"TURN EXPERIENCE TO VICTORY"

Litigation

Litigation

Posted by on May 16, 2013

James & Partners Law Offices provides and assists our clients into several courts in any types of case in Thailand including breach of contract case, joint venture dispute case, governmental Case, tax dispute case, insurance dispute case, debt enforcement, tort, international trade dispute, general criminal case, securitization case, fraud and embezzlement case, labor dispute case, bankruptcy and rehabilitation case, family dispute case, prosecution and defense of white collar crimes, DSI accusation. Experience – Thailand-lawyer/ Litigation (Government Contracts) The firm represented Pollution Control Department, Ministry of Natural Resources and Environment in a white collar crime case relating to public contracts in Thailand. This was the first time in history that Thai government retained a specialized private law firm to replace the Attorney General’s office as the representative of the authority. The firm acted as plaintiff’s attorney in taking legal action against nineteen defendants who were former politicians and powerful construction contractors. The amount claimed in the complaint was approximately Baht 30 Billion, representing the biggest cheating case ever filed with Thai court. In November 2005 the court made a ruling that the...

Read More

Company Registration

Company Registration

Posted by on May 16, 2013

James &Partners Law Offices provides wide ranges of corporate services for Thai and foreign clients such as Limited Company Registration,  company’s name reservation include select business entities, Memorandum  Registration, Joining as a Company Promoter, one day registration, company promoter, company director, power of director, 25 % paid-up, Drafting  Article of association, TAX &VAT registration  for company, requiring for any business license(FBC,FBL ), dissolution, M&A. furthermore, we also assisted our  client in drafting reviewing any types of agreements,  and draft relevant legal opinion for our client. Guideline for setting Limited Company in Thailand by James and Partners Law Offices Steps for limited company registration under the Laws of Thailand 1. Corporate Name Reservation The reserved name must not be repeatable or similar to name of other registered companies, which approved by the Commercial Registration Department at the Ministry of Commerce (“MOC”) before. After that, the approved corporate name must be registered within 30 days. Note: Company name reservation must be done via Department of Business Development (“DBD”) website only the process should not spend time more than 30 minutes 2. Memorandum Registration...

Read More

Visa & Work Permit

SPECIAL PACKAGES FOR FOREIGNERS ARRIVED THAILAND

Posted by on May 8, 2021

English Russian Chinese Japanese Korean English Russian Chinese Japanese...

Read More

BOI

BOI

BOI

Posted by on May 16, 2013

James & Partners Law Offices provides several legal practices in connection with investment field. We assist our client to obtain BOI’s promotion in every step including filing and revising BOI application and supporting documents, following up and dealing with BOI’s officers, advising eligible business types under BOI promotion for our clients.  We also advised on benefits and rights of clients under BOI such as collecting FBC under BOI, setting up company under BOI’s benefits and rights, filing applications for expats or workers of clients under BOI promotion and purchasing of real estate for client under BOI promotion. After obtaining BOI we assist our client to make annual report to BOI’s official.  Our office assist investors who want to invest in Thailand and other Asean countries toward the opening of AEC in 2105. Enhancing Competitiveness and Investment Facilitation • Offers an attractive and competitive package of tax incentives. • Imposes no foreign equity restrictions on manufacturing activities or on some service. • Provide assistance in the provision of visas and work permits to facilitate entry and        subsequent operation for...

Read More

Recent Posts

ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตอล

ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตอล

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

ในฉบับนี้เราจะมานำเสนอเสนอในมุมของแผนยุทธศาสตร์ของรัฐรวมไปถึงการพัฒนาเทคโนโลยีของเอกชนเพื่อเตรียมพร้อมรับมือเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิตอลหรือ Digital Economy อย่างเต็มรูปแบบโดยแนวคิดหลักของนโยบายคือต้องนำดิจิตอลเข้าไปเสริมศักยภาพการทำงานของทุกกระทรวงที่มีดิจิตอลเข้าไปเกี่ยวข้องตลอดจนต้องนำไปเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะเอสเอ็มอี (SMEs) ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ ซึ่งแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลของรัฐบาลนั้นที่มีอยู่หลักๆนั้น มีอยู่หลายประการ

ประการแรกได้แก่การเร่งยกร่างกฎหมายเพื่อรองรับเศรษฐกิจดิจิตอล โดยแก้ไขกฎหมายเดิมที่มีอยู่แล้วเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายใหม่ หรือหากเรื่องใดไม่มีกำหนดไว้ก็เตรียมจะยกร่าง เช่น การสร้างเครือข่ายข้อมูลสุขภาพของประชาชนระหว่างโรงพยาบาล เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านดิจิตอลจำนวนมากยังที่ยังไม่มีผลบังคับใช้ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายด้านลายมือชื่อดิจิตอล กฎหมายคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย กฎหมายคอมพิวเตอร์ต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันเรายังมีกฎหมายอีกหลายฉบับที่จะต้องทำการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

