"TURN EXPERIENCE TO VICTORY"

Litigation

Litigation

Posted by on May 16, 2013

James & Partners Law Offices provides and assists our clients into several courts in any types of case in Thailand including breach of contract case, joint venture dispute case, governmental Case, tax dispute case, insurance dispute case, debt enforcement, tort, international trade dispute, general criminal case, securitization case, fraud and embezzlement case, labor dispute case, bankruptcy and rehabilitation case, family dispute case, prosecution and defense of white collar crimes, DSI accusation. Experience – Thailand-lawyer/ Litigation (Government Contracts) The firm represented Pollution Control Department, Ministry of Natural Resources and Environment in a white collar crime case relating to public contracts in Thailand. This was the first time in history that Thai government retained a specialized private law firm to replace the Attorney General’s office as the representative of the authority. The firm acted as plaintiff’s attorney in taking legal action against nineteen defendants who were former politicians and powerful construction contractors. The amount claimed in the complaint was approximately Baht 30 Billion, representing the biggest cheating case ever filed with Thai court. In November 2005 the court made a ruling that the...

Read More

Company Registration

Company Registration

Posted by on May 16, 2013

James &Partners Law Offices provides wide ranges of corporate services for Thai and foreign clients such as Limited Company Registration,  company’s name reservation include select business entities, Memorandum  Registration, Joining as a Company Promoter, one day registration, company promoter, company director, power of director, 25 % paid-up, Drafting  Article of association, TAX &VAT registration  for company, requiring for any business license(FBC,FBL ), dissolution, M&A. furthermore, we also assisted our  client in drafting reviewing any types of agreements,  and draft relevant legal opinion for our client. Guideline for setting Limited Company in Thailand by James and Partners Law Offices Steps for limited company registration under the Laws of Thailand 1. Corporate Name Reservation The reserved name must not be repeatable or similar to name of other registered companies, which approved by the Commercial Registration Department at the Ministry of Commerce (“MOC”) before. After that, the approved corporate name must be registered within 30 days. Note: Company name reservation must be done via Department of Business Development (“DBD”) website only the process should not spend time more than 30 minutes 2. Memorandum Registration...

Read More

Visa & Work Permit

SPECIAL PACKAGES FOR FOREIGNERS ARRIVED THAILAND

Posted by on May 8, 2021

English Russian Chinese Japanese Korean English Russian Chinese Japanese...

Read More

BOI

BOI

BOI

Posted by on May 16, 2013

James & Partners Law Offices provides several legal practices in connection with investment field. We assist our client to obtain BOI’s promotion in every step including filing and revising BOI application and supporting documents, following up and dealing with BOI’s officers, advising eligible business types under BOI promotion for our clients.  We also advised on benefits and rights of clients under BOI such as collecting FBC under BOI, setting up company under BOI’s benefits and rights, filing applications for expats or workers of clients under BOI promotion and purchasing of real estate for client under BOI promotion. After obtaining BOI we assist our client to make annual report to BOI’s official.  Our office assist investors who want to invest in Thailand and other Asean countries toward the opening of AEC in 2105. Enhancing Competitiveness and Investment Facilitation • Offers an attractive and competitive package of tax incentives. • Imposes no foreign equity restrictions on manufacturing activities or on some service. • Provide assistance in the provision of visas and work permits to facilitate entry and        subsequent operation for...

