"TURN EXPERIENCE TO VICTORY"

Litigation

Litigation

Posted by on May 16, 2013

James & Partners Law Offices provides and assists our clients into several courts in any types of case in Thailand including breach of contract case, joint venture dispute case, governmental Case, tax dispute case, insurance dispute case, debt enforcement, tort, international trade dispute, general criminal case, securitization case, fraud and embezzlement case, labor dispute case, bankruptcy and rehabilitation case, family dispute case, prosecution and defense of white collar crimes, DSI accusation. Experience – Thailand-lawyer/ Litigation (Government Contracts) The firm represented Pollution Control Department, Ministry of Natural Resources and Environment in a white collar crime case relating to public contracts in Thailand. This was the first time in history that Thai government retained a specialized private law firm to replace the Attorney General’s office as the representative of the authority. The firm acted as plaintiff’s attorney in taking legal action against nineteen defendants who were former politicians and powerful construction contractors. The amount claimed in the complaint was approximately Baht 30 Billion, representing the biggest cheating case ever filed with Thai court. In November 2005 the court made a ruling that the...

Read More

Company Registration

Company Registration

Posted by on May 16, 2013

James &Partners Law Offices provides wide ranges of corporate services for Thai and foreign clients such as Limited Company Registration,  company’s name reservation include select business entities, Memorandum  Registration, Joining as a Company Promoter, one day registration, company promoter, company director, power of director, 25 % paid-up, Drafting  Article of association, TAX &VAT registration  for company, requiring for any business license(FBC,FBL ), dissolution, M&A. furthermore, we also assisted our  client in drafting reviewing any types of agreements,  and draft relevant legal opinion for our client. Guideline for setting Limited Company in Thailand by James and Partners Law Offices Steps for limited company registration under the Laws of Thailand 1. Corporate Name Reservation The reserved name must not be repeatable or similar to name of other registered companies, which approved by the Commercial Registration Department at the Ministry of Commerce (“MOC”) before. After that, the approved corporate name must be registered within 30 days. Note: Company name reservation must be done via Department of Business Development (“DBD”) website only the process should not spend time more than 30 minutes 2. Memorandum Registration...

Read More

Visa & Work Permit

SPECIAL PACKAGES FOR FOREIGNERS ARRIVED THAILAND

Posted by on May 8, 2021

English Russian Chinese Japanese Korean English Russian Chinese Japanese...

Read More

BOI

BOI

BOI

Posted by on May 16, 2013

James & Partners Law Offices provides several legal practices in connection with investment field. We assist our client to obtain BOI’s promotion in every step including filing and revising BOI application and supporting documents, following up and dealing with BOI’s officers, advising eligible business types under BOI promotion for our clients.  We also advised on benefits and rights of clients under BOI such as collecting FBC under BOI, setting up company under BOI’s benefits and rights, filing applications for expats or workers of clients under BOI promotion and purchasing of real estate for client under BOI promotion. After obtaining BOI we assist our client to make annual report to BOI’s official.  Our office assist investors who want to invest in Thailand and other Asean countries toward the opening of AEC in 2105. Enhancing Competitiveness and Investment Facilitation • Offers an attractive and competitive package of tax incentives. • Imposes no foreign equity restrictions on manufacturing activities or on some service. • Provide assistance in the provision of visas and work permits to facilitate entry and        subsequent operation for...

Read More

Recent Posts

ร่างกลุ่มกฎหมายดิจิทัล (ตอนที่ 1)

ร่างกลุ่มกฎหมายดิจิทัล (ตอนที่ 1)

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

ผู้อ่านหลายท่านคงได้ยินข่าวมาพอสมควรเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายเพื่อผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลทั้ง 10 ฉบับโดยหลังจากที่ร่างชุด กฎหมายดิจิทัล ทั้ง 10 ฉบับนี้ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้วปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาและให้ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อนที่จะบรรจุเข้าในระเบียบวาระการประชุมของ สนช. ต่อไปนั้นได้มีฝ่ายต่างๆออกมาแสดงความคิดเห็นโดยมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยกับกับไม่เห็นด้วย บทความนี้จึงจะได้กล่าวถึงประเด็นที่มีการแสดงความคิดเห็นกันเป็นตอนๆ ไป

