"TURN EXPERIENCE TO VICTORY"

Litigation

Litigation

Posted by on May 16, 2013

James & Partners Law Offices provides and assists our clients into several courts in any types of case in Thailand including breach of contract case, joint venture dispute case, governmental Case, tax dispute case, insurance dispute case, debt enforcement, tort, international trade dispute, general criminal case, securitization case, fraud and embezzlement case, labor dispute case, bankruptcy and rehabilitation case, family dispute case, prosecution and defense of white collar crimes, DSI accusation. Experience – Thailand-lawyer/ Litigation (Government Contracts) The firm represented Pollution Control Department, Ministry of Natural Resources and Environment in a white collar crime case relating to public contracts in Thailand. This was the first time in history that Thai government retained a specialized private law firm to replace the Attorney General’s office as the representative of the authority. The firm acted as plaintiff’s attorney in taking legal action against nineteen defendants who were former politicians and powerful construction contractors. The amount claimed in the complaint was approximately Baht 30 Billion, representing the biggest cheating case ever filed with Thai court. In November 2005 the court made a ruling that the...

Read More

Company Registration

Company Registration

Posted by on May 16, 2013

James &Partners Law Offices provides wide ranges of corporate services for Thai and foreign clients such as Limited Company Registration,  company’s name reservation include select business entities, Memorandum  Registration, Joining as a Company Promoter, one day registration, company promoter, company director, power of director, 25 % paid-up, Drafting  Article of association, TAX &VAT registration  for company, requiring for any business license(FBC,FBL ), dissolution, M&A. furthermore, we also assisted our  client in drafting reviewing any types of agreements,  and draft relevant legal opinion for our client. Guideline for setting Limited Company in Thailand by James and Partners Law Offices Steps for limited company registration under the Laws of Thailand 1. Corporate Name Reservation The reserved name must not be repeatable or similar to name of other registered companies, which approved by the Commercial Registration Department at the Ministry of Commerce (“MOC”) before. After that, the approved corporate name must be registered within 30 days. Note: Company name reservation must be done via Department of Business Development (“DBD”) website only the process should not spend time more than 30 minutes 2. Memorandum Registration...

Read More

Visa & Work Permit

SPECIAL PACKAGES FOR FOREIGNERS ARRIVED THAILAND

Posted by on May 8, 2021

English Russian Chinese Japanese Korean English Russian Chinese Japanese...

Read More

BOI

BOI

BOI

Posted by on May 16, 2013

James & Partners Law Offices provides several legal practices in connection with investment field. We assist our client to obtain BOI’s promotion in every step including filing and revising BOI application and supporting documents, following up and dealing with BOI’s officers, advising eligible business types under BOI promotion for our clients.  We also advised on benefits and rights of clients under BOI such as collecting FBC under BOI, setting up company under BOI’s benefits and rights, filing applications for expats or workers of clients under BOI promotion and purchasing of real estate for client under BOI promotion. After obtaining BOI we assist our client to make annual report to BOI’s official.  Our office assist investors who want to invest in Thailand and other Asean countries toward the opening of AEC in 2105. Enhancing Competitiveness and Investment Facilitation • Offers an attractive and competitive package of tax incentives. • Imposes no foreign equity restrictions on manufacturing activities or on some service. • Provide assistance in the provision of visas and work permits to facilitate entry and        subsequent operation for...

Read More

Recent Posts

แผนแม่บท ICT ฉบับที่ 3

แผนแม่บท ICT ฉบับที่ 3

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมไปถึงการพัฒนาศักยภาพของประชากรให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจึงเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญในการผลักดันความเจริญก้าวหน้าให้เกิดขึ้น นอกจากการขวนขวายใฝ่หาความรู้โดยปัจเจกบุคคลเองแล้ว รัฐย่อมเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญในการผลักดันให้ประชาชนได้เข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเท่าเทียมหน่วยงานราชการที่สำคัญในการทำหน้าที่ผลักดันประชาชนไทยให้เข้าถึงเทคโนโลยีด้านไอที ได้แก่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวงไอซีที และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เป็นต้น

