"TURN EXPERIENCE TO VICTORY"

ไว-ไฟ บนเครื่องบิน

ไว-ไฟ บนเครื่องบิน

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

ในโลกแห่งเทคโนโลยีการสื่อสารที่ไร้พรมแดนนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารและการติดต่อระหว่างผู้คนทั่วทั้งมุมโลกเข้าหากันได้ดีที่สุดคือ “อินเทอร์เน็ต” ซึ่งการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบที่ผู้ใช้งานจะต้องนั่งประจำที่หรือประจำจุดที่จัดไว้เท่านั้นอาจไม่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ต้องทำงานโดยอาศัยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเป็นสำคัญแม้แต่ในระหว่างการเดินทาง สำหรับผู้ใช้งานบางรายแล้วหากพลาดการเชื่อมต่อแม้แต่ชั่วโมงเดียวก็อาจส่งผลสำคัญหรือพลาดโอกาสนัดหมายในทางธุรกิจบางอย่างได้ ความสำคัญดังกล่าวจึงนำไปสู่การออกใบอนุญาตให้กับสายการบินในการให้บริการ ไว-ไฟ บนเครื่องบิน โดยสาร

เมื่อเร็วๆ นี้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. บอร์ดชุดเล็กของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้อนุมัติใบอนุญาตอินเทอร์เน็ตประเภทที่ 1 แบบไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ให้กับบริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการสายการบินนกแอร์ในการให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย หรือ ไว-ไฟ บนเครื่องบิน โดยสารได้ ระยะเวลาการอนุญาต 5 ปี โดยนายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. กล่าวว่าลักษณะของการให้บริการจะเป็นการติดตั้ง ไว-ไฟ บนเครื่องบิน และใช้ช่องสัญญาณผ่านทรานสปอนเดอร์ขึ้นไปยังดาวเทียมไทยคม เพื่อรับส่งสัญญาณสถานีภาคพื้นดิน โดยใช้ได้ในเครื่องบินที่มีเส้นทางการบินทั้งในประเทศและนอกประเทศ

ก่อนหน้านี้ กทค. ได้ให้ใบอนุญาตในการให้บริการไว-ไฟ กับการบินไทยเป็นรายแรกไปเมื่อช่วงธันวาคม 2556 ซึ่งการบินไทยได้เปิดให้บริการ THAI Sky Connect ไปแล้วตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา การอนุญาตไว-ไฟให้กับทั้งสองสายการบินเป็นการอนุญาตแบบเดียวกัน ความถี่ที่ให้บริการคือคลื่นความถี่ย่าน 2.4 GHz แต่สำหรับสายการบินนกแอร์กับการบินไทยนั้นจะต่างกันอยู่ที่ลักษณะการติดตั้งอุปกรณ์เพราะการบินไทยจะมีอุปกรณ์ติดตั้งมากับเครื่องอยู่แล้ว ในขณะที่สายการบินนกแอร์ต้องหาอุปกรณ์เพื่อมาติดตั้งและใช้ช่องสัญญาณผ่านดาวเทียมไทยคม

สำหรับการบินไทยที่ได้เปิดให้บริการแล้วนั้น ผู้โดยสารสามารถใช้งานไว-ไฟ กับโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ทโฟนและแท็บเลตได้ โดยเข้าใช้บริการ THAI Sky Connect หลังเครื่องบินทะยานสู่ท้องฟ้าหรือ Take-off และสัญญาณคาดเข็มขัดนิรภัยดับลงแล้ว บริการไว-ไฟจะถูกระงับเมื่อเครื่องบินทำการบินเหนือน่านฟ้าบางประเทศที่ไม่อนุญาตใช้งานอินเทอร์เน็ตไร้สายบนเครื่องบินได้ อาทิ พม่า เวียดนาม บังคลาเทศ อินเดียและเกาหลี เป็นต้น ผู้อ่านบางท่านอาจสงสัยว่าค่าบริการ ไว-ไฟ บนเครื่องบิน จะสูงมากไหม จึงขอยกตัวอย่างของสายการบินหนึ่งโดยไม่เปิดเผยชื่อว่าอัตราค่าบริการมีให้เลือก 2 แพ็คเกจ คือบริการสำหรับสมาร์ทโฟน ขนาด 3 MB ราคา 4.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขนาด 10 MB ราคา 14.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนบริการสำหรับไอแพดและแล็บท็อป ขนาด 10 MB ราคา 14.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ และขนาด 20 MB ราคา 28.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นต้น