เมื่อเรามาวิเคราะห์ กฎหมายดิจิทัล ใหม่ทั้ง 10 ฉบับแล้วจะแยกกฎหมายออกได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่เกี่ยวกับการสนับสนุนอุตสาหกรรมดิจิตอล กลุ่มคุ้มครองความมั่นคงทางไซเบอร์และกลุ่มที่แก้ไขโครงสร้างของกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือ กสทช. โดยกฎหมายทั้ง 10 ฉบับประกอบด้วย 1) ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มเกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญามากขึ้นรวมถึงการทำธุรกรรมกับต่างประเทศ 2) ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อลดปัญหาการกระทำความผิดทั้งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ประชาชนทั่วไป ซึ่งต้องใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น เพื่อกำหนดฐานกระทำความผิดที่เกิดขึ้นในอนาคต 3) ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อป้องกันปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งปัจจุบันมีการทำสงครามและโจมตีอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น 4) ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อคุ้มครองและบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลที่มีจำนวนมหาศาล โดยตั้งสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ ทำหน้าที่คุ้มครองข้อมูลให้กับประชาชน 5) ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล เพื่อส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันในเวทีโลก เนื่องจากธุรกิจปัจจุบันและอนาคตเริ่มเข้าสู่ยุคไร้พรมแดน จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานของรัฐประเภทองค์การมหาชนเข้าไปช่วยดูแล 6) ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนการทำงานรูปแบบการสนับสนุน การให้ทุน ให้กู้ยืม แก่หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนที่เกี่ยวข้อง 7) ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เนื่องจากกิจการวิทยุโทรทัศน์และการสื่อสารดาวเทียมได้มีการพัฒนามาก และยังเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิตอล ดังนั้น เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการการกระจาย กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักจัดสรรคลื่นความถี่ต้องปรับปรุงบทบาท ภารกิจ การกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล 8) ร่าง พ.ร.ฎ.จัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เพื่อทำหน้าที่ผลักดันและพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนดูแลการพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 9) ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อให้มีคณะกรรมการที่กำกับดูแลด้านดิจิตอลโดยตรง และ 10) ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพื่อกำหนดให้มีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้ครอบคลุมการทำงานในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ที่มีมิติของภารกิจและความรับผิดชอบเพิ่มเติมขึ้นจากเดิม

ร่างกฏหมายที่ทำให้เกิดกระแสความคิดเห็นจากหลายๆฝ่ายที่มีทั้งเห็นด้วยและคัดค้านที่เป็นประเด็นมากที่สุดในตอนนี้คงหนีไม่พ้นร่างชุดกฎหมายความมั่นคงทางไซเบอร์ ฝ่ายที่เสนอร่างกฎหมายดังกล่าวก็เน้นย้ำในจุดยืนที่ต้องการจะปูพื้นฐานโครงสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลและป้องกันอาชญากรรมทางไซเบอร์ แต่ฝ่ายที่คัดค้านเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางไซเบอร์มีเนื้อหาที่อาจกระทบต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานเช่น การให้อำนาจหน่วยงานและเจ้าหน้าที่อย่างกว้างขวาง ขาดกลไกการตรวจสอบอำนาจรัฐและกลไกคุ้มครองสิทธิที่ชัดเจน จนคุกคามหรือลิดรอนสิทธิเสรีภาพได้เช่น มาตรา 35(3) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสารในทุกๆทางได้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการเพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และในประเด็นความห่วงใยเดียวกันนี้ยังมีมาตรา 10 ของร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ที่ได้ขยายอำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าถึงบัญชี คอมพิวเตอร์ และระบบ โดยไม่ต้องขออำนาจศาล อีกทั้งเจ้าหน้าที่มีสิทธิ์ดักจับข้อมูล ยึดคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ อุปกรณ์ ได้ทันทีหากสงสัยว่ามีการกระทำความผิดโดยไม่มีหมายศาลอีกด้วย

หากมาพิจารณาหลักการและเหตุผลของแต่ละฝ่ายโดยละเอียดก็อาจเห็นว่าเป็นการมองต่างมุมที่ให้ความสำคัญในเรื่องที่แตกต่างกันเช่น เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของฝ่ายที่เสนอร่างกฎหมายนี้คือการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเดิมให้สอดคล้องและทันสมัยรวมทั้งออกกฎหมายใหม่เพื่อมารองรับสิ่งใหม่ๆที่กำลังจะมีการพัฒนาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลโดยเน้นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในอดีตและป้องกันปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์ที่นับแต่จะมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นในอนาคต อันจะทำให้ความเสี่ยงในการกระทำความผิดย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย จึงต้องการให้มีการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อย่างจริงจังและสามารถหาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้ แต่เมื่อร่างกฎหมายฉบับข้างต้นออกมานั้น ฝ่ายที่คัดค้านกลับเห็นว่าไม่แน่ใจว่าเมื่อประกาศใช้จะเอื้อต่อการนำดิจิทัลมาพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจริงเหมือนที่ตั้งเป้าหมายไว้แต่ต้นหรือไม่ แต่กลับสกัดกั้นการเติบโตของเศรษฐกิจเนื่องจากการออกกฎหมายส่อปิดกั้นและละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทั่วไป ทำให้เสี่ยงต่อการที่นักลงทุนต่างชาติจะหวั่นเกรงจนไม่กล้าเข้ามาลงทุนหรือลดระดับความสนใจการลงทุนในประเทศไทย

