"TURN EXPERIENCE TO VICTORY"

อำนาจเรียกคืนคลื่นความถี่

อำนาจเรียกคืนคลื่นความถี่

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

หลักการคืนคลื่นความถี่นั้นคือการที่คลื่นความถี่มีจำกัดมากในขณะที่บางรายถือครองคลื่นแล้วไม่ได้ใช้จึงต้องมีการนำมาใช้ใหม่กันเยอะขึ้นอย่างทั่วถึง การ Re-farming หรือจัดสรรใหม่เป็นวิธีหนึ่งที่หน่วยงานกำกับดูแลหรือ Regulator ในหลายประเทศใช้ในการบริหารคลื่นความถี่ของชาติ ตัวอย่างกรณีที่ชัดที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในต่างประเทศคือ สหรัฐอเมริกาได้ทำเรียกคืนคลื่น 500 MHz สำหรับ Wireless Broadband หรือกรณีของภาคเอกชนคือบริษัท Sprint ซึ่งถือครองคลื่นช่วงกว้าง 35MHz สำหรับ Broadcast Auxiliary Service (BAS) หรือการส่งคลื่นกันเองระหว่างสถานีวิทยุ/ทีวี ซึ่งทาง Sprint ได้มีแผนยกเลิก BAS ตั้งแต่ปี 2005 โดยใช้วิธีการส่งข้อมูลแบบอื่น เพื่อยอมให้เอาคลื่น 35 MHz ไปทำ Wireless Broadband เป็นต้น

ในอดีตสำหรับประเทศไทยนั้น คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ โดยการพิจารณาจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่นั้นนอกจากจะประเมินสถานะ(สถานะการใช้คลื่นความถี่ทั้งหมดที่ได้จัดสรรหรืออนุญาตให้แก่ผู้รับใบอนุญาต ให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการสื่อสารโทรคมนาคมทุกราย) แล้วยังต้องมีการประเมินสถานการณ์ (แนวโน้มและสถานภาพทั่วไปของการใช้คลื่นความถี่ในมิติต่างๆ) เพื่อพิจารณาในการทำ Refarming โดยใช้หลักเกณฑ์คือ (1) สถานการณ์ใช้คลื่นความถี่ของผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่นหรือไม่เป็นการดำเนินการในลักษณะที่มีการกระจายการใช้ประโยชน์โดยทั่วถึงในกิจการด้านต่างๆ (2) เป็นกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ใช้คลื่นความถี่อย่างไม่มีประสิทธิภาพหรือไม่ประหยัดคุ้มค่าเท่าที่ควร (3) เป็นกรณีที่การได้รับการจัดสรรหรืออนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ก่อให้เกิดการผูกขาด หรือลดหรือจำกัดการแข่งขัน หรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในการให้บริการโทรคมนาคมหรือเป็นการกีดกันทางการค้าในกิจการโทรคมนาคม (4) ต้องการดำเนินการกำหนดและจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่เพื่อตอบสนองต่อนโยบายในเชิงกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปแล้วการประเมินสถานะและการประเมินสถานการณ์การใช้ค