ความต้องการใช้ ไว-ไฟบนเครื่องบิน นี้เป็นที่นิยมอย่างมาก โดยจะเห็นได้จากผลสำรวจจากเว็บไซต์ค้นหาตั๋วเครื่องบิน โรงแรมที่พักและรถเช่าชั้นนำของโลกอย่าง Skyscanner ที่ได้เผยผลสำรวจถึงความต้องการของผู้โดยสารเครื่องบินทั่วโลกพบว่าร้อยละ 47 ของนักท่องเที่ยวในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก ระบุว่าสื่อบันเทิงที่ต้องการมากที่สุดเมื่ออยู่บนเครื่องบินคือสัญญาณไว-ไฟ ซึ่งแน่นอนที่สายการบินระดับโลกจำนวนมากได้หันมาเปิดให้บริการไว-ไฟบนเครื่องบินโดยสารกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสายการบิน Emirates Airlines ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สายการบิน Lufthansa ของเยอรมันนี สายการบิน Virgin Atlantic Airways ของอังกฤษ สายการบิน Singapore Airlines ของสิงคโปร์ สายการบิน Air China ของจีน สายการบิน Philippine Airlines ของฟิลิปปินส์ และสายการบิน Qatar Airways และ Southwest Airlines ของสหรัฐอเมริกา

ธุรกิจให้บริการไว-ไฟ บนเครื่องบินในสหรัฐอเมริกาเติบโตอย่างรวดเร็ว จนถึงขณะนี้มีเครื่องบินของสหรัฐอเมริกาให้บริการไว-ไฟแล้วเกือบ 2,500 ลำ โดยประมาณร้อยละ 60 ของผู้โดยสารเครื่องบินพาณิชย์ในสหรัฐอเมริกามีการเชื่อมต่อไว-ไฟบนเครื่องบิน หนึ่งในบริษัทผู้ให้บริการไว-ไฟ บนเครื่องบินรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา คือ Gogo ซึ่งเป็นผู้ให้บริการสัญญาณไว-ไฟ บนเครื่องบินพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกากว่า 1,600 ลำ โดยการให้บริการไว-ไฟบนเครื่องบินนั้น Gogo จะคิดค่าบริการ 5 – 20 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการเดินทางโดยค่าบริการที่ได้รับทั้งหมด Gogo จะนำมาแบ่งให้กับสายการบินต่อไป

ปัจจุบันการให้บริการสัญญาณไว-ไฟบนเครื่องบินนั้นมี 2 แบบ แบบแรกคือการส่งสัญญาณจากเสาส่งสัญญาณที่ติดตั้งอยู่บนพื้นดิน ซึ่งแต่ละเสาจะสามารถส่งสัญญาณได้ไกล 250 ไมล์ ปัญหาที่พบสำหรับวิธีนี้ก็คือหากเครื่องบินทำการบินเหนือทะเลหรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ผู้โดยสารบนเครื่องจะไม่สามารถใช้บริการได้ ส่วนแบบที่สองเป็นการให้บริการไว-ไฟ บนเครื่องบินผ่านการส่งสัญญาณดาวเทียม ทำให้ผู้โดยสารสามารถใช้งานไว-ไฟ ได้แม้ว่าจะบินอยู่บนผืนน้ำ แต่การติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณไว-ไฟ บนเครื่องบินโดยใช้ระบบดาวเทียมนั้นก็มีข้อเสียอยู่ที่ยุ่งยากและใช้เวลานานกว่าเครื่องส่งสัญญาณแบบเสา ทำให้มีค่าใช้จ่ายและค่าบริการแพงกว่าอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะเลือกแบบใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละสายการบินนั่นเอง

บริการไว-ไฟ บนเครื่องบินโดยสารนี้มีข้อดีมากมายไม่ว่าจะเป็นความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการเครื่องบินโดยสารทั้งในกลุ่มนักธุรกิจและนักท่องเที่ยว การสนับสนุนให้ประชาชนได้เข้าถึงเทคโนโลยีการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ และการใช้งานอินเตอร์เน็ตบนเครื่องบนจะไม่รบกวนสัญญาณการทำงานของระบบการบิน เพราะขณะเครื่องขึ้น-ลง ผู้โดยสารยังคงถูกห้ามไม่ให้ใช้อุปกรณ์สื่อสารอยู่ แต่เมื่ออยู่ในอากาศแล้วสามารถใช้งานได้เพราะสัญญาณของอุปกรณ์เหล่านี้ไม่มีส่วนรบกวนสัญญาณวิทยุที่ใช้ควบคุมอากาศยานก็ตาม แต่คงไม่อาจมองในแง่ดีหรือประโยชน์ที่ได้รับแต่เพียงอย่างเดียวได้เพราะการมีไว-ไฟ ใช้ในขณะที่เครื่องบินกำลังทำการบินอยู่นั้นก็หมายความว่าผู้โดยสารที่อยู่บนเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกับคนที่อยู่ภาคพื้นดินได้เกือบตลอดเวลา ทำให้การวางแผน การนัดแนะ ซักซ้อมหรือการแจ้งความเคลื่อนไหวในเรื่องต่างๆ ของกลุ่มคนร้ายทั้งที่อยู่บนเครื่องบินกับที่อยู่ภาคพื้นดินเพื่อการก่อวินาศกรรมหรือจี้เครื่องบินก็อาจเป็นไปได้เช่นกัน

