"TURN EXPERIENCE TO VICTORY"

Litigation

Litigation

Posted by on May 16, 2013

James & Partners Law Offices provides and assists our clients into several courts in any types of case in Thailand including breach of contract case, joint venture dispute case, governmental Case, tax dispute case, insurance dispute case, debt enforcement, tort, international trade dispute, general criminal case, securitization case, fraud and embezzlement case, labor dispute case, bankruptcy and rehabilitation case, family dispute case, prosecution and defense of white collar crimes, DSI accusation. Experience – Thailand-lawyer/ Litigation (Government Contracts) The firm represented Pollution Control Department, Ministry of Natural Resources and Environment in a white collar crime case relating to public contracts in Thailand. This was the first time in history that Thai government retained a specialized private law firm to replace the Attorney General’s office as the representative of the authority. The firm acted as plaintiff’s attorney in taking legal action against nineteen defendants who were former politicians and powerful construction contractors. The amount claimed in the complaint was approximately Baht 30 Billion, representing the biggest cheating case ever filed with Thai court. In November 2005 the court made a ruling that the...

Read More

Company Registration

Company Registration

Posted by on May 16, 2013

James &Partners Law Offices provides wide ranges of corporate services for Thai and foreign clients such as Limited Company Registration,  company’s name reservation include select business entities, Memorandum  Registration, Joining as a Company Promoter, one day registration, company promoter, company director, power of director, 25 % paid-up, Drafting  Article of association, TAX &VAT registration  for company, requiring for any business license(FBC,FBL ), dissolution, M&A. furthermore, we also assisted our  client in drafting reviewing any types of agreements,  and draft relevant legal opinion for our client. Guideline for setting Limited Company in Thailand by James and Partners Law Offices Steps for limited company registration under the Laws of Thailand 1. Corporate Name Reservation The reserved name must not be repeatable or similar to name of other registered companies, which approved by the Commercial Registration Department at the Ministry of Commerce (“MOC”) before. After that, the approved corporate name must be registered within 30 days. Note: Company name reservation must be done via Department of Business Development (“DBD”) website only the process should not spend time more than 30 minutes 2. Memorandum Registration...

Read More

Visa & Work Permit

SPECIAL PACKAGES FOR FOREIGNERS ARRIVED THAILAND

Posted by on May 8, 2021

English Russian Chinese Japanese Korean English Russian Chinese Japanese...

Read More

BOI

BOI

BOI

Posted by on May 16, 2013

James & Partners Law Offices provides several legal practices in connection with investment field. We assist our client to obtain BOI’s promotion in every step including filing and revising BOI application and supporting documents, following up and dealing with BOI’s officers, advising eligible business types under BOI promotion for our clients.  We also advised on benefits and rights of clients under BOI such as collecting FBC under BOI, setting up company under BOI’s benefits and rights, filing applications for expats or workers of clients under BOI promotion and purchasing of real estate for client under BOI promotion. After obtaining BOI we assist our client to make annual report to BOI’s official.  Our office assist investors who want to invest in Thailand and other Asean countries toward the opening of AEC in 2105. Enhancing Competitiveness and Investment Facilitation • Offers an attractive and competitive package of tax incentives. • Imposes no foreign equity restrictions on manufacturing activities or on some service. • Provide assistance in the provision of visas and work permits to facilitate entry and        subsequent operation for...

Read More

Recent Posts

กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy Law)

กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy Law)

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

ผู้อ่านหลายท่านในที่นี้อาจเคยประสบปัญหาการถูกรุกล้ำความเป็นส่วนตัวทางข้อมูลไม่ว่าจะเป็น การได้รับอีเมล์ส่งข้อความสแปม (Spam) เข้ามาในกล่องข้อความของเราโดยที่เราไม่ได้รู้จักผู้ส่งมาก่อนซึ่งอาจเป็นเพราะมีการซื้อขายอีเมล์แอดเดรสของเราเพื่อเป็นเป้าหมายของการโฆษณา บางครั้งก็มาจากต่างประเทศ หรือการที่มีข้อความที่เชิญชวนหรือโฆษณาเข้ามาในโทรศัพท์ของเรา รวมไปถึงการได้รับจดหมายโฆษณาสินค้าหรือจดหมายเสนอให้สมัครเป็นสมาชิกจากบริษัทที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนส่งไปตามที่อยู่อาศัย หรือบางครั้งถึงขนาดโทรเข้ามือถือของคุณเลยก็มี โดยเฉพาะในยุคนี้ที่เทคโนโลยีก้าวไกลไปมาก การกระทำที่มีลักษณะก้าวล่วงความเป็นส่วนตัวของเราก็สามารถทำได้ง่ายดายมากขึ้น จากการที่เราได้รับจดหมายหรือโทรศัพท์หรือข้อความอิเล็กทรอนิกส์จากทั้งบริษัทและคนแปลกหน้าในลักษณะต่างๆ แบบนี้ หลายคนจึงอาจสงสัยว่าบริษัทเหล่านี้มีข้อมูลส่วนตัวของเราได้อย่างไร

เรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้เป็นประเด็นที่หลายประเทศในโลกได้ให้ความสำคัญมากเนื่องจากหากมีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลอื่นไปใช้หรือไปเปิดเผยโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลทั้งในเรื่องความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัยของตนเองและของส่วนรวม ชื่อเสียง เกียรติยศ และรบกวนความเป็นอยู่ส่วนตัว อย่างไรก็ตามประเด็นเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับสังคมไทยในปัจจุบันดูเหมือนยังเป็นเรื่องใหม่เป็นและเรื่องที่เพิ่งจะมีการตื่นตัวกัน แต่เมื่อได้ศึกษาข้อเท็จจริงจะพบว่าประเทศไทยได้เคยมีกฎหมายที่มีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมาแล้วหลายฉบับ ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 35 ที่บัญญัติว่า“สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมได้รับความคุ้มครอง การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชนอันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวจะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์สาธารณะบุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ซึ่งการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงเจตนาที่จะปกป้องคุ้มครองความเป็นส่วนตัวรวมทั้งข้อมูลส่วนตัว (Data Privacy) ของแต่ละบุคคล แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากความคุ้มครองที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนั้นเป็นความคุ้มครองแบบกว้างๆไม่เฉพาะเจาะจง จึงทำให้การบังคับใช้เพื่อลงโทษผู้กระทำผิดอย่างจริงจังนั้นยังทำได้ยาก นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวเฉพาะเรื่องอยู่เช่นกันแต่เป็นกฎหมายที่ไม่ได้บังคับใช้อย่างครอบคลุมสำหรับทุกเรื่อง เช่น พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการพ.ศ.2540 ที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานรัฐของประเทศไทยเท่านั้นหรือการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กับหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 เป็นต้น อย่างไรก็ตามก็ยังไม่มีกฎหมายฉบับใดที่บัญญัติขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวที่อยู่ในความครอบครองของเอกชนหรือใช้โดยเอกชนโดยเฉพาะ

หากเราพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนี้ในระดับต่างประเทศแล้วเราจะพบว่า นานาประเทศได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนตัว (Data Protection) เป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นข้อมูลในรูปแบบใด โดยเฉพาะข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดปัญหาการถูกละเมิดมากที่สุดอันเนื่องมาจากพัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ก้าวหน้าและความล้ำสมัยของระบบคอมพิวเตอร์ที่มีคุณประโยชน์มหาศาลแต่ก็แฝงอันตรายหากถูกนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสม เช่น ความสามารถในการบันทึกข้อมูล การสํารองข้อมูล การประมวลผลข้อมูล รวมไปถึงการถ่ายโอนข้อมูล โดยทั่วไปแล้วผู้ประกอบธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่จะสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าและเฝ้าติดตามพฤติกรรมในการใช้บริการของลูกค้าได้ ซึ่งจัดเป็นการดําเนินการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าโดยลูกค้าหรือผู้ใช้บริการอาจไม่ทราบหรืออาจไม่ได้ให้ความยินยอมแก่การกระทําดังกล่าว ดังนั้น The Organization for Economic Cooperation and Development หรือ OECD ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศที่ให้ความสําคัญกับปัญหาดังกล่าว จึงได้กําหนดแนวทางหรือกฎเกณฑ์ขั้นพื้นฐาน (Guidelines) ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้นานาประเทศได้มีแนวทางในการบัญญัติกฎหมายของตนเอง โดยได้ออก Guidelines Governing the Protection of Privacy and Tranborder Data Flows of Personal Data ขึ้นในปี ค.ศ. 1980 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อวางหลักการสําคัญว่าข้อมูลส่วนบุคคลต้องได้รับการคุ้มครองที่เหมาะสมในทุกขั้นตอน นอกจากนี้แล้วประเทศสหรัฐอเมริกายังเป็นประเทศแรกที่ริเริ่มการตรากฎหมาย Privacy Act ที่คุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวในเอกสาร และเมื่อไม่นานมานี้ประเทศสิงคโปร์ได้ออกกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลชื่อ “The Personal Data Protection Act” (PDPA) โดยองค์กรในสิงคโปร์ซึ่งมีระบบเกี่ยวกับการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายอยู่แล้วจะต้องแจ้งเจ้าของข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล และที่สำคัญที่สุดการเปิดเผยข้อมูลจะต้องได้รับความยินยอมของแต่ละบุคคลด้วย ที่น่าสนใจก็คือกฎหมายฉบับนี้ยังกำหนดให้มีทะเบียนห้ามโทรแห่งชาติ (Do Not Call Registry) ซึ่งบุคคลสามารถไปลงทะเบียนเลขหมายโทรศัพท์สิงคโปร์ของตนเพื่อประกาศตนว่าไม่ขอรับการติดต่อทางการตลาดใดๆ ไม่ว่าจะด้วยการโทรศัพท์ หรือส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือจากองค์กรต่างๆ ซึ่งหากเลขหมายโทรศัพท์ใดมีการลงทะเบียนใน DNC Registry แล้ว องค์กรต่างๆจะโทร ส่งข้อความสั้น หรือแฟกซ์ไปยังเลขหมายนั้นไม่ได้ นับว่าเป็นมาตรการที่ออกมาเพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของข้อมูลในภาคเอกชนอย่างแท้จริง