Read More

Recent Posts

เตือนภัย!!ไวรัสเอสเอ็มเอส

เตือนภัย!!ไวรัสเอสเอ็มเอส

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

ในช่วงระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ในแวดวงผู้ใช้มือถือต้องเผชิญกับไวรัสมือถือที่ก่อกวนสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ใช้เป็นวงกว้าง ผู้ก่อกวนได้ส่งไวรัสประเภทนี้มากับข้อความเอสเอ็มเอสแล้วเข้าโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้ ซึ่งเรียกกันว่า “ไวรัสเอสเอ็มเอส” ไวรัสประเภทนี้ทำงานโดยการส่งข้อความเข้าเครื่องผู้รับให้ทราบถึงการจ้างจัดส่งเอกสารอันเป็นแผนการหลอกลวง และมีลิงค์เชื่อมโยงเช่นhttp://goo.gl/NPD8sd เพื่อให้กดเข้าไปดาวน์โหลดแอพลิเคชั่น โดยแอพไวรัสนี้จะสามารถเข้าถึงรายชื่อและเลขหมายในเครื่องของผู้ใช้ได้ เมื่อผู้ที่ได้รับเอสเอ็มเอสกดเข้าไปในลิงค์ที่ส่งมาก็จะติดไวรัสทันที นอกจากนั้นเจ้าไวรัสร้ายประเภทนี้ยังสามารถส่งข้อความต่อไปยังเครื่องผู้รับอื่นๆที่มีรายชื่ออยู่ในเครื่องนั้น โดยที่ผู้รับจะต้องเสียค่าบริการในการส่งเอสเอ็มเอสนั้นทั้งหมด และยังต้องนำโทรศัพท์มือถือไปล้างข้อมูลทิ้งทั้งหมดจึงจะสามารถนำกลับมาใช้งานได้ดังเดิม

ไวรัสเอสเอ็มเอสนี้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน ก่อนระบาดมายังประเทศมาเลเซียและเข้ามาสู่ประเทศไทย ซึ่งเป้าหมายของผู้ที่คิดไวรัสนี้ก็เพื่อให้ผู้เสียหายดาวน์โหลดแอพลิเคชั่นที่สร้างขึ้นมาเพื่อเอาเงินในบัญชีที่ถูกหักไปของเหยื่อโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง ไวรัสประเภทนี้จะระบาดอยู่ในเฉพาะกลุ่มผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือในระบบแอนดรอยด์เท่านั้นเนื่องจากระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์สามารถให้ผู้ใช้ดาวโหลดแอพลิเคชั่นจากภายนอก Play Store ได้ แต่ในระบบ ios ของไอโฟนนั้นผู้ใช้ไม่สามารถดาวน์โหลดแอพลิเคชั่นภายนอก App Store ได้

เรื่องเกี่ยวกับ ไวรัสเอสเอ็มเอส ประเภทนี้มีผู้เสียหายหลายราย แต่ที่กลายเป็นข่าวใหญ่โตทำให้ประชาชนผู้ใช้มือถือต้องหันมาระวังตัวกันมากขึ้นก็สืบเนื่องมาจาก พ.ต.อ.ธนวัตร วัฒนกุล ผู้กำกับสน.โชคชัยได้รับเอสเอ็มเอสจากเบอร์โทรศัพท์มือถือหมายเลขหนึ่ง แจ้งข้อความว่า “ผกก.ธนวัตร แจ้งให้ทราบการจัดส่งของคุณ” ส่งเข้ามาในโทรศัพท์ เมื่อเข้าลิงค์ดังกล่าวเพื่อไปดูว่ามีข้อมูลอะไรหรือไม่ แต่เปิดไม่ได้ จึงส่งต่อเอสเอ็มเอสเข้าไปยังโทรศัพท์แอนดรอยด์ของตนเองอีกเครื่องหนึ่งเพื่อเปิดดูข้อมูล แต่พอเปิดเข้าไปดูก็ไม่พบข้อมูลใดๆ และหลังจากนั้นไม่นานก็มีคนโทรมาสอบถามหลายสาย เกี่ยวกับข้อความที่ได้รับจากเบอร์มือถือของตนจำนวนหลายครั้ง จึงรีบไปที่ศูนย์บริการมือถือซึ่งเป็นต้นเครือข่ายเพื่อให้ระงับข้อความ ก่อนจะส่งเครื่องไปทำการล้างไวรัส

จากการสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นั้นพบว่ามีผู้ที่ได้รับความเสียหายจาก ไวรัสเอสเอ็มเอส ดังกล่าวจำนวนทั้งสิ้น 19,056 ราย โดยผู้เสียหายได้ดาวน์โหลดแอพลิเคชั่นนามสกุล .apk มาจากลิงค์ที่ส่งมาในข้อความเอสเอ็มเอสแล้วหลงเชื่อว่าเป็นเอสเอ็มเอสที่มาจากคนใกล้ชิดจึงได้กดลิงค์ดูอย่างง่ายดาย นี่จึงเป็นกลลวงสำคัญของมิจฉาชีพที่ใช้การเข้าถึงรายชื่อในสมุดโทรศัพท์ของผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้หลงเชื่อว่าข้อความนั้นส่งมาจากคนรู้จักของตนจริงๆ