ที่ผ่านมากระทรวงไอซีทีได้กำหนดนโยบายหรือแผนแม่บทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในประเทศไปแล้วจำนวน 2 ฉบับ แต่ละฉบับครอบคลุมระยะเวลา 5 ปี โดยฉบับที่ 2 มีผลใช้บังคับในช่วงปี พ.ศ. 2549 – 2556 ดังนั้นในปีนี้กระทรวงไอซีทีจึงได้มีการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 3 ขึ้นเพื่อให้มีผลใช้บังคับต่อไปในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2557 – 2561 โดยบทความฉบับนี้ผู้เขียนจะพาไปรู้จักกับแผนแม่บท ICT ฉบับที่ 3 นี้เพื่อให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายได้เห็นภาพกับได้เข้าใจในระดับหนึ่งว่า ICT ของประเทศไทยจะเดินไปในทิศทางใดและเราจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาให้ไปในทิศทางเดียวกันอย่างไรได้บ้าง

แผนแม่บท ICT ฉบับที่ 3 นี้เป็นการดำเนินการตามกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ระยะปี พ.ศ. 2554 – 2563 หรือ ICT 2020 ซึ่งเป็นกรอบใหญ่กำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศไทยมุ่งสู่ Smart Thailand ในปี พ.ศ.2563 โดยกรอบ ICT 2020 นี้ได้กำหนดให้มีการจัดทำแผนแม่บท ICT เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่วางไว้

แนวคิดสำคัญในการจัดทำแผนแม่บท ICT ฉบับที่ 3 คือต่อยอดการพัฒนาจากแผนแม่บท ICT ฉบับที่ 2 เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการพัฒนาด้าน ICT ของประเทศไทย โดยยึดหลักการพัฒนาแบบยั่งยืน หรือ Sustainability ซึ่งหลักการพัฒนาด้าน ICT แบบยั่งยืนนี้ประกอบไปด้วยปัจจัยสำคัญ ได้แก่ หลักธรรมาภิบาล (Governance) หลักความมั่นคงปลอดภัยทางโลกไซเบอร์ (Cyber Security) หลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดภาวะโลกร้อน (Green ICT) หลักการพัฒนาที่สอดคล้องกับหลักกฎหมาย มาตรฐาน ระเบียบและวิธีการด้าน ICT (Laws & Regulations Development) หลักการพัฒนาตามหลักเกณฑ์วุฒิภาวะด้าน ICT ที่เกี่ยวข้อง (Maturity Model) และหลักการพัฒนาที่ลงถึงระดับชุมชนและท้องถิ่น (Community & Region Based Development)

ในช่วงปีที่ผ่านมาแผนแม่บท ICT ฉบับที่ 3 นี้ได้ผ่านการประชุมรับฟังความคิดเห็นแบบ Focus Group เพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจํานวน 8 กลุ่มเสร็จสิ้นแล้วตั้งแต่ในช่วงเดือนสิงหาคม 2556 การจัดการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ดังกล่าวเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในทุกมิติ โดยแบ่งเป็น 8 กลุ่ม ประกอบไปด้วยกลุ่ม Government กลุ่ม ICT เพื่อการพัฒนาสังคม กลุ่ม ICT Human Capital กลุ่ม Infrastructure กลุ่ม ICT เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ กลุ่ม ICT กับสิ่งแวดล้อม กลุ่ม ICT กับกลุ่มความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และกลุ่ม ICT Industry ซึ่งในแต่ละกลุ่มได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่างๆ ที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาเป็นประธานนำการประชุม

