"TURN EXPERIENCE TO VICTORY"

Litigation

Litigation

Posted by on May 16, 2013

James & Partners Law Offices provides and assists our clients into several courts in any types of case in Thailand including breach of contract case, joint venture dispute case, governmental Case, tax dispute case, insurance dispute case, debt enforcement, tort, international trade dispute, general criminal case, securitization case, fraud and embezzlement case, labor dispute case, bankruptcy and rehabilitation case, family dispute case, prosecution and defense of white collar crimes, DSI accusation. Experience – Thailand-lawyer/ Litigation (Government Contracts) The firm represented Pollution Control Department, Ministry of Natural Resources and Environment in a white collar crime case relating to public contracts in Thailand. This was the first time in history that Thai government retained a specialized private law firm to replace the Attorney General’s office as the representative of the authority. The firm acted as plaintiff’s attorney in taking legal action against nineteen defendants who were former politicians and powerful construction contractors. The amount claimed in the complaint was approximately Baht 30 Billion, representing the biggest cheating case ever filed with Thai court. In November 2005 the court made a ruling that the...

Read More

Company Registration

Company Registration

Posted by on May 16, 2013

James &Partners Law Offices provides wide ranges of corporate services for Thai and foreign clients such as Limited Company Registration,  company’s name reservation include select business entities, Memorandum  Registration, Joining as a Company Promoter, one day registration, company promoter, company director, power of director, 25 % paid-up, Drafting  Article of association, TAX &VAT registration  for company, requiring for any business license(FBC,FBL ), dissolution, M&A. furthermore, we also assisted our  client in drafting reviewing any types of agreements,  and draft relevant legal opinion for our client. Guideline for setting Limited Company in Thailand by James and Partners Law Offices Steps for limited company registration under the Laws of Thailand 1. Corporate Name Reservation The reserved name must not be repeatable or similar to name of other registered companies, which approved by the Commercial Registration Department at the Ministry of Commerce (“MOC”) before. After that, the approved corporate name must be registered within 30 days. Note: Company name reservation must be done via Department of Business Development (“DBD”) website only the process should not spend time more than 30 minutes 2. Memorandum Registration...

Read More

Visa & Work Permit

SPECIAL PACKAGES FOR FOREIGNERS ARRIVED THAILAND

Posted by on May 8, 2021

English Russian Chinese Japanese Korean English Russian Chinese Japanese...

Read More

BOI

BOI

BOI

Posted by on May 16, 2013

James & Partners Law Offices provides several legal practices in connection with investment field. We assist our client to obtain BOI’s promotion in every step including filing and revising BOI application and supporting documents, following up and dealing with BOI’s officers, advising eligible business types under BOI promotion for our clients.  We also advised on benefits and rights of clients under BOI such as collecting FBC under BOI, setting up company under BOI’s benefits and rights, filing applications for expats or workers of clients under BOI promotion and purchasing of real estate for client under BOI promotion. After obtaining BOI we assist our client to make annual report to BOI’s official.  Our office assist investors who want to invest in Thailand and other Asean countries toward the opening of AEC in 2105. Enhancing Competitiveness and Investment Facilitation • Offers an attractive and competitive package of tax incentives. • Imposes no foreign equity restrictions on manufacturing activities or on some service. • Provide assistance in the provision of visas and work permits to facilitate entry and        subsequent operation for...

Read More

Recent Posts

ร่างกลุ่มกฎหมายดิจิทัล (ตอนจบ)

ร่างกลุ่มกฎหมายดิจิทัล (ตอนจบ)

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

ต่อเนื่องจากประเด็นด้านการแก้กฎหมายกลุ่มเศรษฐกิจดิจิทัลในฉบับก่อนหน้านี้ ในฉบับนี้จะเป็นตอนจบที่เราจะได้นำเสนอเกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวกับการแก้ไขร่าง “พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม” ซึ่งมีหลายประเด็นที่น่าสนใจและเป็นข่าวมากโดยเฉพาะเรื่องการประมูลคลื่นความถี่ที่หลายๆ คนเฝ้าจับตามอง

