"TURN EXPERIENCE TO VICTORY"

Litigation

Litigation

Posted by on May 16, 2013

James & Partners Law Offices provides and assists our clients into several courts in any types of case in Thailand including breach of contract case, joint venture dispute case, governmental Case, tax dispute case, insurance dispute case, debt enforcement, tort, international trade dispute, general criminal case, securitization case, fraud and embezzlement case, labor dispute case, bankruptcy and rehabilitation case, family dispute case, prosecution and defense of white collar crimes, DSI accusation. Experience – Thailand-lawyer/ Litigation (Government Contracts) The firm represented Pollution Control Department, Ministry of Natural Resources and Environment in a white collar crime case relating to public contracts in Thailand. This was the first time in history that Thai government retained a specialized private law firm to replace the Attorney General’s office as the representative of the authority. The firm acted as plaintiff’s attorney in taking legal action against nineteen defendants who were former politicians and powerful construction contractors. The amount claimed in the complaint was approximately Baht 30 Billion, representing the biggest cheating case ever filed with Thai court. In November 2005 the court made a ruling that the...

Read More

Company Registration

Company Registration

Posted by on May 16, 2013

James &Partners Law Offices provides wide ranges of corporate services for Thai and foreign clients such as Limited Company Registration,  company’s name reservation include select business entities, Memorandum  Registration, Joining as a Company Promoter, one day registration, company promoter, company director, power of director, 25 % paid-up, Drafting  Article of association, TAX &VAT registration  for company, requiring for any business license(FBC,FBL ), dissolution, M&A. furthermore, we also assisted our  client in drafting reviewing any types of agreements,  and draft relevant legal opinion for our client. Guideline for setting Limited Company in Thailand by James and Partners Law Offices Steps for limited company registration under the Laws of Thailand 1. Corporate Name Reservation The reserved name must not be repeatable or similar to name of other registered companies, which approved by the Commercial Registration Department at the Ministry of Commerce (“MOC”) before. After that, the approved corporate name must be registered within 30 days. Note: Company name reservation must be done via Department of Business Development (“DBD”) website only the process should not spend time more than 30 minutes 2. Memorandum Registration...

Read More

Visa & Work Permit

SPECIAL PACKAGES FOR FOREIGNERS ARRIVED THAILAND

Posted by on May 8, 2021

English Russian Chinese Japanese Korean English Russian Chinese Japanese...

Read More

BOI

BOI

BOI

Posted by on May 16, 2013

James & Partners Law Offices provides several legal practices in connection with investment field. We assist our client to obtain BOI’s promotion in every step including filing and revising BOI application and supporting documents, following up and dealing with BOI’s officers, advising eligible business types under BOI promotion for our clients.  We also advised on benefits and rights of clients under BOI such as collecting FBC under BOI, setting up company under BOI’s benefits and rights, filing applications for expats or workers of clients under BOI promotion and purchasing of real estate for client under BOI promotion. After obtaining BOI we assist our client to make annual report to BOI’s official.  Our office assist investors who want to invest in Thailand and other Asean countries toward the opening of AEC in 2105. Enhancing Competitiveness and Investment Facilitation • Offers an attractive and competitive package of tax incentives. • Imposes no foreign equity restrictions on manufacturing activities or on some service. • Provide assistance in the provision of visas and work permits to facilitate entry and        subsequent operation for...