ไวรัสชนิดนี้อยู่ในรูปแบบของมัลแวร์ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์โปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อทำลายระบบของโทรศัพท์ Smartphone จนอาจนำไปสู่การแฮคข้อมูลหรือไม่สามารถเข้าระบบต่างๆได้หรือแม้กระทั่งส่งอีเมล์หรือข้อความปลอมไปหาคนอื่นๆ มัลแวร์ประเภทไวรัสนี้สามารถเข้าสู่อุปกรณ์ Smartphone หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยหลายวิธีเช่นการดาวน์โหลดแอพลิเคชั่นหรือการเข้าเว็บไซต์ที่ติดไวรัส เป็นต้น

เพื่อจัดการ ไวรัสเอสเอ็มเอส ดังกล่าวและป้องกันไม่ให้มีผู้หลงเชื่อดาวน์โหลดแอพลิเคชั่นที่ติดไวรัสนั้นอีกต่อไป ทาง กสทช. จึงได้มีการหารือร่วมกับผู้ประกอบการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว โดยทางผู้ประกอบการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือนั้นได้ทำการปิดกั้นการดาวน์โหลดจากลิงค์ดังกล่าวรวมทั้งแนะนำวิธีการลบมัลแวร์ไวรัสที่ได้ติดตั้งไว้ในตัวเครื่อง และทางผู้ประกอบการรายหนึ่งได้ออกแอพลิเคชั่นเพื่อช่วยลบแอพลิเคชั่นที่ติดไวรัสได้ทันที โดยผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีในทุกเครือข่าย นอกจากนี้ค่ายมือถือทุกค่ายยังจะไม่จัดเก็บค่าบริการสำหรับผู้ที่โดนไวรัสนี้ส่งเอสเอ็มเอสต่อไปยังเครื่องอื่นอีกด้วย นอกจากนี้ทาง กสทช. ยังแนะนำให้ผู้ใช้งานหมั่นตรวจสอบค่าบริการ รวมทั้งไม่กดลิงค์ดาวน์โหลดจากแหล่งที่ไม่รู้จักหรือไม่ชัดเจน ไม่ติดตั้งแอพลิเคชั่นจากที่มาที่ไม่รู้จักเพื่อป้องกันการติดไวรัสดังกล่าว รวมไปถึงมัลแวร์ตัวอื่นที่เหล่ามิจฉาชีพคอยสร้างขึ้นมาเพื่อสร้างความเสียหายให้กับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือโดยอาศัยแอพลิเคชั่นปลอมเพื่อหลอกลวงผู้ใช้อีกด้วย

การที่กลุ่มมิจฉาชีพกระทำการดังกล่าวนั้นมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยการเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ อีกทั้งการทำให้ระบบมือถือของผู้อื่นเสียหายนั้นมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับอีกด้วย หากผู้อ่านท่านใดพบเห็นผู้ที่กระทำความผิดดังกล่าวสามารถแจ้งได้ที่สำนักงาน กสทช. หรือกระทรวงไอซีทีเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไปได้

Source : http://telecomjournalthailand.com/

 

กระจายข่าวออนไลน์ผิดหรือไม่

กระจายข่าวออนไลน์ผิดหรือไม่

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

ในสังคมยุคปัจจุบันเรามักจะติดตามข่าวสารความเป็นไปของโลกผ่านช่องทางออนไลน์หรืออินเตอร์เน็ตมากกว่าที่จะอ่านหนังสือพิมพ์หรือดูโทรทัศน์อย่างในสมัยก่อนอันเนื่องมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่มีมากขึ้น ผู้คนติดต่อกันผ่านอินเตอร์เน็ตและข่าวสารส่วนใหญ่ก็มักจะลงในอินเตอร์เน็ตด้วยเพื่อความรวดเร็วและการติดตามที่ทันเหตุการณ์ การแพร่กระจายของเนื้อหาข่าวที่รวดเร็วนี้ถึงแม้ว่า จะทำให้ผู้คนเสพข่าวและรู้ทันสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการเสพข่าวออนไลน์รวมถึงการกระจายข่าวผ่านทางอินเตอร์เน็ตย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย กล่าวคือความสะดวกหรือง่ายดายของการลงข่าวและแชร์ข่าวนั้นต่อไปส่งผลให้ผู้แชร์ไม่ได้ตรวจสอบที่มา แหล่งข่าวและความน่าเชื่อถือของข่าวอย่างละเอียด จนบางครั้งอาจสร้างความเสียหายให้ผู้ที่เป็นข่าวและผู้ที่เกี่ยวข้องได้