ประการที่สองคือการให้เอกชนลดค่าบริการอินเตอร์เน็ตลงแต่ในขณะเดียวกันต้องเพิ่มความเร็วอินเตอร์เน็ตให้สูงขึ้น ซึ่งนโยบายนี้ต้องได้รับความร่วมมือจากเอกชนซึ่งเป็นผู้ประกอบการเพื่อที่จะสามารถให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงบริการได้ดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในราคาที่อยู่ภายใต้การควบคุม

ประการที่สามคือการปรับโครงสร้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ กระทรวงไอซีทีที่ทำหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในเรื่องนี้ยังมีโครงสร้างการแบ่งอำนาจที่ไม่ชัดเจน และรูปแบบการบริหารงานย่อมจะเปลี่ยนแปลงไป จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับโครงสร้างและกำหนดหน้าที่การกำกับดูแลในแต่ละส่วนให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งแนวคิดในการเพิ่มกรมในกระทรวงเพื่อให้การทำงานของกระทรวงไอซีทีสอดรับในมิติการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยกรมที่เพิ่มขึ้นประกอบด้วยกรมแรกคือกรมที่ดูแลเรื่องการส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งต้องนำดิจิตอลช่วยอุตสาหกรรมในการขับเคลื่อนธุรกิจโดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอีซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนที่กระทรวงไอซีทีต้องดำเนินการ กรมที่สองคือกรมพัฒนาและส่งเสริมดิจิตอลเกี่ยวกับสังคม ทำให้ดิจิตอลเข้าไปมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาความยากจน และกรมที่เกี่ยวกับไซเบอร์คอนเทนต์เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการใช้ไอทีอย่างชาญฉลาด ตลอดจนการควบคุมดูแลเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม นอกจากนี้จะมีการดึงบางหน่วยงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เข้ามาอยู่กับไอซีที รวมไปถึงบางหน่วยงานที่จะเป็นปัจจัยในการพัฒนาสู่นโยบายนี้ได้

ประการสุดท้ายคือการสร้างโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติเพื่อที่จะต้องมีบริการอินเตอร์เน็ตให้เข้าถึงทุกพื้นที่เพราะประเทศเรากำลังขนส่งข้อมูลจำนวนมากโดยสื่อสารผ่านระบบอินเตอร์เน็ต จึงจำเป็นต้องมีโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่ดีเชื่อมต่อกันทุกพื้นที่ที่จำเป็นต้องเข้าถึงทุกตำบลทุกหมู่บ้าน โดยรัฐมีแผนที่จะนำไฟเบอร์ออพติกมาใช้ อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญคือการขยายการเชื่อมต่อข้อมูลผ่านระบบ 4G รวมทั้งพัฒนาระบบ 3G ให้มีความเสถียรมากขึ้นเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆที่จะถูกนำมาใช้และการเชื่อมต่ออย่างทั่วถึง

นอกจากการตอบรับนโยบายและวางแผนพัฒนาด้านเทคโนโลยีแล้ว กระทรวงอื่นๆที่เกี่ยวข้องก็มีความตื่นตัวในเรื่องนี้เช่นกัน โดยกระทรวงพาณิชย์ซึ่งเป็นกระทรวงที่ดูแลด้านการค้าที่มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นการค้าทางออนไลน์หรือบนโลกของอินเตอร์เน็ตเล็งเห็นว่าเศรษฐกิจยุคดิจิตอลนี้เป็นกุญแจสำคัญของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน จึงได้มีการวางรากฐานการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตอลให้เป็นไปได้อย่างจริงจัง 3 ประการ ได้แก่ การพัฒนาระบบดิจิตอลเพื่อรองรับการให้บริการอย่างครบวงจรเพื่อให้ผู้ประกอบการและประชาชนได้รับบริการและข้อมูล ข่าวสารจากกระทรวงฯ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดระยะเวลา ค่าใช้จ่ายและลดการใช้กระดาษ การส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์ดิจิตอล ทั้งผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์สื่อสาร และโทรคมนาคมดิจิตอล ตลอดจนการใช้ดิจิตอลรองรับภาคการผลิตกับการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยใช้สื่อดิจิตอล ประการสุดท้ายได้แก่การส่งเสริมและผลักดันธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศให้เติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยการพัฒนาผู้ประกอบการ ตลาดและศักยภาพของธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจร โดยได้มีการเปิดตัวโมบาย แอพพลิเคชั่นของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่นักลงทุนและผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งถือเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ดังกล่าว อันจะเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยให้มีความพร้อมต่อการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ ขณะเดียวกันก็ยังเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ซื้อ-ผู้นำเข้าจากต่างประเทศสำหรับการติดต่อกับนักธุรกิจไทยด้วย