Read More

Recent Posts

เศรษฐกิจดิจิตอลกระตุ้นการลงทุน

เศรษฐกิจดิจิตอลกระตุ้นการลงทุน

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

ในสัปดาห์ที่ผ่านมาท่านผู้อ่านคงพอได้ทราบข่าวความคืบหน้าเกี่ยวกับร่างกลุ่มกฎหมาย ดิจิตอล เนื่องจากที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเอกฉันท์ 158 คน เห็นชอบหลักการวาระแรก ร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เพื่อจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา 17 คน โดยมีระยะการดำเนินงานภายใน 30 วัน โดยสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวกำหนดให้มีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีส่วนราชการประกอบด้วยสำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานสถิติแห่งชาติ และให้ยกเลิก กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และให้ถ่ายโอนอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง และมติ ครม.ของสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และของข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้าง ไปเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านดิจิทัล มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศและเศรษฐกิจ สังคม ฐานความรู้ และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ แต่กระทรวงไอซีทียังคงมีข้อจำกัดในขอบเขตของอำนาจอยู่เพียงแค่เรื่องของเทคโนโลยีและข้อจำกัดเรื่องเจ้าหน้าที่และบุคลากรที่ไม่เพียงพอ โดยในปีที่ผ่านมาจากข้อมูลของหอการค้า ได้ระบุว่าระบบเทคโนโลยีดิจิตอลมีมูลค่าทางธุรกิจถึง 1.2 ล้านล้านบาท คิดเป็น 10% ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

นอกจากนี้แล้วร่างกฎหมายดิจิตอลที่คาดว่าจะเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในลำดับถัดไปคือร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ซึ่งได้รวมกฎหมาย 3 ฉบับไว้ในฉบับเดียวกัน คือกฎหมายการพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กฎหมายการส่งเสริม เศรษฐกิจดิจิตอล และกฎหมายกองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) ที่ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว

ส่วนร่างกฎหมายเพื่อขับเคลื่อน เศรษฐกิจดิจิตอล ฉบับอื่นๆ ยังไม่มีการบรรจุเป็นวาระให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในครั้งนี้ คาดว่าอาจจะต้องรอเสนอในที่ประชุมในคราวถัดไป ร่างกฎหมายอื่นๆ เช่น ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) และร่างกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้มีการแยก พ.ร.บ.เป็น 2 ฉบับ คือ ร่าง พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ยังอยู่ระหว่างการแก้ไขของกรรมการกฤษฎีกา

จากการที่รัฐบาลได้เดินหน้าส่งเสริมนโยบาย เศรษฐกิจดิจิตอล และมีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาบังคับใช้นั้น ทำให้นักลงทุนจากต่างประเทศให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมากขึ้นทั้งจากประเทศญี่ปุ่น อังกฤษและเกาหลีใต้ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นที่ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ทำการลงนามในแถลงการณ์ร่วมกับนางซะนะเอะ ทาคาอิชิ รัฐมนตรีว่าการกิจการภายในและการสื่อสารของประเทศญี่ปุ่นเพื่อความร่วมมือด้านไอซีทีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ประกอบด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการป้องกันภัยพิบัติ ซึ่งทางญี่ปุ่นทั้งส่วนราชการและเอกชนมีความก้าวหน้าด้านนี้มาก จึงเสนอให้มีความร่วมมือพัฒนาอุปกรณ์ บุคลากร การเตรียมการช่วยเหลือประชาชนทั้งการเตือนก่อนเกิดภัยพิบัติ และการกู้ภัยหลังเกิดเหตุภัยพิบัติ เช่น ดินถล่ม พายุ และแผ่นดินไหว เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเรื่องความร่วมมือด้านกิจการไปรษณีย์เพื่อสนับสนุนการค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-คอมเมิร์ช โดยเฉพาะสินค้าผ่านแดนและระบบโลจิสติกส์ขณะเดียวกัน นางซะนะเอะได้นำภาคเอกชนจาก 55 บริษัท มีทั้งด้านไอซีทีและการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ มาประเทศไทยเพื่อให้เกิดความร่วมมือกับภาคเอกชนไทย และมาดูแนวทางการลงทุนในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ด้านไอทีที่ประเทศไทยสนับสนุนให้เกิดขึ้นในอนาคตตามนโยบาย เศรษฐกิจดิจิตอล ซึ่งนักธุรกิจที่ร่วมคณะมาครั้งนี้มีประธานบริษัท เอ็นอีซี ของญี่ปุ่นด้วยที่สนใจจะมาขยายการลงทุนในประเทศไทย โดยสนใจลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเพื่อใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตส่งสินค้าไปขายในประเทศเพื่อนบ้าน