จากข้อสังเกตของบางฝ่ายที่ได้เคยมีมาในอดีตว่าการแยกบอร์ดใหญ่ออกเป็นสองบอร์ดย่อยของ กสทช. ตามพระราชบัญญัติปี พ.ศ.2553 นั้นเป็นเหตุให้ไม่ค่อยมีการประสานงานกัน ในร่าง พรบ. ฉบับใหม่นี้จึงจะมีการแก้ไขให้รวมกันทำงานเป็นบอร์ดเดียวโดยหวังว่าจะทำให้มีการประสานงานกันและมีการทำงานที่มีความเป็นเอกภาพกันมากยิ่งขึ้น อีกทั้งน่าจะช่วยให้การกำกับดูแลการสื่อสารในยุค convergence ทำได้ดีขึ้น แต่ทาง กสทช.นั้นก็ได้มีความเห็นแนะนำเพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าวว่าการที่คณะกรรมการ กสทช. ถูกรวมให้ทำงานเป็นชุดเดียวจำนวน 11 คนนั้น อาจจะเป็นจำนวนที่มากเกินไป จึงควรมีการทบทวนจำนวนองค์ประกอบของคณะกรรมการ กสทช. ให้เหมาะสมด้วย ในขณะเดียวกันฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยยังโต้แย้งว่าการกำกับดูแลการประกอบกิจการโดยแบ่งออกเป็นสองคณะอาจมีความจำเป็นอยู่ในบางกรณีโดยเฉพาะในส่วนของกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ทั้งนี้เพราะกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เคเบิล ดาวเทียมเพิ่งปรับเปลี่ยนสถานะทางกฎหมายเข้าสู่กระบวนการรับใบอนุญาตภายใต้กติกาเดียวกัน ประกอบกับการพิจารณาออกใบอนุญาตของกิจการโทรทัศน์ดิจิทัลภาคพื้นดินรายใหม่ ดังนั้นการกำกับดูแลงานด้านวิทยุและโทรทัศน์ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการบังคับใช้กฎกติกาต่างๆซึ่งมีบทบาทค่อนข้างมาก จึงต้องมีการสร้างหลักประกันว่าการวางระบบอุตสาหกรรมกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ภายใต้ระบบอนุญาตและการส่งเสริมการกำกับดูแลกันเองต้องไม่สะดุด และองค์กรกำกับดูแลยังคงทำหน้าที่ในการกำกับให้อุตสาหกรรมดังกล่าวเดินหน้าไปอย่างดีได้

นอกจากนี้แล้วร่าง พรบ.ฉบับใหม่ยังกำหนดให้ กสทช. ต้องทำงานภายใต้คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อันมีที่มาจากการคัดเลือกกำหนดให้มีคณะกรรมการเฉพาะด้าน 5 ด้าน คือ ด้าน Hard Infrastructure ด้าน Soft Infrastructure ด้าน Service Infrastructure ด้าน Digital Economy Promotion และด้าน Digital Society and Knowledge โดยกำหนดที่มาของคณะกรรมการจากหลายๆสาขาซึ่งบางส่วนมีที่มาจากฝ่ายการเมือง รวมไปถึงการคัดเลือกกรรมการจากองค์กรเอกชนที่เป็นผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช.และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. เช่นบริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) หรือบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จึงอาจทำให้เกิดประเด็นเรื่องความเป็นอิสระในการทำงานของคณะกรรมการ กสทช. ที่ควรเป็นหน่วยงานกำกับดูแลซึ่งอิสระ แต่กลับต้องรับนโยบายจากคณะกรรมการดิจิทัลบางคนซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทที่เป็นผู้ประกอบการ รวมทั้งการพิจารณาเรื่องที่ต้องมีความเป็นกลางและไม่มีส่วนได้เสียกัน นอกจากนี้แล้วการเลือกคณะกรรมการที่มาจากฝ่ายการเมืองอาจเอื้อต่อการทุจริตคอรัปชั่นได้ง่าย เนื่องจากไม่มีกลไกการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ จึงมีผู้เสนอเห็นควรให้พิจารณาเรื่องคุณสมบัติของคณะกรรมการให้รอบคอบเพื่อไม่ให้เป็นการสร้างความขัดแย้งในบทบาทอำนาจหน้าที่ดังกล่าวหรือเสียความเป็นอิสระกับความเป็นกลางของคณะกรรมการ กสทช.