อีกองค์กรหนึ่งที่ตอบรับนโยบายดิจิตอลดังกล่าวคือกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมโดยวางแผนนโยบายของกรมเพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าของธุรกิจเอสเอ็มอีในยุคดิจิตอลไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมแก่ผู้ประกอบการธุรกิจไอทีให้สามารถเริ่มต้นและดำเนินธุรกิจได้ การนำไอทีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของธุรกิจเอสเอ็มอีเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการตลาดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและสังคมออนไลน์ การส่งเสริมให้ผู้ผลิตสินค้าโอทอปที่มีศักยภาพสามารถทำการตลาดด้วยสื่อดิจิตอลและสื่อออนไลน์ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ดิจิตอล (Digital Knowledge Society) เพื่อให้ดำเนินธุรกิจกิจโดยใช้ประโยชน์จากสื่อดิจิตอลผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน การพัฒนาที่ปรึกษาธุรกิจโลกไซเบอร์ (Cyber Service Provider) เป็นต้น

การเริ่มต้นในการสร้างและขับเคลื่อนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลดังกล่าวของประเทศไทยถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีแม้จะช้าไปอยู่บ้าง แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญในการวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิตอลให้กับประเทศนั้น นอกจากจะอาศัยโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิตอล ไอที และ ระบบสารสนเทศมาช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับเศรษฐกิจแล้วควรจะรวมถึงการเปิดกว้างต่อความเปลี่ยนแปลง การให้โอกาสกับแนวคิดใหม่ๆ และการสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ที่เป็นของประเทศเราเองด้วย

By : http://telecomjournalthailand.com/

 

เศรษฐกิจเชิงดิจิตอล (Digital Economy)

เศรษฐกิจเชิงดิจิตอล (Digital Economy)

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

เมื่อวันที่ 18 ก.ย.57 ที่ผ่านมา นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้เข้าพบปะกับ พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ถึงแนวทางทำงานร่วมกันในการแก้ปัญหาต่างๆ เนื่องจากไอซีทีมองว่าต่อไปจะมีการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของกระทรวงเพิ่มเติมให้ครอบคลุมการทำงานในหลายภาคส่วนมากขึ้น โดยจะมีการตั้งคณะร่วมกันระหว่างกระทรวงกับ กสทช. เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ อาทิ การแก้กฎหมายที่ยังทับซ้อนกันระหว่างหน่วยงาน อีกทั้งยังได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลหรือ “Digital Economy” ด้วยการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกันกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในลักษณะการทำงานอย่างเดียวกันกับคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก (อีสเทิร์น ซีบอร์ด) ในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว

หลายคนอาจสงสัยว่าเศรษฐกิจยุคดิจิตอลหรือ Digital Economy นั้นคืออะไร เศรษฐกิจเชิงดิจิตอล (Digital economy) หมายถึง การใช้ระบบเว็บเบสบนอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยคำนิยามของเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy) เป็นคำที่กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกาใช้ โดยเน้นให้เห็นว่าระบบเศรษฐกิจยุคใหม่จะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีไอทีอย่างมากมาย ตั้งแต่ระบบการให้บริการออนไลน์ การซื้อขายสินค้าและบริการ การศึกษาแบบทางไกล การโอนย้ายสื่อแบบต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ดิจิตอล การให้บริการห้องสมุดดิจิตอล ตลอดจนระบบการพิมพ์หรือการจัดทำ เอกสาร ล้วนแล้วแต่เป็นดิจิตอลหมด เรามีกล้องถ่ายรูปดิจิตอล ทีวีดิจิตอล ของเล่นดิจิตอล ระบบทุกอย่างที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์จะใช้เทคโนโลยีดิจิตอลโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบปนอยู่ด้วย ดังนั้นเศรษฐกิจดิจิตอลจึงเป็นระบบเศรษฐกิจยุคใหม่ที่ไร้พรมแดนอย่างแท้จริง เครือข่ายคอมพิวเตอร์จะเชื่อมคนทุกคนในโลกให้อยู่บนเครือข่ายเดียวกัน สามารถติดต่อสื่อสาร พูดคุยกันผ่านทางเครือข่ายนี้ เป็นสังคมที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีไอทีเป็นสำคัญนั่นเอง ในส่วนของประเทศไทยนั้นจากการสำรวจของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์พบว่าปัจจุบันคนใช้เวลากับอินเตอร์เน็ตเกือบ 1 ใน 3 ของวัน หรือเฉลี่ยวันละประมาณ 7 ชั่วโมง กิจกรรมการใช้งานหลักคือการติดต่อสื่อสารและความบันเทิงรวมถึงการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แม้ว่าสัดส่วนการใช้งานอาจไม่ได้สูงมาก แต่ก็มีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็วในอนาคตข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นพฤติกรรมการซื้อที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคว่ามีความมั่นใจในการซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น โดยตลาดอีคอมเมิร์ซปี 2557 มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอันเนื่องจากการพัฒนาของเครือข่ายโทรคมนาคมที่ทำให้อินเทอร์เน็ตเข้าสู่ชีวิตประจำวันของผู้บริโภคมากขึ้น และจะทำให้โทรศัพท์เคลื่อนที่กลายเป็นช่องทางหลักในการเพิ่มยอดขายให้กับผู้ประกอบการในปัจจุบัน

นโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลนั้นมีแนวคิดมาจาก ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ ที่ตั้งเป้าวางรากฐานเศรษฐกิจไทยไปสู่โลกดิจิตอลที่ไร้พรมแดน ถือเป็นนโยบายใหม่ของประเทศไทยที่ออกมาเพื่อรองรับความก้าวหน้าทันสมัยของเทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน อย่างไรก็ตามจะต้องเริ่มจากโครงสร้างพื้นฐานของหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ในประเทศไทยที่จะต้องให้ความร่วมมือช่วยเหลือและควบรวมกันเป็นหน่วยงานเดียว ดังนั้นเร็วนี้ๆ ทางกระทรวงไอซีทีจึงมีแผนปรับบทบาทการทำงานของกระทรวงครั้งใหญ่ให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนงานต่างๆตามนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งจะมีการปรับเปลี่ยนชื่อกระทรวงใหม่ด้วยเช่นกันเพื่อให้เข้ากับบทบาทใหม่ของกระทรวง และมีความเป็นไปได้ว่าจะเปลี่ยนชื่อกระทรวงจากกระทรวงไอซีทีไปเป็นกระทรวงดิจิตอล ทั้งนี้กระทรวงไอซีทียังอยู่ระหว่างการทาบทามศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) ซึ่งขณะนี้ในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาอยู่ใต้สังกัดกระทรวงไอซีทีด้วย

ความร่วมมือกันของสองหน่วยงานนั้นเป็นเรื่องที่ได้วางแผนกันมานานแล้ว โดยสมัย น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ได้มีการเสนอคณะรัฐมนตรีที่จะแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคลื่นความถี่แห่งชาติ 3 ฉบับได้แก่ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมพ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 และ พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551   เพื่อให้สอดรับกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน

ระบบเศรษฐกิจดิจิตอลทำให้แนวโน้มของโลกเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการเปลี่ยนแนวคิดจากระบบรวมศูนย์มาเป็นแบบการกระจายให้บริการ เช่น การบริการของธนาคารผ่านเอทีเอ็ม การสร้างร้านค้ากระจายไปทุกหนทุกแห่ง โครงสร้างขององค์กรมีลักษณะติดต่อประสานรายได้สองทิศทาง ทั้งให้การจัดองค์กรมีขนาดกะทัดรัด และรูปแบบองค์กรจะแบนราบ หรือมีลำดับชั้นการบังคับบัญชาน้อยลง แต่จะมีรูปแบบลักษณะเครือข่ายเพื่อการทำงานร่วมกัน การดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ จะตัดคนกลางหรือ กิจกรรมที่อยู่ตรงกลางออกไป ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ มีลักษณะจากปลายสู่ปลาย เช่น จากผู้ผลิตสู่ผู้ใช้โดยไม่ต้องมีคนกลาง ดังนั้นเศรษฐกิจดิจิตอลจึงเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ที่ประเทศกำลังพัฒนาต้องรีบปรับตัวและใช้ประโยชน์จากกลไกทางเทคโนโลยีให้ทัน ดังนั้นหากมีการผลักดันนโยบายเรื่องเศรษฐกิจดิจิตอลนี้ให้สำเร็จย่อมจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวไกลให้ทันประเทศอื่นมากขึ้น และมีแนวโน้มว่าประชาชนจะมีความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวัน อีกทั้งเป็นการกระตุ้นการลงทุนภายในประเทศให้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

By http://telecomjournalthailand.com/