"TURN EXPERIENCE TO VICTORY"

Do Skilled Labor know about AEC benefits?

Do Skilled Labor know about AEC benefits?

According to agreements between member countries of ASEAN Economic Community (AEC), in 2015 at AEC will cause free flow of labor especially skilled labor or professionals among AEC members. To explain this, all AEC members have recognized and agreed in Mutual Recognition Arrangements (MRA) for seven professional fields which consist of engineering services, nursing services, architectural services, surveying qualifications, medical practitioners, dental practitioners and accountancy services. These seven professional fields can work across AEC country members freely under MRA. However, skilled workers must register their profession, or obtain job certification, or pass specific job tests of the host nation. Many countries have begun to preparing their people to meet a good opportunity and to be able to race in AEC Market.

In Thailand case, education system in Thailand has produced substantial number of graduators from 7 professional fields into labor market in every year. It can be expected that Thailand will not lack professionals or skilled labors in Thailand. However, it is not easy for Thai skilled labor to be success in AEC labor market. Based on the current research from University of Thai Chamber of Commerce (UTCC), Thailand had yet to prepare for the new challenges that will be presented by the AEC. Many Thai labors are still in lack of understanding about AEC and they see AEC in the way that is not much benefit for them. In addition, many Thai professionals do not prefer to work abroad and do not want to compete with other country members in AEC.

It can be seen from the research that only 50 per cent of dental practitioners in Thailand had a good understanding of the AEC but most of them saw no real benefit from AEC to their careers. Similarly with architecture, half of Thai architects are still in lack of a good understanding of AEC and recognize its benefits. However, they see it as a good opportunity to work abroad, especially in Brunei, Cambodia, Laos, Myanmar and Vietnam.

However, medical practitioners are different from dentists and architectures. It can be seen that 50 percent of medical practitioners did anticipate and hope to enjoy some benefits from AEC. However, they preferred to stay in Thailand rather than any other ASEAN country because of the Kingdom’s high standards of medical services. They also don’t want to have to adjust to new cultures. Many doctors prefer to go to developed countries in North America or Europe when they upgrade and grow their career paths.
Furthermore, only 30 percent of Thai engineers knew AEC well, and only 10 per cent saw it as beneficial. Thai engineers work to comparable standards to Singapore and the Philippines, but they have a disadvantage in term of English-language ability.
Similarly, only 20 percent of nurses had a good understanding of AEC and recognized its benefits. They also had little interest in working abroad, particularly in ASEAN countries.

Although 80 percent of accountants had a good understanding of AEC, only 50 percent think AEC will have benefits for their career.
To solve this problem, Government of Thailand should consider working harder on educating the skilled labors or the related professional fields about the benefits and opportunities of AEC before AEC will start in next two years. Government should change attitude of Thai skilled labors and encourage them to be prepared to work in AEC labor market outside Thailand as well.
To be successful in labor market, skilled labors should have good understanding in goals and benefits of AEC, including cultural in each member country and good language skills, especially English for communication.

Furthermore, many universities in Thailand should be more strict about the quality of their graduators and not only quantity. After the opening of AEC Thai graduators must be able to compete with oversea labors in their career.

700 MHz ควรใช้ในกิจการใด ?

700 MHz ควรใช้ในกิจการใด ?

 

ท่านผู้อ่านหลายท่านที่ติดตามข่าวสารในแวดวงโทรคมนาคมและวิทยุโทรทัศน์คงทราบเรื่องคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ที่เป็นประเด็นอยู่ในขณะนี้อยู่บ้าง หากลองสังเกตจากในต่างประเทศจะพบว่าคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ถูกนำไปใช้ทั้งในกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม อาทิ ประเทศแคนาดา อังกฤษ อเมริกา ใช้คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz สำหรับกิจการโทรทัศน์ในระบบทีวีดิจิตอล ในขณะที่ประเทศออสเตรเลีย บราซิล บรูไน อินโดนิเซีย สิงคโปร์และประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ใช้คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ในกิจการโทรคมนาคมสำหรับทำ 4G หรือ LTE