อย่างไรก็ตามประเด็นสำคัญที่มีผู้ออกมาให้ความเห็นอย่างมากน่าจะเป็นเรื่องที่มีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์เรื่องการประมูลคลื่นความถี่โดยกฎหมายฉบับปัจจุบันกำหนดว่าการจัดสรรความถี่กระจายเสียง-โทรทัศน์สำหรับประกอบกิจการทางธุรกิจและความถี่โทรคมนาคมนั้น ให้ใช้วิธี “คัดเลือกด้วยการประมูล” แต่ในกฎหมายใหม่ใช้คำว่า “คัดเลือก” โดยตัดคำว่า “ประมูล” ทิ้งไป โดยจะให้คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เป็นผู้พิจารณาแผนบริหารคลื่นความถี่ว่าคลื่นใดเป็นคลื่นเพื่อความมั่นคงและบริการสาธารณะและคลื่นใดเพื่อบริการเชิงพาณิชย์ ซึ่งคลื่นเพื่อบริการเชิงพาณิชย์นั้นจะเป็นอำนาจของกสทช.ในการจัดสรร โดยการจัดสรรนี้ร่างกฎหมายใหม่ระบุให้ใช้การ “คัดเลือก” ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นการประมูลก็ได้ ซึ่งกรณีดังกล่าวมีหลายฝ่ายออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยในกรณีที่จะไม่ให้ประมูลคลื่นความถี่ แม้ว่าในต่างประเทศหลายประเทศนั้นจะใช้วิธีอื่นในการคัดเลือกเช่น ใช้วิธีการจัดสรรคลื่นความถี่แบบ Beauty Contest หรือวิธีการเปรียบเทียบข้อเสนอของผู้ประสงค์จะรับใบอนุญาต โดยตั้งราคากลางแล้วให้ผู้ประกอบการแข่งกันเสนอเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐและผู้บริโภคสูงสุดมาประกอบการพิจารณาให้ใบอนุญาตก็ตาม

ฝ่ายที่เห็นว่าไม่ต้องประมูลก็ได้อ้างว่าประเทศที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือประเทศญี่ปุ่น และประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน อย่างอินโดนีเซีย ซึ่งเคยใช้การจัดสรรคลื่นความถี่โดยวิธีการประมูล ในปัจจุบันก็ได้เปลี่ยนมาใช้วิธีการจัดสรรแบบ Beauty Contest เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่ไม่เห็นด้วยกลับมองว่าวิธีการดังกล่าวนั้นไม่เหมาะสมกับประเทศไทยเพราะอาจมีปัญหาด้านการทุจริตตามมาซึ่งต่างจากวิธีประมูลที่มีข้อพิสูจน์ชัดเจน อีกทั้งภาครัฐยังนำเงินจากการประมูลไปใช้บริหารประเทศได้ นอกจากนั้นวิธีการคัดเลือกยังเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจว่าจะใช้วิธีการอื่นใดๆก็ได้ซึ่งอาจเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการบางราย อันจะทำให้ประเทศเสียประโยชน์อย่างมหาศาลและคลื่นความถี่อาจตกไปอยู่ในมือผู้ที่ไม่ได้มีศักยภาพสูงสุด

เกี่ยวกับความคืบหน้าการจัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่นั้น หลังจากที่ คสช. ออกคำสั่งฉบับที่ 94/2557 ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2557 ให้ กสทช. ชะลอการประมูลคลื่น 4G ออกไป 1 ปี เพื่อแก้ไขกฎระเบียบทั้งหลายให้โปร่งใสและคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ขณะนี้ใกล้ครบกำหนดเวลาที่ขยายออกไปแล้ว ทาง กสทช. รวมไปถึงรัฐมนตรี ICT ได้ออกมาแจ้งความคืบหน้าดังกล่าวว่าการประมูล 4 จี บนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 เมกะเฮิรตซ์ จะเดินหน้าประมูลแน่นอน โดยหาก คสช. และคณะกรรมการด้านเตรียมความพร้อมดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเห็นชอบให้เดินหน้าประมูลได้ก่อนครบกำหนด กสทช.ก็จะใช้เวลาเตรียมการ 3-4 เดือน ในเรื่องนี้ยังมีข้อพึงพิจารณาว่าหากมีการจัดประมูล 4G ก่อนกลุ่มร่างกฎหมายดิจิทัลบังคับใช้ก็จะต้องใช้วิธีการประมูลตามกฎหมายปัจจุบัน แต่หากร่างกฎหมายฉบับใหม่ออกมาก่อนก็อาจจะมีการปรับเปลี่ยนวิธีการได้ตามที่กล่าวข้างต้น