ในกระบวนการของการป้องกันและนำเสนอแนวคิดเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนรวมทั้งสื่อในการนำเสนอข่าวออนไลน์ที่ถูกต้องนั้น เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมาที่มหาวิทยาลัยศรีปทุมได้มีการจัดงานสัมมนาเชิงกลยุทธ์ ในหัวข้อ “เสพข่าวออนไลน์แบบผิดๆ ใครรับผิดชอบ” โดยนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ให้ความเห็นในเรื่องการนำเสนอและบริโภคข่าวออนไลน์ ว่าปัจจุบันการสื่อสารผ่านออนไลน์ช่วยทลายการปิดกั้นและข้อจำกัดของการสื่อสารจากอำนาจรัฐและ ทุนนอกจากนี้สถานภาพของการเป็นแหล่งข่าวมีความแตกต่างจากเดิมที่ในอดีตชาวบ้านทั่วไปต้องรอนักข่าวนำเสนอข่าวผ่านสื่อต่างๆ แต่ทุกวันนี้สามารถให้ข้อมูลความเห็นผ่านพื้นที่ออนไลน์ของตนได้ การนำเสนอมีความสะดวกและรวดเร็วขึ้น หลายครั้งสามารถนำเสนอจากจุดเกิดเหตุ ณ วินาทีเกิดเหตุได้ทันที แต่บางครั้งก็ล้ำเส้นเรื่องสิทธิเสรีภาพ เกิดการละเมิด สร้างความเสียหายในวงกว้าง อีกทั้งการฉับไวในการรายงานข่าว ทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย หากไม่มีการตรวจสอบข่าว จึงจะเห็นได้ว่าการเสพข่าวออนไลน์อาจมีข้อเสียได้หากเราไม่ระมัดระวังและรอบคอบ

ปัญหาการถูกละเมิดความเป็นส่วนตัวหรือแม้กระทั่งข้อมูลสำคัญนั้นเกิดขึ้นได้ง่ายมากในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกลเช่นนี้ การที่อินเตอร์เน็ตมีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันของคนเราส่งผลให้ปัญหาเกี่ยวกับการละเมิดความเป็นส่วนตัวมีลักษณะหลากหลายแตกต่างกันออกไป เช่นการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อโจมตีบุคคลที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน หรือเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวเพื่อกลั่นแกล้งกัน หรือแม้กระทั่งการที่สื่อนำเสนอข่าวโดยเปิดเผยชื่อและใบหน้าของผู้เสียหาย เป็นต้น โดยเฉพาะเมื่อข่าวเหล่านั้นถูกแชร์กันต่อไปในโลกออนไลน์ก็ย่อมจะเป็นการยากที่จะแก้ไขความเสียหายได้ทัน ปัญหาจากการจัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลออนไลน์จึงมีผลกระทบต่อผู้ใช้งานให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นในแง่ของสื่อมวลชนจึงต้องให้ความสำคัญกับการรักษาความเป็นส่วนตัวของบุคคลในข่าว ระมัดระวังการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเนื้อหาข่าวหรือไม่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ โดยมีการควบคุมโดยหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องที่จะช่วยเฝ้าระวังและให้ความเข้มงวดในการตรวจสอบให้มากขึ้น อีกทั้งควรจะมีการออกกฎหมาย และกระบวนการที่เหมาะสมในการจัดการปัญหาดังกล่าว ส่วนในด้านผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตซึ่งอาจเป็นผู้ที่รับผลกระทบนั้นควรสอบถามและตรวจสอบมาตรการรักษาความปลอดภัยข้อมูลของตนเองในบริการออนไลน์ที่ใช้ว่ามีการคุ้มครองที่มากพอหรือไม่ รวมทั้งแจ้งต่อผู้ให้บริการทราบถึงความกังวลต่อความเป็นส่วนตัวในการใช้บริการเหล่านั้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการดูแลระบบที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรทำความเข้าใจการทำงานของบริการออนไลน์ที่ใช้ว่าจัดเก็บและมีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไร สิ่งที่ควรตระหนักก็คือเมื่อใดก็ตามที่ข้อมูลอยู่ในอินเทอร์เน็ตแล้ว การลบทิ้งโดยสมบูรณ์แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ขณะเดียวกันผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องตระหนักว่าข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นชื่อ ที่อยู่ ภาพถ่าย ฯลฯ เป็นของเจ้าของข้อมูลนั้น การเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวซึ่งอาจได้รับโทษตามกฎหมาย