อย่างไรก็ตาม กสทช. ยังได้มีการเสนอความร่วมมือในการพัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีการแพร่สัญญาณภาพ และเสียงในระบบ 4K และ 8K ซึ่งได้มีการนำระบบนี้มาสาธิตแล้วครั้งหนึ่งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากและได้เสนอให้มีการแลกเปลี่ยนเนื้อหารายการร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการทั้งสองฝ่ายจึงได้จัดให้ผู้ประกอบการจากประเทศญี่ปุ่น 11 รายที่ร่วมเดินทางมาในคณะในครั้งนี้มาออกบูทนำเสนอเทคโนโลยี 4K และรายการต่อผู้ประกอบการไทยเพื่อให้ได้เลือกซื้อเนื้อหารายการที่น่าสนใจมานำเสนอเพื่อให้เกิดธุรกิจร่วมกันอีกด้วย

ส่วนความคืบหน้าด้านการดำเนินการผลักดันด้าน เศรษฐกิจดิจิตอล ในประเทศนั้น คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ตั้งเป้าหมายภายในระยะเวลา 3 ปี จะสามารถส่งเสริมการค้าผ่านสื่อดิจิทัลให้ SMEs ไม่ต่ำกว่า 20,000 ราย ให้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำธุรกิจแบบออนไลน์ได้อย่างเต็มรูปแบบและสร้างธุรกิจเกิดใหม่ดิจิทัลไม่ต่ำกว่า 300 ราย รวมถึงการสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างนวัตกรรมด้านบริการใหม่และธุรกิจใหม่ที่ตลาดต้องการรวมกันไม่ต่ำกว่า 1,500 ราย ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยนั้นมีความก้าวหน้าทัดเทียมประเทศอื่นๆทางด้านการทำธุรกรรมออนไลน์ อันจะส่งผลให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจขึ้นเป็นอย่างมาก

Source : http://telecomjournalthailand.com/

ธุรกิจให้เช่าเสาโทรคมนาคม

ธุรกิจให้เช่าเสาโทรคมนาคม

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

หลายท่านอาจจะได้ยินคำว่า “TowerCo” กันบ้างในช่วงนี้อันสืบเนื่องมาจากข่าวที่ว่า TOT มีความคิดที่จะนำทรัพย์สินที่ตนครอบครองอยู่ออกใช้สร้างรายได้เพราะ TOT นั้นเป็นองค์กรที่มีทรัพย์สินในมืออยู่มากโดยเฉพาะคลื่นความถี่และ เสาโทรคมนาคม ผู้เขียนนั้นได้เคยกล่าวถึงเรื่องนี้มาบ้างแล้วในฉบับก่อนๆ ในฉบับนี้เราจึงจะมาเจาะลึกถึงความเป็นมา รายละเอียดของการใช้โครงสร้างพื้นฐานหรือ เสาโทรคมนาคม ร่วมกันโดยเฉพาะธุรกิจให้เช่า เสาโทรคมนาคม หรือ TowerCo ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจในขณะนี้

เนื่องจากปัจจุบันผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมต้องเผชิญกับความท้าทายในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านการแข่งขันในการให้บริการที่มีมากขึ้นอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ซึ่งทำให้ต้องมีการลงทุนในโครงข่ายเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมากจึงทำให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมในหลายๆ ประเทศคิดถึงการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน หรือที่เรียกว่า Infrastructure Sharing มากยิ่งขึ้นด้วยการจัดตั้งบริษัทที่เป็นเจ้าของ เสาโทรคมนาคม ขึ้นมาเป็นการเฉพาะแล้วนำบรรดา เสาโทรคมนาคม นั้นออกให้เช่าซึ่งมักจะเรียกชื่อโดยย่อกันว่า “TowerCo” การให้เช่า เสาโทรคมนาคม นี้ได้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง จากในหลายๆโมเดลธุรกิจจากทั่วโลก เราจะเห็นรายชื่อ TowerCo จำนวนนับไม่ถ้วนซึ่ง TowerCo เหล่านี้ จะมีการติดตั้งเสาไว้แล้ว ผู้ประกอบการหรือโอเปอเรเตอร์เพียงแค่เข้าไปลงทะเบียนเช่าใช้เสาในบริเวณที่ตนเองต้องการ ซึ่งธุรกิจ TowerCo นั้น เปิดให้บริการเป็นออนไลน์แล้วในต่างประเทศ สำหรับการตั้งบริษัท TowerCo นั้น มีหลากหลายรูปแบบอาจเป็นโอเปอเรเตอร์ร่วมทุนกันตั้งเป็นบริษัทใหม่ขึ้นมาทำ TowerCo โดยเฉพาะหรือแม้แต่รูปแบบที่โอเปอเรเตอร์ที่ได้รับใบอนุญาตคลื่นความถี่จะตั้งเสาเองก็มีเช่นเดียวกัน

หลักการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันนี้เป็นหลักการที่ได้รับการยอมรับแพร่หลายในประเทศต่างๆ ที่มีการพัฒนาทางด้านโทรคมนาคมแล้วโดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาที่จะพบว่ามีบริษัทที่ให้บริการเช่า เสาโทรคมนาคม สำหรับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวนหลายราย เช่น The Mid-Atlantic Broadband Co-operative หรือ MBC ที่มีเสาครอบคลุมในเขตรัฐเวอร์จิเนีย MBC ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2000 ด้วยสาเหตุที่ต้องการลดปัญหาในช่วงที่เกิดวิกฤตทางสังคมและเศรษฐกิจอันมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงภาวะเศรษฐกิจโลก โดยในขณะที่หลายๆ อุตสาหกรรมต้องปิดตัวลงและผู้คนต่างสูญเสียงานที่ทำ แต่ MBC กลับเล็งเห็นถึงตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ในชนบทของรัฐเวอร์จิเนียที่ยังไม่มีการแข่งขันในการให้บริการโทรคมนาคมและอัตราค่าบริการที่มีราคาสูง อีกทั้งผู้ให้บริการที่มีอยู่นั้นไม่มีแผนที่จะขยายการเข้าถึงบรอดแบนด์ให้แพร่หลายในภูมิภาค ด้วยเหตุดังกล่าว MBC จึงได้สร้างเสาโทรคมนาคมที่เชื่อมต่อกับ fiber – backbone เพื่อที่จะสร้างแรงจูงใจให้กับบรรดาผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายในการจัดหาทั้งเสียงและบริการบรอดแบนด์ลงไปยังพื้นที่ที่ยังขาดแคลน ปัจจุบัน MBC นับว่าเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จอย่างมากและยังคงมีเสาโทรคมนาคมให้เช่าอยู่ เช่นเดียวกับบริษัทให้เช่าเสาโทรคมนาคมจาก North Carolina ที่จากเดิมเป็นธุรกิจเล็กๆที่ตอนนี้ได้ขยายตัวไปครอบคลุมทั่วสหรัฐอเมริกา

สำหรับประเทศไทยนั้น คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้ออกกฎหมายเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ที่จะช่วยส่งเสริมและพัฒนากิจการโทรคมนาคมให้ก้าวไปพร้อมกับการมี 3G บนคลื่นความถี่มาตรฐาน 2.1 GHz จำนวนหลายฉบับ หนึ่งในนั้นก็คือประกาศเรื่องการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.2556 หรือหลักการ Infrastructure Sharing นั่นเอง ทั้งนี้ในประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านโทรคมนาคมแล้ว การทำ Infrastructure Sharing ด้วย TowerCo เป็นสิ่งที่ทำกันอย่างแพร่หลายทั่วโลกยกเว้นประเทศไทยเพราะถูกผูกขาดโดยสัญญาสัมปทาน แต่เมื่อสัญญาสัมปทานหมด สินทรัพย์โครงข่าย อาทิ เสาสัญญาณ หรือสายไฟเบอร์ต่างๆ จะตกเป็นของ ทีโอที และ กสท. ซึ่งจะนำไปสินทรัพย์ดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ดังนั้นแทนที่ผู้ให้บริการคลื่นความถี่ต้องลงทุนอีกมหาศาล เพราะจะต้องสร้างเสาหรือ Tower เป็นของตนเองและการ Roll Out โครงข่ายจะเกิดขึ้นช้ามาก แต่ถ้ามี TowerCo อยู่แล้ว โอเปอเรเตอร์เพียงแค่นำอุปกรณ์ไปติดตั้งไว้บนเสา การ Roll Out Network จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วแบบมีนัยสำคัญและต้นทุนจะลดต่ำลง 20-40%ได้หากมีการบริหารจัดการที่ดี ที่สำคัญกว่านั้นคือโอเปอเรเตอร์ไม่ต้องกังวลต่อการสร้างโครงสร้างพื้นฐานแต่มุ่งเน้นในด้านความสามารถหลักของตัวเอง อาทิ การให้บริการ การทำแคมเปญการตลาด เป็นต้น อีกทั้งยังไม่ต้องกังวลใจต่อการลงทุนด้านการบำรุงรักษาโครงข่ายอีกด้วย หากสามารถผลักดันให้ TowerCo เกิดขึ้นได้ ผลประโยชน์มากมายจะเกิดขึ้นกับประเทศชาติ อาทิ การลงทุนที่ไม่ซ้ำซ้อน สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างมีคุณค่า ธุรกิจจะเกิดการจัดสรรปันส่วนที่ชัดเจน เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมโดยไม่มีการผูกขาดส่วนใดส่วนหนึ่งและทุกคนต้องได้รับประโยชน์ทั่วถึง นอกจากนี้เมื่อมีการลงทุนน้อยผู้บริโภคย่อมจะได้รับบริการในราคาที่เป็นธรรมด้วย