ยุทธศาสตร์หลักที่ถูกกำหนดในแผนแม่บท ICT ฉบับที่ 3 ประกอบด้วยการพัฒนาใน 4 ยุทธศาสตร์ คือ การพัฒนาทุนมนุษย์ให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนา ICT ของประเทศ (Participatory People) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่คุ้มค่าและพอเพียง (Optimal Infrastructure) การพัฒนาระบบบริการของภาครัฐอย่างชาญฉลาด (Smart Government) การพัฒนาอุตสาหกรรม ICT และภาคธุรกิจที่รุ่งเรืองสดใส (Vibrant Industry & Business) โดยในแต่ละยุทธศาสตร์มีแนวคิดและแผนงานรองรับที่เป็นรูปธรรม กล่าวคือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาทุนมนุษย์ให้เข้าถึงและรู้เท่าทัน ICT เพื่อการดํารงชีวิตและการประกอบอาชีพอย่างพอเพียง ด้วยแนวคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม มีส่วนร่วมในการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากบริการ ICT (Participatory People) ยุทธศาสตร์ที่ 1 นี้มีแผนงานหลักหรือโครงการเร่งด่วนในการศึกษามาตรฐานในการกําหนดวิชาชีพด้าน ICT เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายบุคลากร ICT ระหว่างประเทศ ภายใต้ AEC/ASEAN และ APEC กับมุ่งส่งเสริมและยกระดับศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนและศูนย์อื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกันให้เป็นช่องทางและกลไกในการส่งเสริมทักษะแนวคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการพัฒนาฝีมือแรงงานด้าน ICT การจัดตั้งศูนย์แห่งความเป็นเลิศในการพัฒนาบุคลากรสำหรับภาคบริการอิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคอาเซียน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่พอเพียง (Sufficient) และคุ้มค่า (Optimal Infrastructure) ยุทธศาสตร์นี้มีแผนงานหลักอยู่ที่การพัฒนาโครงข่ายหลักระหว่างประเทศ เพื่อสร้างแนวทางในการเป็นศูนย์กลางด้าน Logistics ของภูมิภาค ASEAN และ ASEAN บวกพันธมิตร รวมถึงการขยายจุดให้บริการและปรับปรุงคุณภาพ Free Wi-Fi ในที่สาธารณะโดยไม่คิดค่าบริการ ในพื้นที่บริการนักท่องเที่ยว สวนสาธารณะ สนามบิน สถานีรถไฟ สถานีรถไฟฟ้า สถานีขนส่ง และสถานที่อื่นๆ ตามความเหมาะสม อีกทั้งยังมีแผนในการจัดทําชุดเครื่องมือมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยขั้นพื้นฐาน (Standard Security Toolkit) สําหรับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถนําไปใช้ในการตรวจสอบและเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศในหน่วยงานได้

ยุทธศาสตร์ที่ 3 คือการยกระดับบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่นให้มีความมั่นคงปลอดภัย ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคสากล (Smart Government) แผนงานหลักหรือโครงการหลักของยุทธศาสตร์นี้คือ การประเมินระดับวุฒิภาวะ (Maturity) ของ e-Service ในด้านต่างๆ ทั้งในระดับประเทศและหน่วยงานระดับกรมในทุกกระทรวง การจัดตั้งหรือปรับปรุงเว็บไซต์กลางของภาครัฐตามแนวทาง Open Government เช่น ภายใต้ชื่อ Government Knowledge Center (www.g4share.go.th) หรือ www.data.go.th สําหรับใช้เป็นช่องทางในการเปิดเผยและแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งบริการในลักษณะ App Store ให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม พร้อมด้วยเครื่องมือที่สามารถนําข้อมูลและบริการไปใช้ประโยชน์ได้สําหรับประชาชนและเอกชน

ยุทธศาสตร์ที่ 4 คือการพัฒนาขีดความสามารถของธุรกิจ ส่งเสริมให้มีการประยุกต์ใช้ ICT เพื่อให้มีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดในระดับภูมิภาคและระดับสากล รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม ICT เชิงสร้างสรรค์ และการใช้ ICT ในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Vibrant Industry & Business) โดยยุทธศาสตร์นี้มีแผนงานหลักอยู่ที่การจัดตั้ง One Stop Service ในการให้บริการข้อมูล ข่าวสารรวมทั้งการจดทะเบียนเพื่ออํานวยความสะดวกในการจัดตั้งและประกอบธุรกิจ ICT ในประเทศไทย (Facilitation Desk for ICT Business Start-up Program) รวมตลอดจนการจัดตั้งกองทุน ICT เพื่อการพัฒนา ICT ในภาคธุรกิจและการส่งเสริมอุตสาหกรรม ICT โดยเฉพาะในภาคส่วนธุรกิจและอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม นอกจากนี้ยังมีโครงการ National Agriculture Platform เพื่อเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนและการเข้าถึงข้อมูลที่จําเป็นในภาคการเกษตรในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานทุกกลุ่มด้วย