ส่วนประเทศไทยนั้นแม้จะยังไม่มีกฎหมายที่ออกมาเพื่อเป็นมาตรการในเรื่อง Data Privacy อย่างประเทศสิงคโปร์อย่างจริงจัง แต่เมื่อเร็วๆ นี้ก็ได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจะมีเนื้อหาสาระสำคัญคือในหลักการทั่วไปเกี่ยวกับการรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะกระทำการรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนั้นไม่ยินยอม เว้นแต่มีบทบัญญัติให้กระทำได้ นอกจากนั้นจะสามารถเก็บรักษาข้อมูลไว้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนดโดยจะมีองค์กรเข้ามาทำหน้าที่สอดส่องดูแลในเรื่องนี้อย่างเคร่งครัด ผู้ที่ฝ่าฝืนจะได้รับโทษซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ทั้งส่วนที่เป็นโทษปรับทางปกครองและส่วนที่เป็นโทษอาญาซึ่งหากกฎหมายฉบับนี้ผ่านการพิจารณาและมีผลบังคับใช้แล้วก็อาจจะช่วยคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลและคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลได้มากขึ้นโดยไม่แพ้ประเทศอื่นๆ เลยทีเดียว

Bangkok Lawyers, Thailand Lawyers, Bangkok Law Firm, Thailand Law Firm, Attorneys Bangkok, Attorneys Thailand, Legal Thailand, Legal Bangkok, Legal Services

Source : http://telecomjournalthailand.com/

บูรณาการศูนย์ข้อมูล

บูรณาการศูนย์ข้อมูล

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

เราปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตของเราอย่างมาก ข้อมูลก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เทคโนโลยีสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการได้ โดยในการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่นั้นก็ใช้ศูนย์ข้อมูล (Data Center) เข้ามาเป็นตัวจัดการ ซึ่งศูนย์ข้อมูลนี้ก็คือพื้นที่ที่ใช้จัดวางระบบประมวลผลกลางและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร โดยที่ผู้ใช้งานสามารถที่จะเชื่อมต่อระบบเครือข่ายจากภายนอกได้ ศูนย์ข้อมูลจะถูกออกแบบให้มีเสถียรภาพ ปลอดภัย พร้อมใช้งานและรองรับการขยายผลได้