สำหรับในประเทศไทยมี 2 แนวความคิดเห็นที่แตกต่างกัน แนวความเห็นแรกคือคลื่นความถี่ 700 MHz ควรใช้สำหรับกิจการโทรคมนาคม แนวความคิดนี้อ้างอิงตามมาตรฐานของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU ที่ได้กำหนดให้คลื่นความถี่ในย่าน 698 – 806 MHz ซึ่งรวมถึงย่าน 700 MHz ใช้สำหรับกิจการโทรคมนาคม

ประกอบกับการที่มีรายงานการศึกษาโดยบริษัท Boston Consulting Group ในหัวข้อ Socio-Economic Benefit of Assigning the Digital Dividend to Mobile in Thailand ที่ได้เปรียบเทียบการนำคลื่นความถี่ 700 MHz มาใช้ในกิจการโทรทัศน์กับกิจการโทรคมนาคมในประเทศไทย การเปรียบเทียบดังกล่าวเป็นการเปรียบเทียบในแง่ของเศรษฐศาสตร์ในปัจจัย 4 ประการ คือการเติบโตของ GDP การจ้างงานที่จะเกิดขึ้น ธุรกิจใหม่ที่จะเกิดขึ้นและค่าธรรมเนียมกับภาษีที่รัฐจะเก็บได้ โดยผลการเปรียบเทียบของ Boston Consulting Group เผยว่าหากนำคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz มาใช้ในกิจการโทรคมนาคมจะก่อให้เกิดประโยชน์ด้านการเติบโตของ GDP มากกว่าการนำมาใช้ในกิจการโทรทัศน์เป็นจำนวน 14,800 ล้านเหรียญสหรัฐภายในช่วงเวลา 7 ปี คือจากพ.ศ. 2557 – พ.ศ. 2563 ตำแหน่งงานใหม่จะเกิดขึ้นจำนวน 55,000 ตำแหน่ง รวมถึงธุรกิจใหม่จำนวน 30,000 หน่วย ส่วนของรายได้ค่าธรรมเนียมภาษีที่รัฐจะเก็บได้นั้น กิจการโทรคมนาคมก็จะสามารถสร้างรายได้ให้ภาครัฐได้มากกว่าเป็นจำนวน 2,400 ล้านเหรียญสหรัฐ

นอกจากรายงานผลการศึกษาในเชิงเศรษฐศาสตร์แล้ว ยังมีการรายงานว่าหากประเทศไทยนำคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz มาใช้ในกิจการโทรทัศน์จะก่อให้เกิดการรบกวนกันของคลื่นและปัญหาในการประสานงานคลื่นความถี่กับประเทศเพื่อนบ้านที่นำคลื่นความถี่ 700 MHz ไปใช้ในกิจการโทรคมนาคม อย่างเช่น อินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว มาเลเซีย และพม่า ที่ได้ใช้คลื่นความถี่ 700 MHz ในการทำอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ในทางตรงกันข้ามหากกำหนดการใช้คลื่นความถี่อย่างสอดคล้องกันนอกจากจะขจัดปัญหาดังกล่าวไปได้แล้ว ยังส่งผลให้อุปกรณ์การสื่อสารไร้สายมีราคาถูกลง ช่วยให้ผู้ผลิตบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตลาดที่กว้างขึ้น ผู้บริโภคมีตัวเลือกที่มากขึ้น รวมไปถึงการที่นักท่องเที่ยวขาเข้าและขาออกของประเทศสามารถตรวจหาสัญญาณคลื่นความถี่เพื่อใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อย่างครอบคลุมมากขึ้นอีกด้วย