เป้าหมายหลักที่กระทรวงไอซีทีคาดว่าจะได้รับจากการกำหนดยุทธศาสตร์ตามแผนแม่บท ICT ฉบับที่ 3 ข้างต้นนั้นคือ การมีสัดส่วน ICT ต่อ GDP สูงขึ้นโดยเฉพาะจากผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ภาคธุรกิจมีเครื่องมือ ICT เพื่อสร้างความพร้อมและการปรับตัวในการแข่งขันในเวทีสากล ประชาชน ชุมชนและท้องถิ่นสามารถประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการศึกษาเรียนรู้ การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพได้ บริการอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐไร้ตะเข็บรอยต่อและเป็นที่พึงพอใจของผู้ใช้บริการทุกภาคส่วน สังคม ชุมชน ท้องถิ่นเข้มแข็ง ปลอดภัยและมีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน อีกทั้งอันดับประเทศไทยด้าน ICT สูงขึ้นในสถาบันการจัดอันดับสากล นอกจากนี้ยังตั้งเป้าให้ประชากรร้อยละ 80 ของประเทศสามารถเข้าถึงโครงข่ายโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงภายในปี 2558 และร้อยละ 90 ภายในปี 2561 อีกทั้งประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 มีความรอบรู้ เข้าถึง และมีส่วนร่วมในการพัฒนากับใช้ประโยชน์จากระบบ ICT ได้อย่างเท่าทัน เพื่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ นอกจากนี้ยังตั้งเป้าให้สัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรม ICT รวมทั้งอุตสาหกรรมดิจิตอลคอนเทนต์ ต่อ GDP ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 และมีระดับความพร้อมด้าน ICT ใน Networked Readiness Inbox อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาสูงที่สุดในสัดส่วนร้อยละ 30 ก่อให้เกิดการจ้างงานในสายวิชาชีพรูปแบบใหม่ๆ ตามความต้องการของตลาดทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญและบทบาทของ ICT ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ขณะนี้แผนแม่บท ICT ฉบับที่ 3 นี้มีท่านเมธินี เทพมณี ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นแม่งานในการจัดทำเพื่อให้เกิดความครบถ้วนและสมบูรณ์อย่างเต็มที่เพื่อประโยชน์ของประเทศไทยและประชาชนชาวไทย

Source : http://telecomjournalthailand.com/

คุณภาพการโทร

คุณภาพการโทร

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

หลายท่านคงเคยประสบกับปัญหาการที่โทรศัพท์ติดยากหรือโทรแล้วสายหลุดกันมาบ้าง โดยมักเกิดขึ้นกับการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นส่วนใหญ่ ที่ผ่านมามีการร้องเรียนจากประชาชนในเรื่องดังกล่าวจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของการเปลี่ยนผ่านการให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิมอย่าง 850 MHz 900 MHz และ 1800 MHz ไปสู่ 3G บนคลื่นความถี่มาตรฐาน 2.1 GHz ที่บรรดาผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่างพยายามวางโครงข่ายระบบ 3G อย่างเต็มที่เพื่อการให้บริการแก่ประชาชนแบบครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดโดยมีคุณภาพเสียงที่ดี แต่ถึงกระนั้นในระยะเริ่มแรกหรือในจุดที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมากก็ยังคงพบปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพเสียงอยู่พอสมควร

ที่ผ่านมาการควบคุมมาตรฐานคุณภาพบริการประเภทเสียง (Voice) ของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นเป็นไปตามประกาศของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เรื่องมาตรฐานและคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทเสียง ซึ่งได้กำหนดคุณภาพของสัญญาณบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ว่าต้องมีอัตราส่วนการเรียกสำเร็จ หรือ Successful Call Ratio ต่อจำนวนการเรียกทั้งหมดไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 สำหรับ การโทร ภายในโครงข่ายของผู้ประกอบการเดียวกัน และไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 สำหรับการโทรข้ามโครงข่ายต่างผู้ประกอบการ ในกรณีสายหลุดนั้นประกาศฯ กำหนดให้มีอัตราส่วนของจำนวนสายหลุดต่อจำนวนการเรียกใช้ทั้งหมดภายใน 24 ชั่วโมงได้ไม่เกินร้อยละ 2 สำหรับการโทรทั้งภายในโครงข่ายของผู้ประกอบการเดียวกัน และการโทรข้ามโครงข่ายต่างผู้ประกอบการ

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าประกาศฯ ของ กสทช. ฉบับนี้กำหนดให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มีอัตราส่วนของการสายหลุดได้ร้อยละ 0 ถึงร้อยละ 2 เท่านั้น ซึ่งจากการที่ กสทช. ได้ดำเนินการส่งรถตรวจสอบคุณภาพสัญญาณบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ออกวิ่งปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพสัญญาณ ทั้งในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและจังหวัดอื่นๆ พบว่าอัตรา การโทร สำเร็จยังคงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