Source : http://telecomjournalthailand.com/

 

 

ร่างกลุ่มกฎหมายดิจิทัล (ตอนที่ 2)

ร่างกลุ่มกฎหมายดิจิทัล (ตอนที่ 2)

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

ในฉบับที่แล้วเราได้นำเสนอถึงรายละเอียดของร่างกลุ่มกฎหมายดิจิทัลบางฉบับเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการแก้ไขและร่างกฎหมายใหม่ที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางไซเบอร์ซึ่งกำลังเป็นที่ถกเถียงของทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ในฉบับนี้เราจึงจะนำท่านผู้อ่านเจาะลึกกันต่อไปถึงร่างกฎหมายดิจิทัลฉบับอื่นที่มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน เพื่อเป็นข้อมูลให้ท่านผู้อ่านได้ติดตามถึงผลดี ผลเสียหรือผลกระทบข้างเคียงของร่างกฎหมายเหล่านี้

ร่างชุดกฎหมายที่ถูกพูดถึงในสังคมไม่แพ้ร่างชุดกฎหมายความมั่นคงทางไซเบอร์ได้แก่ ร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยร่างกฎหมายดังกล่าวประกอบด้วย ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอล และร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม โดยแต่ละฉบับมีรายละเอียดที่เป็นประเด็นสำคัญที่จะกล่าวพอเป็นสังเขปต่อไป

ร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. … มีสาระสำคัญคือ การกำหนดให้มีคณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลด้านเศรษฐกิจเป็นรองประธาน ส่วนกรรมการจะประกอบด้วยหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่วางนโยบายและทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลของประเทศ ซึ่งเป็นแผนระดับชาติว่าด้วยเศรษฐกิจดิจิตอล โดยให้มีคณะกรรมการเฉพาะด้าน 5 ด้าน คือ 1.คณะกรรมการฮาร์ดอินฟราสตรัคเจอร์ 2.คณะกรรมการเซอร์วิสอินฟราสตรัคเจอร์ 3.คณะกรรมการซอฟต์อินฟราสตรัคเจอร์ 4.คณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจ และ 5.คณะกรรมการดิจิตอลเพื่อสังคมและทรัพยากรความรู้

ขณะที่ร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่…) พ.ศ. …จะกำหนดให้มีการจัดตั้งกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปลี่ยนชื่อมาจากกระทรวงไอซีที แบ่งเป็น 5 ส่วนราชการ คือ สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานเศรษฐกิจดิจิตอล กรมอุตุนิยมวิทยา และสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยไม่ใช่เพียงแต่เปลี่ยนชื่อกระทรวงเท่านั้นแต่จะมีการปรับเปลี่ยนทั้งระบบ โดยเริ่มต้นจากการปรับแก้กฎหมายเพื่อให้ครอบคลุมการทำงานให้เข้ากับยุคที่เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การบริการ ฯลฯ ถือเป็นการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ให้เหมาะสมกับลักษณะการทำงานด้วย เช่น องค์การมหาชนคือสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) ที่ต้องเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลภาครัฐทั้งหมดให้เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ที่ต้องควบคุมสนับสนุนการทำธุรกรรมทางการเงิน การออกกฎหมายข้อบังคับเพื่อแก้ไขการป้องกันการทุจริตทางคอมพิวเตอร์ เพื่อโลกดิจิตอลหนุนให้การค้าขายออนไลน์ (E-Commerce) เติบโตขึ้น ความปลอดภัยและการสร้างความน่าเชื่อถือจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งสององค์การมหาชนรวมกันเป็นสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่ได้เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ โดยตั้งขึ้นตามร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….