การกำหนดว่าจะใช้คลื่นความถี่ 700 MHz สำหรับกิจการใดนั้นคงจะไม่ใช่เรื่องของประเทศไทยแต่เพียงเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากการที่สมาคม GSMA หรือ The GSM Association ซึ่งเป็นองค์กรการค้าระดับโลกองค์กรหนึ่ง มีสมาชิกประกอบด้วยผู้ให้บริการสื่อสารเคลื่อนที่ในระบบ GSM จำนวนมากกว่า 700 รายใน 218 ประเทศทั่วโลก โดยที่ในจำนวนดังกล่าวเป็นบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์สื่อสารระบบ GSM จำนวนมากกว่า 190 รายเป็นสมาชิกหลัก ได้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เมื่อวันที่ 17 มิถุนายนที่ผ่านมาว่าขอให้ กสทช. ทบทวนการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกับแผนย่านความถี่ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ Asia Pacific Telecommunity Band Plan ที่จะใช้คลื่นของย่านความถี่ 700 MHz สำหรับกิจการโทรคมนาคมในการทำโมบายบรอดแบนด์ อันเป็นมาตรฐานสากล ซึ่งหากประเทศไทยจะนำเอาคลื่นความถี่ 700 MHz ไปใช้กับกิจการโทรทัศน์ก็จะส่งผลกระทบต่อประเทศเพื่อนบ้านในแง่ของคลื่นสัญญาณที่จะรบกวนกัน

ส่วนแนวความเห็นที่สองที่จะนำคลื่นความถี่ 700 MHz มาใช้สำหรับกิจการโทรทัศน์นั้นอ้างอิงตามแผนความถี่ทีวีดิจิตอลที่กำหนดให้ช่วงความถี่ย่าน 510 – 790 MHz เป็นคลื่นความถี่สำหรับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยแผนความถี่ทีวีดิจิตอลนี้เป็นไปตามประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุสําหรับกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2555 ซึ่งกำหนดชัดเจนแล้วว่าคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz จะใช้ในกิจการโทรทัศน์ รวมถึงแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมก็ไม่ได้กำหนดให้คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ไว้ใช้สำหรับกิจการโทรคมนาคมด้วยแต่อย่างใด ประกอบกับคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ถือว่าเป็นย่าน Low Band ที่มีข้อดีคือส่งสัญญาณได้ไกล ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้าง แต่คลื่นความถี่ย่านนี้มีปริมาณความถี่ให้จัดสรรได้น้อย อาจไม่เพียงพอต่อการรองรับปริมาณการเติบโตของข้อมูล (Data) ในระยะยาวได้หากนำไปใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่

อย่างไรก็ดีจากสถานการณ์ปัจจุบันแนวความคิดที่ว่าจะนำคลื่นความถี่ 700 MHz มาใช้ในกิจการโทรทัศน์นั้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลมากขึ้น โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เสนอต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อให้จัดการใช้คลื่นความถี่ของประเทศไทยใหม่ จากเดิมที่กำหนดให้ช่วงคลื่นความถี่ 510 – 790 MHz ใช้ในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ แก้ไขเป็นช่วงความถี่ 470 – 698 MHz แทน โดยไม่รวมคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ไปไว้ในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์อีกต่อไป

การเสนอให้แก้ไขแผนความถี่ทีวีดิจิตอลจากที่กำหนดช่วงความถี่ 510 – 790 MHz ให้ขยับเป็น 470 – 698 MHz นั้นก็อาจจะยังไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้เนื่องจากในปัจจุบันคลื่นความถี่ 470 MHz นั้นถูกใช้ในกิจการโทรคมนาคมและมีหน่วยงานที่ใช้คลื่นความถี่ย่านนี้อยู่ประมาณ 10 แห่ง เช่น บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กับทั้งยังไม่ตรงกับที่สมาคม GSMA เสนอว่าประเทศไทยควรใช้ย่านความถี่ 510 – 698 MHz สำหรับการประมูลช่องทีวีดิจิตอล และไม่ตรงกับที่ ITU กำหนดช่วงคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม คือ 698 – 806 MHz อีกด้วย ขณะนี้จึงควรติดตามดูกันต่อไปในการประชุมใหญ่ระดับโลกว่าด้วยวิทยุคมนาคม 2015 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 1 – 5 กรกฎาคมนี้ ประเทศไทยจะมีการประกาศการเปลี่ยนแปลงใดๆ อย่างเป็นทางการออกมาหรือไม่

ศูนย์กลางโทรคมนาคม AEC

ศูนย์กลางโทรคมนาคม AEC

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

กิจการโทรคมนาคม (Telecommunications) เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีส่วนสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ ความทันสมัยและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคมช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารทำได้โดยง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนของกิจการ เป็นผลให้กิจการโทรคมนาคมกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของทั้งประเทศไทยและผู้ประกอบการไทยรวมไปถึงช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัวอีกด้วย

ในการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กระทรวง ICT) มีนโยบายที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางโทรคมนาคมของอาเซียน จึงมีการดำเนินการหลายๆ อย่างที่จะช่วยให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางโทรคมนาคมของอาเซียนในที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของภาคอุตสาหกรรม ICT ในด้านต่างๆ ทั้งด้านโทรคมนาคม ด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ ด้านแอนิเมชั่น ด้านเกม ด้านอุตสาหกรรมผลิตคอมพิวเตอร์ ด้านการให้บริการโครงข่าย เป็นต้น ทั้งยังมีการรวบรวมข้อมูลสถานภาพของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ICT และภาพรวมของอุตสาหกรรม ICT การจัดตั้งสถาบันเฉพาะทางด้าน ICT หรือ ICT Academy เพื่อเป็นแหล่งพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ให้มีศักยภาพและทักษะฝีมือสูงเพียงพอที่จะลงสนามแข่งขันในตลาดระดับภูมิภาค รวมไปถึงการเตรียมวางกรอบมาตรฐานวิชาชีพ ICT เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายบุคลากรด้าน ICT ของภูมิภาคอาเซียนเมื่อเข้าสู่การเป็น AEC แล้ว นอกจากนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับด้านงานราชการก็ยังมีสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. ที่ได้นำเทคโนโลยี Cloud Computing มาใช้ในระบบราชการไทย โดยการตั้ง Government Cloud Service ขึ้นตามนโยบายของกระทรวง ICT ซึ่ง Government Cloud Service นี้จะช่วยส่งเสริมระบบการทำงานของส่วนราชการให้สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ด้านภาคเอกชนในอุตสาหกรรม ICT ก็ตื่นตัวกับการเข้าสู่ AEC เช่นกัน บรรดาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม ICT รวมไปถึงผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคมต่างมีการเตรียมความพร้อมรับการเข้าสู่การเป็น AEC อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม Capacity เพื่อรองรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปิด AEC มีการหาหุ้นส่วนหรือพาร์ทเนอร์เพื่อร่วมลงทุนด้านโครงข่ายในประเทศเพื่อนบ้าน และการเชื่อมโครงข่ายกับผู้ให้บริการในต่างประเทศอันเป็นวิธีการขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมประเทศในภูมิภาคอาเซียนทั้งหมดวิธีหนึ่ง ทั้งยังเป็นการปรับตัวให้เป็นไปตามนโยบายของอาเซียนที่ต้องการให้อาเซียนเป็นหนึ่งเดียว มีการเปิดเสรีในหลายๆ ด้านรวมไปถึงด้านกิจการโทรคมนาคมด้วย การเปิดเสรีนี้จะทำให้ผู้ให้บริการทุกรายในอาเซียนแข่งขันอยู่ในสนามเดียวกัน ผู้ให้บริการจากประเทศอื่นในอาเซียนก็จะสามารถให้บริการในประเทศไทยได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้ให้บริการไทยจึงอาจพิจารณาความเหมาะสมในการขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียนเพื่อแข่งขันกับผู้ให้บริการรายอื่นรวมทั้งอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการชาวไทยเมื่อเดินทางไปในประเทศอื่นๆ ในอาเซียนด้วยนั่นเอง ทั้งนี้อุตสาหกรรม ICT บรรจุไว้ในสาขาเร่งรัดของการเปิดเสรีภาคบริการ (Fast Track) คือสำหรับประเทศที่รับรองแล้วต้องไม่มีข้อจำกัดการให้บริการข้ามพรมแดน ทยอยให้ต่างชาติถือหุ้นได้ร้อยละ 70 และเปิดให้คนต่างชาติเข้ามาทำงานด้านกิจการโทรคมนาคมในประเทศไทยได้ในปี ค.ศ. 2013

