี่ยสูงสุดของการซื้อสินค้าอยู่ที่ 4,000 บาทต่อครั้ง และมูลค่าเฉลี่ยสูงสุดของการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่เป็นจำนวนเงินมากถึง 15,000 บาท นอกจากนั้นยังสามารถคาดการณ์ได้ว่าในปีนี้หลังจากมีการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบแล้วการเชื่อมโยงระบบ Payment Gateway กับการทำธุรกิจ E-Commerce ย่อมจะทำได้อย่างสะดวกและเต็มรูปแบบเพื่อเป็นการสร้างทางเลือกและความมั่นใจให้กับผู้บริโภค นอกจากนี้แล้วนโยบายดังกล่าวยังจะช่วยขยายโอกาสและรองรับในการสร้างระบบการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ๆ ได้เพิ่มมากขึ้นกับปรับปรุงมาตรฐานให้ก้าวหน้าเทียบเท่าประเทศอื่นๆ อีกด้วย

อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าเมื่อธุรกรรมการเงินมูลค่าสูงขึ้นเท่าใด ก็ต้องให้ความระมัดระวังเรื่องภัยคุกคามความปลอดภัยทางเทคโนโลยีมากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้การใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ทำธุรกรรมทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยโอนเงินผ่านเว็บไซต์ธนาคารย่อมเสี่ยงต่อการถูกมิจฉาชีพหลอกหลวง โดยอาจจะถูกกรอกข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลการเงินผ่านหน้าเว็บเลียนแบบธนาคาร (“Phishing”) ซึ่งขณะนี้มีการระบาดทางอีเมล์เป็นจำนวนมาก ผู้อ่านจึงต้องตื่นตัวและรู้ทันในเรื่องความปลอดภัยด้วย  โดยในกรณีใช้ผ่านแอพลิเคชั่นของธนาคารนั้น การโหลดหรือติดตั้งดังกล่าวก็ต้องตรวจสอบด้วยว่าใช่แอพลิเคชั่นที่สร้างโดยธนาคารจริงๆ หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้เอง

Source : http://telecomjournalthailand.com/