นอกจากนี้แล้วยังมีหน่วยงานซึ่งทำหน้าที่ดูแลด้านการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลที่จัดตั้งขึ้นตามร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พ.ศ. …. เช่นคณะกรรมการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ ที่ตั้งขึ้นใหม่ และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ ที่ตั้งใหม่เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล และไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ โดยโอนจากสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA อีกด้วย

ส่วนร่างพระราชบัญญัติที่น่าสนใจและเป็นที่กล่าวถึงอีกฉบับหนึ่งคือร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม โดยรายละเอียดกฎหมายฉบับใหม่นี้ได้มีการปรับแก้อำนาจหน้าที่ของ กสทช. แต่หลักใหญ่ใจความยังเหมือนเดิมคือเน้นการจัดสรรและกำกับดูแลคลื่นความถี่เป็นหลัก โดยประเด็นที่ปรับแก้คือเพิ่มเรื่องว่าแผนแม่บทของ กสทช. จะต้องสอดคล้องกับ “นโยบายและแผนการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” ของคณะกรรมการดิจิทัลฯ แห่งชาติ และตัดหน้าที่ “ประสานงาน” การบริหารคลื่นความถี่ทั้งในและนอกประเทศ อีกทั้งเปลี่ยนบทบาท “วินิจฉัยและแก้ไขปัญหาคลื่นความถี่รบกวน” มาเป็นการ “ร่วมให้ข้อมูลกับรัฐบาล” แทน นอกจากนี้แล้วร่างกฎหมายฉบับใหม่ยังยกเลิกการแยกสองบอร์ดย่อยคือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทช.) โดยกำหนดให้บอร์ดชุดใหญ่ (กสทช.) ทำหน้าที่แทนทั้งหมดโดยผู้เสนอร่างกฎหมายอาจเห็นว่าการรวมเพื่อให้มีบอร์ดใหญ่เพียงบอร์ดเดียวน่าจะช่วยให้การกำกับดูแลการสื่อสารในยุค convergence ทำได้ดีขึ้น นอกจากนี้แล้วยังมีการเปลี่ยนแปลงการเก็บรายได้จากค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและการประมูล จากเดิมให้ส่งเข้ากองทุน กสทช. ทั้งหมด 100% เปลี่ยนเป็นให้ส่งเข้ากองทุนพัฒนาดิจิทัล 50% และอีก 50% ส่งเป็นรายได้แผ่นดินอีกด้วย

นอกจากนี้แล้วโครงสร้างอื่นๆก็มีการเปลี่ยนแปลง เช่น มีการยกเลิกองค์กรเดิมแล้วตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมาแทนที่โดยมีจุดประสงค์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ยกเลิก “กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ” แล้วตั้งเป็น “กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” แทน โดยมีรายละเอียดตามร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. …. ซึ่งกองทุนเดิมมีวัตถุประสงค์เพื่อ “อุดหนุน” ด้านการเข้าถึงบริการ และการพัฒนา-การวิจัย แต่กองทุนใหม่จะเพิ่มเรื่อง “การให้กู้ยืมเงิน” แก่ “หน่วยงานของรัฐและเอกชน” ในด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาดิจิทัลเพิ่มมาด้วย

ในส่วนขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อทำหน้าที่ดูแลด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์โดยเฉพาะได้แก่ คณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล และไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ) โดยโอนจากส่วนงานที่เกี่ยวข้องที่เดิมอยู่กับ สพธอ. และจะเป็นหน่วยงานกลางที่ดูแลทั้งพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

เราจึงต้องมาดูกันต่อไปว่าโครงสร้างใหม่นี้จะเหมาะสมต่อภาคธุรกิจและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างไรกับจะมีการแก้ไขในชั้น สนช. หรือไม่อย่างไร และการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายในครั้งนี้จะส่งผลเปลี่ยนแปลงต่อความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจดิจิทัลไปในทิศทางใด ซึ่งทุกภาคส่วนรวมทั้งผู้อ่านทุกท่านควรจะติดตามความคืบหน้าเพราะการออกร่างกลุ่มกฎหมายในครั้งนี้ย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้านที่เป็นประโยชน์ต่อเราทั้งในทางตรงและในทางอ้อมด้วย

Source : http://telecomjournalthailand.com/

BOI は確信がある、ターゲットが高いは70万万バーツより

BOI は確信がある、ターゲットが高いは70万万バーツより

4

BOI は確信がある、2557年に投資促進を受ける。ターゲットより高いは70万万バーツです。1月から10月まで後に投資促進を受けるの数は645300万バーツです。プロジェクトの数は1206 プロジェクトです。 10月だけ投資促進を受、オペレータは投資促進を受ける、数55800万バーツから。数は187 プロジェクトです。主に中型プロジェクトと小さいプロジェクトです。