ในประเทศไทยนั้นได้มีการนำศูนย์ข้อมูลนี้มาใช้ประโยชน์ โดยจะมีการจัดทำศูนย์ข้อมูลแห่งชาติ ประเทศไทยได้มีแนวทางที่จะ บูรณาการศูนย์ข้อมูล เพื่อให้หน่วยงานของรัฐได้ใช้บริการ โดยรัฐบาลได้มอบหมายให้สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA ในการดำเนินการโดยให้หน่วยงานต่างๆของรัฐมาใช้ศูนย์ข้อมูลร่วมกัน และจัดให้มีการประมูลโดยภาคเอกชนที่จะเข้ามาจัดสร้างในส่วนของศูนย์ข้อมูลดังกล่าวโดยมีมูลค่าในการลงทุนสูงถึง 3-4 หมื่นล้านบาท และเมื่อประเทศไทยมีศูนย์ข้อมูลแห่งชาติก็จะนำไปสู่การมีเกทเวย์แห่งชาติด้วย โดยเกทเวย์ (Gateway) ก็คืออุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงในการที่จะเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถเชื่อมต่อ LAN หลายๆ เครือข่าย และสามารถสื่อสารกับส่งต่อข้อมูลหากันได้โดยไม่มีขีดจำกัด โดยในประเทศไทยนั้นควรจะมีเกทเวย์อย่างน้อย 10 จุด เพื่อรองรับการขยายตัวทางอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต และการมีเกทเวย์แห่งชาติยังจะส่งผลให้การส่งข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว และยังส่งผลถึงเรื่องความรวดเร็วในการใช้อินเตอร์เน็ทอีกด้วย

ในเรื่องของ การบูรณาการศูนย์ข้อมูล แห่งชาตินั้น จะเห็นได้ว่าเป็นการดำเนินการโดยความร่วมมือของทั้งฝ่ายภาครัฐบาลและภาคเอกชน โดยจะมีหน่วยงานกลางก็คือกระทรวง ICT หรือกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่กำลังจะถูกยุบลงแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและจะรับโอนถ่ายอำนาจหน้าที่จากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมา กระทรวงใหม่นี้จะเข้ามาดูแลรับผิดชอบในส่วนของมาตรฐานการให้บริการ มาตรฐานความปลอดภัย มาตรฐานการเชื่อมต่อข้อมูล เพื่อที่จะรักษามาตรฐานของค่าใช้จ่ายและคุณภาพของศูนย์ข้อมูลที่หน่วยรัฐใช้ โดยศูนย์ข้อมูลทุกศูนย์จะต้องสามารถเชื่อมต่อหากันได้ด้วย ระบบดังกล่าวก็จะทำให้ข้อมูลตรงกันไม่เกิดความผิดพลาดขึ้น โดยการ บูรณาการศูนย์ข้อมูล นี้ฝ่ายรัฐจะต้องเป็นตัวนำร่อง โดยฝ่ายรัฐสามารถสั่งการให้หน่วยงานต่างๆ บูรณาการข้อมูล ซึ่งย่อมนำไปสู่การที่เอกชนนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งการ บูรณาการศูนย์ข้อมูล นี้ยังนำไปสู่การรวมตัวกันครั้งใหญ่ของข้อมูลของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งจะส่งผลให้ลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน เพราะหากทุกหน่วยงานต้องการสร้างศูนย์ข้อมูลของตัวเองทั้งหมด ย่อมต้องใช้งบประมาณมากมายในการลงทุน และทำให้รัฐต้องสิ้นเปลืองงบประมาณมหาศาล ดังนั้นการสร้างศูนย์ข้อมูลแห่งชาติจึงเป็นทางออกที่ดีของการแก้ปัญหานี้

การบูรณาการศูนย์ข้อมูล ยังนำไปสู่การที่ภาครัฐจะเข้าสู่การเป็น Digital Government โดยนายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศและการสื่อสาร ได้กล่าวถึงกรณีนี้ไว้ว่าจะเป็นการยกระกับภาครัฐในหลายส่วน ได้แก่

ประการแรก การบูรณาการศูนย์ข้อมูล ภาครัฐ กล่าวคือเมื่อมีการบูรณาการจัดการศูนย์ข้อมูลภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ย่อมนำไปสู่การใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงเป็นการลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน

ประการที่สอง การบูรณาการข้อมูลบริหารสำหรับศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี โดยจะเป็นการบูรณาการระบบการรายงานที่ใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศ รวมถึงใช้ในการติดตามงานและเหตุการณ์เร่งด่วนต่างๆ และวิธีแก้ปัญหา

ประการสุดท้าย การบูรณาการการให้บริการประชาชน เช่นตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ซึ่งมุ่งแนวทางลดการใช้สำเนาเอกสารราชการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน โดยการบูรณาการนั้นระบบบริการของราชการให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องระหว่างหน่วยงานราชการมีเป้าหมายนำร่อง 7 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพลังงาน และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เชื่อมโยงเข้ากับระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพื่อลดการขอสำเนาเอกสารราชการจากผู้ขอรับบริการ รวมถึงการนำร่องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบางบริการของรัฐได้ด้วยตนเองผ่านตู้บริการเอนกประสงค์ของรัฐ