ในเรื่องโทษและการควบคุมทางกฎหมายนั้นประเทศไทยยังไม่มี กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นการเฉพาะ เมื่อเกิดเหตุขึ้นจึงต้องพิจารณาข้อมูลว่าเป็นประเภทใด มีกฎหมายใดที่เกี่ยวข้อง เช่น หากเป็นข้อมูลที่อยู่ในความดูแลของรัฐ สามารถใช้ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 หากเป็นการลงข้อความเท็จ หมิ่นประมาทหรือตัดต่อภาพลงอินเตอร์เน็ต สามารถใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เป็นต้น ในอดีตที่ผ่านมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 32, 33, 35, 36 ก็ได้รับรองสิทธิในความเป็นส่วนตัวในหลายด้าน แม้จะพิจารณากฎหมายที่มีบทบาทในเรื่องการลงโทษผู้กระทำความผิดและคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลดังกล่าวแล้ว แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ชัดเจนเหมือนดังเช่นประเทศสิงคโปร์ที่ได้ออก กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ The Personal Data Protection Act (PDPA) ซึ่งได้ออกมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 แต่เพิ่งจะมีผลใช้บังคับโดยสมบูรณ์ทั้งฉบับเมื่อไม่นานมานี้โดยกฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ในการกำกับดูแลการเก็บรวบรวม การใช้ และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยแต่ละองค์กรจะต้องจัดให้มีระบบรักษาข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเพื่อไม่ให้มีการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยไม่ได้รับอนุญาต และจะต้องไม่เก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลไว้เมื่อไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจหรือทางกฎหมายอีกต่อไป นอกจากนี้องค์กรจะต้องมีบุคคลอย่างน้อยหนึ่งคนทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล (data protection officer) เพื่อดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และสำหรับตัวบุคคลนั้นยังมีสิทธิเข้าถึงและแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้มีการเก็บรวบรวมไปอีกด้วย ซึ่งในอนาคตประเทศไทยน่าที่จะมีร่างกฎหมายดังกล่าวออกมาบังคับใช้ด้วยเหมือนเช่นประเทศสิงคโปร์

แต่อย่างไรก็ตามในมุมมองของสื่อมวลชนนั้นอาจจะมีความเห็นที่ต่างออกไป กล่าวคือเห็นว่าการใช้กฎหมายก็ไม่ควรจะปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการสื่อสารมากจนเกินไปถึงขนาดตัดโอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งกฎหมายบางฉบับอาจจะตีความเนื้อหาครอบคลุมเกินไปจนทำให้ ผู้ลงข้อความ สื่อมวลชนรวมถึงสำนักพิมพ์มีโอกาสสูงที่จะถูกดำเนินคดีได้ตลอดเวลาทั้งๆที่ไม่ได้กระทำความผิด ดังนั้นการร่วมพูดคุยสร้างความเข้าใจรวมถึงปรับปรุงกฎหมายให้เกิดความพอดีหรือความสมดุล และเป็นธรรมกับทั้งฝ่ายสื่อมวลชน ฝ่ายผู้เสพข่าว และที่สำคัญคือฝ่ายผู้ที่เป็นเจ้าของเรื่อง เจ้าของข้อมูล หรือบุคคลในข่าวด้วยว่าถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

Source : http://telecomjournalthailand.com/