1月から10月まで投資促進を受けるでも、定率がありました。2556年の同時期に比べて、プロジェクト数は19%減少した。インベストメンツは18.7%減少した。以前はプロジェクトや投資価値がより低い。たとえば、プロジェクト数は27.7% 減少したでも、9月数は23% だけ減少した。

大部は中型プロジェクトのから投資促進を受ける。中型プロジェクトの数は1057 プロジェクトです。投資金は以下5億バーツです。投資金の全体は102400百万バーツです。営業が面白いです。たとえば、自動車部品や医療機器の製造や航空機部品の製造や天然ゴムの製品です。

投資はプロジェクトが大きいです。数は500万バーツから1000百万バーツまであります。全体は149プロジェクトです。投資金は542900万バーツです。営業が面白いです。たとえば、たとえば、エコカーの生産。タイヤを製造調味料の製造です。

営業は大量投資促進を受ける たとえば、サービスや公共事業は355 プロジェクトです。投資金の数264000万バーツです。営業のグループは化学薬品会社や紙やプラスチックです。全体は141プロジェクトです。投資金の数は60700億バーツです。営業のグループは農業や農業の生産は198プロジェクトです。投資金は45500万バーツです。鉱業や陶芸業は43 プロジェクトです。投資金は30000百万バーツです。電子業や家電は192 プロジェクトです。投資金は20200万バーツです。

BOIは2企の取締役会を会承認する

BOIは2企の取締役会を会承認する

Mr.Udom Wongviwatchai様は投資委員会の事務局長と言う、委員会が投資を促進の会議でした。10月3日から10月21日まで数115プロジェクト検討するをもらいました。投資額102000万バーツ2プロジェクトを準備しました。Mr.Prayuth様のBOIの取締役会会長はもう一つの24プロジェクトが検討された。大企業は9万万バーツです。たとえば、2 ECOCARや天然ガス発電所プロジェクトです。7.5億バーツ小型と中型の投資奨励を検討しました。数91プロジェクト12425万バーツです。大量な工業のプロジェクトを承認しました。産業部門は、国の目標だった。BOIは増えて投資を促して、国内産業の質を高めると商戦ができます。たとえば、航空機部品の製造と燃料から電気業バイオマスです。そのほかにプラスチックから油の生産への投資の承認すると医療機器の製造を承認しました。世界最大の生産者は たとえば、自動車用電子製品や電気通信や医療機器です。

BOIのMr.Udom様はいつも投資奨励を検討します。プロジェクトを承認または却下することができ委員会と2の委員会の作業を通して、すぐに考慮することが管轄下にあります。過去会議があったのために毎週投資を奨励します。早い承認になります。そして、経済へのいい影響です。

BOIは 海外を確信後でNCPOを国政ている

BOIは 海外を確信後でNCPOを国政ている
1BJ

BOIは見当を確認する、全体70万万バーツ投資促進の

リクエストです。海外と確信になるNational Council for Peace and

Order (NCPO) 後で国政をています。2557年6月にNCPOを国政です。

そして、金額3000億バーツ投資促進のリクエストです。投資者は

一番工業について資促進のリクエストです。たとえば、サービスや車載

や化学製品や電や運送です。NCPOを国政でいます。現状はタイに

投資者投資を入っていいトレンドがあります。たとえば、アメリカと

ヨーロッパです。投資者は去年よりタイに投資しました。投資者は

タイに長い投資をみえます。そして、投資家は投資へのタイの政治を

区別することができます。でも、投資者はタイにビザを改善したいです。

タイで動作するようにビザ許可証を発行します。ビザのこと原則を

緩めして下さい。にっけいの広報文化センター調査するからタイ国は

投資が面白く国です 。日本のビジネスマンは 一番多いタイで投資です。

投資の率は40から50 までのパーセントです。来年の動向は増えて

資促進のリクエストです。AECを開けますから。

調停はアジアに地形の変化しています

調停はアジアに地形の変化しています
1

調停はアジアに地形の変化しています

委員会、それとも 、Mr.Prayuth Chanocha は

BOI 18プロジェク投資奨励を承認しました 。投資奨励は

合計122837.7百万バーツです。たとえば、トヨタモータタイの会社は

51523万バーツ自動車生産の投資奨励をもらいました。今は投資奨励

を承認して、タイでいい投資になりました。投資者は確信して、下半期

2557増えて投資奨励を申請することを決めた。国の経済全体へのいい

影響です。そのほかに推進されているプロジェクトのための資金を生成

することができます。そして、推進されている工業の膨張です。そして、

2558年新たな雇用です。