ในขณะนี้ยังคงมีการวิพากษ์วิจารณ์และยังไม่ได้บทสรุปกับเรื่องดังกล่าวเพราะต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุผลที่สนับสนุนความคิดเห็นของตน ท่านผู้อ่านคงต้องใช้วิจารณญาณในการชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสียของเหตุผลทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตามสิ่งที่ควรคำนึงถึงคือการออกกฎหมายใหม่นั้นจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์และแก้ไขปัญหาให้ถูกจุดหรือตรงประเด็นที่เคยเกิดปัญหาบ่อยๆกับไม่เป็นการเหวี่ยงแหครอบคลุมมากเกินไปเพราะการออกกฎหมายหนึ่งฉบับจะมีผลผูกพันระยะยาวและอาจไปกระทบกระเทือนสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชนในส่วนอื่น จึงจะมองเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งหรือเพื่อแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งคงไม่ได้ รวมทั้งอาจจะควรมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะอย่างรอบด้าน เพื่อไม่เสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองโดยการปราศจาการถ่วงดุลหรือการคานอำนาจ หรือการให้อำนาจเจ้าหน้าที่มากเกินไป อีกทั้งเพื่อจะได้เอื้อต่อการส่งเสริมและสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างแท้จริงอีกด้วย

Source : http://telecomjournalthailand.com/

กฎหมาย Digital Economy

กฎหมาย Digital Economy

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล และเร่งรัดการแก้ไขเพิ่มเติมและยกร่างกฎหมายใหม่รวม 13 ฉบับ เพื่อจัดตั้ง “กระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม”นั้น ในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาได้มีการนำเสนอข่าวในเรื่องการปรับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับเศรษฐกิจดิจิตอลหรือ Digital Economy โดยทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ซึ่งเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบในเรื่องนี้ได้เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อออก พ.ร.บ. ดิจิตอล อีโคโนมี ถือเป็นกฎหมายฉบับหลักในการควบคุมอำนาจและแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อผลักดันดิจิตอลอีโคโนมีทั้งหมด รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องเช่น กฎหมายการพัฒนาดิจิตอลอีโคโนมี   เชื่อมโยงไปถึงรัฐบาลอิเล็กทรอนิคส์ (E-Government) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)   การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมไปถึงการให้แรงสนับสนุนกับภาคเอกชน  เช่น กฎเกณฑ์ส่งเสริมของบีโอไอต่อดิจิตอลอีโคโนมี โดยมี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร      เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และมีนางเมธินี เทพมณี ปลัดกระทรวงไอซีที เป็นเลขานุการ รวมไปถึงได้มีการตั้งคณะกรรมการดำเนินการ 3 คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ  คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ พ.ศ.2525 และคณะกรรมการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เพื่อผลักดันยุทธศาสตร์ดิจิตอล อีโคโนมี ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้แล้วยังมีแก้ไขกฎหมายจำนวน 13 ฉบับ เช่น พ.ร.บ. ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งกฎหมายดังกล่าวเป็นสิ่งที่รัฐบาลหลายสมัยพยายามผลักดันให้เกิดเพราะจะมีประโยชน์ต่อประชาชนในหลายด้าน เช่น ด้านสาธารณสุข หากแพทย์ทุกโรงพยาบาลสามารถดึงข้อมูลสุขภาพของคนไข้จากข้อมูลกลางได้ก็จะทำให้การรักษาสะดวกและรวดเร็วขึ้น เป็นต้น รวมทั้งยังมีแผนที่จะยกร่าง พ.ร.บ.เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจดิจิตอลของประเทศ ปรับปรุง พ.ร.ฎ.จัดตั้งสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) พ.ศ.2543 ร่างแก้ไข พ.ร.ฎ.จัดตั้งสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) พ.ศ.2554 ยกร่างกฎกระทรวงเรื่องการแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ยกร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมเศรษฐกิจดิจิตอล และปรับปรุงกฎกระทรวงเรื่องการแบ่งส่วนราชการกรมอุตุนิยมวิทยา โดยหลังจากที่มีการแก้กฎหมายดังกล่าวเสร็จ คาดว่าจะทำให้ช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศในระยะยาว เพิ่มศักยภาพให้ผู้ประกอบการไทย ทั้งในภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และภาคบริการให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในการเข้าถึงตลาด ซึ่งจะเป็นการช่วยสนับสนุนส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติให้เพิ่มมากขึ้น เช่น การเสนอให้มีการยกเลิก หรือให้ปรับปรุงการจัดเก็บภาษีที่ซ้ำซ้อนหรือจัดเก็บในอัตราที่สูงเกินไป เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สิงคโปร์หรือมาเลเซียก็ไม่มีการจัดเก็บภาษีดังกล่าว