ทั้งสามประการข้างต้นนี้ก็เป็นการผลักดันการพัฒนาของ Digital government ภายใต้นโยบาย Digital Economy หรือเศรษฐกิจดิจิตอลอย่างเป็นรูปธรรม จึงจะเห็นได้ว่า การบูรณาการศูนย์ข้อมูล ที่จะทำให้เกิดข้อมูลมหาศาลนี้ย่อมนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตอลด้วย การใช้ศูนย์ข้อมูลแห่งชาติของรัฐนั้นยังเป็นแรงจูงใจกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของเอกชนอีกอย่างหนึ่งด้วย

ในส่วนของต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วได้มีการนำเอาศูนย์ข้อมูลหรือ Data center มาใช้อย่างแพร่หลาย เช่นในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา และอังกฤษ โดยประเทศเหล่านี้ได้ทำการลดศูนย์ข้อมูลในประเทศลง จากปริมาณศูนย์มากๆ เหลือเพียงไม่กี่ศูนย์ ซึ่งทำให้ประเทศเหล่านี้สามารถลดงบประมาณได้จำนวนมหาศาลต่อปี รวมถึงลดการใช้พลังงานและทรัพยากรในประเทศอีกด้วย

ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการนำเอาศูนย์ข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในหลายทาง เช่นในทางด้านธุรกรรม โดยในประเทศสหรัฐอเมริกามีบริษัท Duns and Bradsteeet ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการในเรื่องของรายงานข้อมูลของบัตรเครดิตของผู้ถือ โดยอาศัยศูนย์ข้อมูลในการส่งถ่ายรายงานข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงินของผู้ถือบัตรได้อย่างสะดวกฉับไว

การบูรณาการศูนย์ข้อมูลนั้นยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในหลายๆประการ เช่น กรณีของการบูรณาการศูนย์ข้อมูลย่อมนำไปสู่การพัฒนาในด้านของอินเตอร์เน็ท ซึ่งทำให้ภาคประชาชนสามารถเข้าถึงการใช้อินเตอร์เน็ทได้ง่านขึ้น และมีค่าใช้จ่ายที่น้อยลง รวมไปถึงกรณีประโยชน์จากโครงการ Smart Service ก็จะเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายต่อภาครัฐและภาคประชาชนอย่างมาก เพราะจะมีการรวบรวมข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลเดียว กล่าวคือมีการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลราษฎร์และใช้ประโยชน์จากเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักในการที่จะเรียกข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับบุคคลนั้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารมากมายในการทำธุรกรรมกับทางภาครัฐ แล้วข้อมูลต่างๆ ก็จะถูกบันทึกลงแบบฟอร์มอัตโนมัติ จึงทำให้เป็นการลดการใช้ทรัพยากรรวมทั้งประหยัดเวลาอีกด้วย หรือจะเป็นการบริการผ่านจุดบริการตามศูนย์การค้าหรือผ่านทางแอพพลิเคชั่นทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น เพราะมีการส่งข้อมูลต่างๆอย่างทั่วถึง และสามารถทำธุรกรรมได้โดยทันที

นอกจากนี้ข้อมูลจากหน่วยงานรัฐบางหน่วยก็มีความเกี่ยวเนื่องกันหรือทับซ้อนกัน เช่น กรมการปกครอง กรมการต่างประเทศ กรมสรรพากร และสำนักงานประกันสังคม ล้วนมีข้อมูลที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน กล่าวคือเป็นข้อมูลเกี่ยวกับราษฎรนั่นเอง ซึ่งหากมีการใช้ศูนย์ข้อมูลแห่งชาติและมีการรวบรวมข้อมูลไว้ที่เดียวกันแล้ว ย่อมทำให้สะดวกสบายต่อการเรียกข้อมูลไปใช้ได้ด้วย

จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าการบูรณาการศูนย์ข้อมูลที่ได้ก่อให้มีศูนย์ข้อมูลแห่งชาตินั้นส่งผลอย่างมากต่อการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศไทย ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ด้านทางบริหารประเทศ ด้านเทคโนโลยี และอีกหลายๆ ด้าน ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนด้วย โดยเฉพาะในด้านกฎหมายซึ่งจะเป็นสิ่งที่ปูแนวทางในการขับเคลื่อนของการบูรณาการดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

Source : http://telecomjournalthailand.com/