อย่างไรก็ดีเนื่องจากที่ผ่านมาผลการตรวจสอบทางเทคนิคไม่สอดคล้องกับความพึงพอใจและความรู้สึกจริงของผู้ใช้บริการ อีกทั้งมาตรฐานอุตสาหกรรมโทรคมนาคมได้มีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น ปัจจุบันมีการใช้งานด้านการรับ-ส่งข้อมูล (Data) เพิ่มสูงขึ้นจากเดิมถึงร้อยละ 300 – 400 ทำให้เกิดกระบวนการแก้ไขปรับปรุงประกาศฯ กำหนดมาตรฐานคุณภาพเสียงดังกล่าว โดยที่ประชุม กสทช. ได้มีมติเห็นชอบร่างประกาศ เรื่อง มาตรฐานคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทเสียงฉบับใหม่และแนวทางการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เพื่อนำไปรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนต่อไปแล้ว

สาระสำคัญของร่างประกาศฉบับใหม่นี้อยู่ที่การปรับแก้ในส่วนค่าชี้วัดคุณภาพบริการที่ได้บังคับใช้อยู่แล้วตามประกาศเดิม เช่น อัตราส่วนการเรียกสำเร็จ หรือ Successful Call Ratio ทั้งกรณีที่เป็น การโทร ศัพท์ภายในโครงข่ายของผู้ประกอบการเดียวกันและกรณีที่เป็น การโทร ข้ามโครงข่ายต่างผู้ประกอบการจะต้องมีอัตราส่วนการเรียกสำเร็จไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของจำนวนการเรียกทั้งหมด ซึ่งเป็นการแก้ไขจากประกาศเดิมที่กำหนดให้ การโทร ข้ามโครงข่ายต่างผู้ประกอบการนั้นต้องมีอัตราส่วนการเรียกสำเร็จไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 นอกจากนี้ยังเพิ่มช่วงเวลาในการตรวจวัดคุณภาพสัญญาณจากเดิมตรวจวัดช่วงเวลาเดียวคือ 20.00 – 21.00 น. เป็นช่วงระยะเวลา 10.00 – 13.00 น. และ 16.00 – 19.00 น. อีกด้วย

นอกจากนั้นยังมีการปรับค่าชี้วัดคุณภาพบริการในส่วนของอัตราข้อร้องเรียนที่เกี่ยวกับข้อผิดพลาดในการเรียกเก็บค่าบริการซึ่งต้องไม่เกินร้อยละ 0.3 จากเดิมที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 2 และระยะเวลาที่ต้องรอในการขอใช้บริการดูแลลูกค้าจากศูนย์ตอบรับโทรศัพท์ หรือ Call Center โดยกำหนดให้ผู้ใช้บริการต้องสามารถติดต่อได้ภายใน 1 นาทีนับตั้งแต่เริ่มตอบรับจนถึงผู้ใช้บริการได้เริ่มสนทนากับพนักงานผู้ให้บริการ ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาของผู้บริโภคที่ต้องใช้เวลาในการติดต่อ Call Center นานจนเกินไป

นอกจากนี้ร่างประกาศฉบับนี้ยังมีการเพิ่มค่าชี้วัดคุณภาพบริการอีก 5 ประการ ประการแรกคืออัตราส่วนของกรณีที่สายหลุดเมื่อโทรข้ามโครงข่าย (Off-Network) ประการที่สองคืออัตราส่วนร้อยละของจำนวนครั้งที่สถานีฐานไม่สามารถให้บริการได้ติดต่อกันเกิน 3 ชั่วโมงใน 1 เดือนของสถานีฐานทั้งหมด (Network Unavailability) ประการที่สามคืออัตราส่วนร้อยละของจำนวนครั้งที่สถานีฐานที่หยุดทำงานสะสมเกินกว่า 24 ชั่วโมงภายใน 1 เดือน (Worst Case BTS Outage in a Month) ประการที่สี่คืออัตราส่วนร้อยละของเวลารวมที่ทุกสถานีฐานไม่สามารถให้บริการได้ใน 1 เดือนของเวลาที่ต้องให้บริการทั้งหมด (Cumulative Outage Time in a Month) และประการที่ห้าคือคุณภาพของเสียง (Mean Opinion Score )

ทั้งนี้ร่างประกาศฉบับดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างกระบวนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ซึ่งอาจมีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดได้ แต่เชื่อแน่ว่าท้ายที่สุดแล้วร่างประกาศฯ ฉบับนี้จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลคุณภาพบริการโทรคมนาคมประเภทเสียงแก่ประชาชนผู้ใช้บริการให้ได้รับการบริการที่มีคุณภาพ ลดปัญหา การโทร ไม่ติด หรือสายหลุดให้น้อยที่สุด
Source : http://telecomjournalthailand.com/