หลายสิบปีที่ผ่านมา ประเทศของเราไม่ได้มีการกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ในการพัฒนาอุตสาหกรรม ICT อย่างบูรณาการในระดับชาติ ซึ่งได้ส่งผลให้ประเทศชาติได้ตกหล่นเป็นอันดับท้ายๆ ของเอเชียและกระทั่งของอาเซียนในมาตรวัดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสามารถทางการแข่งขันทางด้าน ICT

หากพิจารณาในแง่มุมการรองรับทางกฎหมายของต่างประเทศแล้วจะพบว่าได้มีการออกกฎหมายเพื่อปรับใช้กับการดำเนินการทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปในโลกยุคดิจิตอล เช่น ประเทศอังกฤษ ได้ออก Digital Economy Act B.E.2010 โดยมีสาระสำคัญคือควบคุมการละเมิดลิขสิทธิ์ทางออนไลน์ การจดทะเบียนผู้ใช้โดเมน ข้อบังคับของบริการทางโทรทัศน์และวิทยุ ข้อบังคับในการใช้สเปคตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น หรืออย่างในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ได้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ E-Commerce ซึ่งจะควบคุมในเรื่องของการค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของข้อมูลของลูกค้าทางออนไลน์  การปฏิบัติตามข้อบังคับในการโฆษณาออนไลน์ การจัดเก็บข้อมูลออนไลน์ เป็นต้น จะมีองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลเรื่องดังกล่าวโดยเฉพาะ ซึ่งคล้ายกันกับประเทศออสเตรเลียที่มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ค.ศ. 1999 ที่ออกมาในช่วงแรกๆ เพื่อควบคุมและยอมรับนับถือธุรกรรมที่กระทำโดยอิเล็กทรอนิกส์ว่ามีสภาพเสมอเหมือนกับธุรกรรมที่ทำลงบนกระดาษหรือ Hard Copy ซึ่งจากการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิตอลของต่างประเทศเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางธุรกิจและเศรษฐกิจของต่างชาติที่ก้าวไกลไปมากที่ประเทศไทยจะต้องพัฒนาให้เท่าทันโดยเริ่มจากการปรับโครงสร้างพื้นฐานเสียก่อน

นอกจากนี้แล้วความร่วมมือในระดับประเทศก็เป็นเรื่องสำคัญที่จะผลักดันความก้าวหน้าในเศรษฐกิจดิจิตอลของไทย เช่น การอนุวัติการ e-Communication Convention ของ UN ซึ่งในปัจจุบันมีหลายประเทศลงนามแล้ว เช่น สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ (ASEAN) เกาหลีใต้ จีน รัสเซีย ศรีลังกา อิหร่าน ซาอุดิอาระเบีย และเลบานอน หากประเทศไทยได้มีการร่วมมือในระดับประเทศดังกล่าวย่อมจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้าของไทยได้มากยิ่งขึ้น

เศรษฐกิจดิจิตอลถือเป็นเศรษฐกิจฐานใหม่ และเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจภาคอื่นๆ ทั้งอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การบริการและการเงินการธนาคารเติบโตต่อไป ในหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เศรษฐกิจเติบโตบนอยู่ฐานนี้ และรัฐบาลของประเทศนั้นๆ ให้ความสำคัญมาก ถึงแม้ว่าในประเทศไทยอาจจะผลักดันเรื่องนี้อาจจะช้ากว่าประเทศ อื่นๆ บ้าง แต่ก็ถือว่ายังไม่ช้าเกินไปที่จะเริ่มต้นทำอย่างจริงจังโดยเริ่มจากการวางโครงสร้างกฎหมายที่จะเข้ามารองรับการทำธุรกรรมในโลกยุคดิจิตอลนี้ ตลอดจนการแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ให้สมบูรณ์และปรับใช้ให้สอดคล้องกับธุรกิจในปัจจุบันซึ่งย่อมจะส่งผลต่อการพัฒนาในด้านอื่นๆต่อไป

By : http://telecomjournalthailand.com/