ทั้งนี้ผลการศึกษาของสหภาพโทรคมนาคมนานาชาติ (ITU) และธนาคารโลก (World Bank) บ่งชี้ว่าการเข้าถึงบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงทุก 10% ของประชากร จะทำให้ระบบเศรษฐกิจโตขึ้น 1.38% ของจีดีพี ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบเศรษฐกิจถึง 3.6% เพราะการใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงจะทำให้ต้นทุนทางธุรกิจถูกลง ประหยัดทั้งเวลาและทรัพยากร นั่นเป็นเพราะโลกกำลังเข้าสู่ยุค Internet of Things และ M to M (Machine to Machine) ให้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อ สั่งการกันได้เองโดยไม่ต้องผ่านคน ขณะที่บางประเทศกำลังทดลองระบบ 5G ส่วนจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ก็จับมือกันแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี เพื่อสร้าง “มาตรฐานร่วม 4G แห่งเอเชีย” ให้รับส่งข้อมูลได้ 100 เมกะบิตต่อวินาที ดังนั้นจะเป็นการดีสำหรับความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศไทยที่จะจัดให้มีการประมูลคลื่น 4G โดยเร็วเพื่อให้ก้าวทันประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน เพราะในปัจจุบันความต้องการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายโทรคมนาคมที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงทั้งในด้านความรวดเร็วและคุณภาพของสัญญาณมีมากขึ้น ซึ่งจะช่วยตอบสนองการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพสูง ดังนั้น ความช้าหรือเร็วในการเกิดขึ้นของบริการโทรคมนาคมบนเครือข่าย 4G จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

Source : http://telecomjournalthailand.com/

ร่างกลุ่มกฎหมายดิจิทัล (ตอนที่ 2)

ร่างกลุ่มกฎหมายดิจิทัล (ตอนที่ 2)

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

ในฉบับที่แล้วเราได้นำเสนอถึงรายละเอียดของร่างกลุ่มกฎหมายดิจิทัลบางฉบับเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการแก้ไขและร่างกฎหมายใหม่ที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางไซเบอร์ซึ่งกำลังเป็นที่ถกเถียงของทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ในฉบับนี้เราจึงจะนำท่านผู้อ่านเจาะลึกกันต่อไปถึงร่างกฎหมายดิจิทัลฉบับอื่นที่มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน เพื่อเป็นข้อมูลให้ท่านผู้อ่านได้ติดตามถึงผลดี ผลเสียหรือผลกระทบข้างเคียงของร่างกฎหมายเหล่านี้

ร่างชุดกฎหมายที่ถูกพูดถึงในสังคมไม่แพ้ร่างชุดกฎหมายความมั่นคงทางไซเบอร์ได้แก่ ร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยร่างกฎหมายดังกล่าวประกอบด้วย ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอล และร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม โดยแต่ละฉบับมีรายละเอียดที่เป็นประเด็นสำคัญที่จะกล่าวพอเป็นสังเขปต่อไป

ร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. … มีสาระสำคัญคือ การกำหนดให้มีคณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลด้านเศรษฐกิจเป็นรองประธาน ส่วนกรรมการจะประกอบด้วยหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่วางนโยบายและทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลของประเทศ ซึ่งเป็นแผนระดับชาติว่าด้วยเศรษฐกิจดิจิตอล โดยให้มีคณะกรรมการเฉพาะด้าน 5 ด้าน คือ 1.คณะกรรมการฮาร์ดอินฟราสตรัคเจอร์ 2.คณะกรรมการเซอร์วิสอินฟราสตรัคเจอร์ 3.คณะกรรมการซอฟต์อินฟราสตรัคเจอร์ 4.คณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจ และ 5.คณะกรรมการดิจิตอลเพื่อสังคมและทรัพยากรความรู้

ขณะที่ร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่…) พ.ศ. …จะกำหนดให้มีการจัดตั้งกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปลี่ยนชื่อมาจากกระทรวงไอซีที แบ่งเป็น 5 ส่วนราชการ คือ สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานเศรษฐกิจดิจิตอล กรมอุตุนิยมวิทยา และสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยไม่ใช่เพียงแต่เปลี่ยนชื่อกระทรวงเท่านั้นแต่จะมีการปรับเปลี่ยนทั้งระบบ โดยเริ่มต้นจากการปรับแก้กฎหมายเพื่อให้ครอบคลุมการทำงานให้เข้ากับยุคที่เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การบริการ ฯลฯ ถือเป็นการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ให้เหมาะสมกับลักษณะการทำงานด้วย เช่น องค์การมหาชนคือสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) ที่ต้องเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลภาครัฐทั้งหมดให้เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ที่ต้องควบคุมสนับสนุนการทำธุรกรรมทางการเงิน การออกกฎหมายข้อบังคับเพื่อแก้ไขการป้องกันการทุจริตทางคอมพิวเตอร์ เพื่อโลกดิจิตอลหนุนให้การค้าขายออนไลน์ (E-Commerce) เติบโตขึ้น ความปลอดภัยและการสร้างความน่าเชื่อถือจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งสององค์การมหาชนรวมกันเป็นสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่ได้เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ โดยตั้งขึ้นตามร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….