นอกจากนี้ด้วยข้อด้อยของคลื่นความถี่ 2.1GHz ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมแคบ จึงทำให้ต้องมีการสร้างเสาและลงทุนมากซึ่งเสาแต่ละต้นมูลค่าในการลงทุนอยู่ประมาณ 3-4 ล้านบาท รวมค่าใช้จ่ายทุกอย่างและค่าที่ดินด้วย ถ้าจะต้องวางให้ครอบคลุมทั่วประเทศจำเป็นต้องใช้เป็นหมื่นเสา คิดเป็นงบประมาณลงทุนถึง 3-4 หมื่นล้านบาทเฉพาะการลงทุนตั้งเสาเท่านั้น ดังนั้นหากมี TowerCo ใน 1 เสา ก็สามารถใช้ร่วมกันได้ในระหว่างหลายโอเปอเรเตอร์ หมดปัญหาข้อขัดแย้งกันในเรื่องพื้นที่ตั้งเสาเพราะมีบริษัทที่ทำ TowerCo บริหารจัดการให้ เพียงแค่โอเปอเรเตอร์ระบุว่า ต้องการพื้นที่ครอบคลุมจุดใด บริเวณใดเท่านั้น

ถึงแม้ว่าหลักการข้างต้นจะมีข้อดีอยู่มากมายในต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตามการจัดตั้ง TowerCo ตามแนวคิดที่ TOT กำลังจะดำเนินการนั้นอาจติดขัดด้วยปัญหาก็ได้ในทางปฏิบัติหรือไม่เพราะการให้แต่ละโอปอเรเตอร์เข้ามาร่วมมือด้วยการใช้ร่วมกันนั้นอาจเกิดขึ้นไม่ง่ายนัก ทั้งนี้เพราะโครงข่ายเช่นเสาที่แต่ละโอปอเรเตอร์ลงทุนไปนั้นเป็นทรัพย์สินส่วนตัวและเป็นความมั่นคงภายในของบริษัทนั้นๆจึงมีแนวโน้มที่แต่ละบริษัทจะลงทุนตั้งเสาของตนเอง อีกทั้งยังเลือกในพื้นที่ลงทุนซึ่งมีลูกค้าและมองเห็นกำไรที่คุ้มค่า ที่สำคัญคือองค์กรเหล่านั้นอาจมองว่าหากนำสินทรัพย์ที่มีมาแบ่งให้คนอื่นเช่าใช้แล้วความมั่นคงอาจจะสูญเสียได้ การจะส่งเสริมให้มีการสร้างโครงข่ายพื้นฐานร่วมกันเช่น เสาโทรคมนาคม จึงอาจไม่ได้รับกระแสตอบรับที่ดีนักก็ได้เนื่องจากผู้ประกอบการแต่ละรายต่างก็คิดจะสร้างโครงข่ายเฉพาะของตนเองเท่านั้นเพราะไม่ได้มีกฎหมายออกมาห้ามแต่อย่างใด

Source : http://telecomjournalthailand.com/