นอกจากนี้แล้วยังมีหน่วยงานซึ่งทำหน้าที่ดูแลด้านการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลที่จัดตั้งขึ้นตามร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พ.ศ. …. เช่นคณะกรรมการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ ที่ตั้งขึ้นใหม่ และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ ที่ตั้งใหม่เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล และไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ โดยโอนจากสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA อีกด้วย

ส่วนร่างพระราชบัญญัติที่น่าสนใจและเป็นที่กล่าวถึงอีกฉบับหนึ่งคือร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม โดยรายละเอียดกฎหมายฉบับใหม่นี้ได้มีการปรับแก้อำนาจหน้าที่ของ กสทช. แต่หลักใหญ่ใจความยังเหมือนเดิมคือเน้นการจัดสรรและกำกับดูแลคลื่นความถี่เป็นหลัก โดยประเด็นที่ปรับแก้คือเพิ่มเรื่องว่าแผนแม่บทของ กสทช. จะต้องสอดคล้องกับ “นโยบายและแผนการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” ของคณะกรรมการดิจิทัลฯ แห่งชาติ และตัดหน้าที่ “ประสานงาน” การบริหารคลื่นความถี่ทั้งในและนอกประเทศ อีกทั้งเปลี่ยนบทบาท “วินิจฉัยและแก้ไขปัญหาคลื่นความถี่รบกวน” มาเป็นการ “ร่วมให้ข้อมูลกับรัฐบาล” แทน นอกจากนี้แล้วร่างกฎหมายฉบับใหม่ยังยกเลิกการแยกสองบอร์ดย่อยคือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทช.) โดยกำหนดให้บอร์ดชุดใหญ่ (กสทช.) ทำหน้าที่แทนทั้งหมดโดยผู้เสนอร่างกฎหมายอาจเห็นว่าการรวมเพื่อให้มีบอร์ดใหญ่เพียงบอร์ดเดียวน่าจะช่วยให้การกำกับดูแลการสื่อสารในยุค convergence ทำได้ดีขึ้น นอกจากนี้แล้วยังมีการเปลี่ยนแปลงการเก็บรายได้จากค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและการประมูล จากเดิมให้ส่งเข้ากองทุน กสทช. ทั้งหมด 100% เปลี่ยนเป็นให้ส่งเข้ากองทุนพัฒนาดิจิทัล 50% และอีก 50% ส่งเป็นรายได้แผ่นดินอีกด้วย

นอกจากนี้แล้วโครงสร้างอื่นๆก็มีการเปลี่ยนแปลง เช่น มีการยกเลิกองค์กรเดิมแล้วตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมาแทนที่โดยมีจุดประสงค์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ยกเลิก “กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ” แล้วตั้งเป็น “กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” แทน โดยมีรายละเอียดตามร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. …. ซึ่งกองทุนเดิมมีวัตถุประสงค์เพื่อ “อุดหนุน” ด้านการเข้าถึงบริการ และการพัฒนา-การวิจัย แต่กองทุนใหม่จะเพิ่มเรื่อง “การให้กู้ยืมเงิน” แก่ “หน่วยงานของรัฐและเอกชน” ในด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาดิจิทัลเพิ่มมาด้วย

ในส่วนขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อทำหน้าที่ดูแลด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์โดยเฉพาะได้แก่ คณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล และไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ) โดยโอนจากส่วนงานที่เกี่ยวข้องที่เดิมอยู่กับ สพธอ. และจะเป็นหน่วยงานกลางที่ดูแลทั้งพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

เราจึงต้องมาดูกันต่อไปว่าโครงสร้างใหม่นี้จะเหมาะสมต่อภาคธุรกิจและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างไรกับจะมีการแก้ไขในชั้น สนช. หรือไม่อย่างไร และการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายในครั้งนี้จะส่งผลเปลี่ยนแปลงต่อความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจดิจิทัลไปในทิศทางใด ซึ่งทุกภาคส่วนรวมทั้งผู้อ่านทุกท่านควรจะติดตามความคืบหน้าเพราะการออกร่างกลุ่มกฎหมายในครั้งนี้ย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้านที่เป็นประโยชน์ต่อเราทั้งในทางตรงและในทางอ้อมด้วย

Source : http://telecomjournalthailand.com/