ทางด้านคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมของประเทศไทยก็มีการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่เออีซี เช่นกัน เบื้องต้น กสทช. มีการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนการปฏิบัติเพื่อรองรับการเปิดเออีซีผ่านการจัดทำแผนแม่บทพัฒนากิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555 – 2559) ซึ่งหนึ่งในหกยุทธศาสตร์ที่ กสทช. จัดทำขึ้นคือการเตรียมความพร้อมและการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ นอกจากนี้ กสทช. ยังมีความพยายามที่จะแก้ประกาศหลายฉบับของ กทช. เดิม เพื่อผ่อนคลายกฎระเบียบหรือลดความตึงของประกาศ (Deregulated) ให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมสามารถเติบโตได้ดีขึ้น อันเป็นการเพิ่มการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคมที่ในปัจจุบันมีผู้ประกอบการน้อยรายหากเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียนที่มีการพัฒนาด้านโทรคมนาคมสูงอย่าง สิงคโปร์ มาเลเซีย การแข่งขันสูงในตลาดนี้จะช่วยให้คุณภาพการให้บริการดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ กสทช. ยังมีการทำข้อตกลงกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้ศึกษาหาข้อเสนอแนะในการวางทิศทางเมื่อเปิดเออีซีอีกด้วย

แต่เรื่องนี้จะไม่กล่าวถึงคู่แข่งที่สำคัญคือประเทศสิงคโปร์นั้นไม่ได้ ปัจจุบันประเทศสิงคโปร์เป็นสมาชิกอาเซียนที่มีการพัฒนาด้านกิจการโทรคมนาคมและการสื่อสารล้ำหน้าที่สุดในอาเซียน มีความเจริญด้านเทคโนโลยีต่างๆ และมีการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมที่ค่อนข้างสมบูรณ์เนื่องจากมีหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมมานานแล้ว อีกทั้งบรรดาผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ICT รวมทั้งกิจการโทรคมนาคมระดับโลกต่างก็ใช้สิงคโปร์เป็นฐานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของภูมิภาคอาเซียน บางบริษัทมีการตั้งสำนักงานระดับเอเชีย-แปซิฟิกในสิงคโปร์ แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรม ICT ของสิงคโปร์อยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดีประเทศไทยมีข้อได้เปรียบตรงที่มีตลาดโทรคมนาคมขนาดใหญ่กว่า ผู้บริโภคมากกว่าสิงคโปร์ที่เป็นประเทศเล็กมีประชากรน้อย นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีความเหมาะสมทางด้านภูมิศาสตร์ และประชาชนในประเทศยังมีกำลังซื้อที่ค่อนข้างสูง ซึ่งหากประเทศไทยมีการบริหารจัดการที่ดีก็จะสามารถเป็นศูนย์กลางโทรคมนาคมของอาเซียนได้

อุตสาหกรรมทีวีดิจิตอล

อุตสาหกรรมทีวีดิจิตอล

www.lawyer-thailand.com

การประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจทั้ง 24 ช่องของประเทศไทยโดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. มีความคึกคักและน่าติดตามมากขึ้นทุกขณะเมื่ออุตสาหกรรมต่างๆ เผยกลยุทธ์รับโอกาสในการสร้างรายได้จากการปรับเปลี่ยนสู่ยุคทีวีดิจิตอล

การปรับระบบรับและส่งสัญญาณโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันไปสู่ระบบดิจิตอลนั้น กสทช. ได้กำหนดให้มีใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องจำนวน 4 ประเภท คือ ใบอนุญาตโครงข่าย หรือ Multiplexer (MUX) ใบอนุญาตสิ่งอำนวยความสะดวกหรือเสาส่งสัญญาณ ใบอนุญาตช่องรายการ 48 ช่อง และใบอนุญาตบริการประยุกต์ ระบบทีวีดิจิตอลกำลังจะก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนเงินมหาศาล นายอนุพนธ์ เตจ๊ะวันโน ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญด้านทีวีดิจิตอล บริษัท ซิสโก้ ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) หนึ่งในทีมงานที่เคยร่วมเปลี่ยนระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกสู่ระบบดิจิตอลในประเทศออสเตรเลียได้ทำการประเมินเบื้องต้นว่าการเปลี่ยนผ่านระบบในประเทศไทยครั้งนี้จะก่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนประมาณ 1 – 3 แสนล้านบาทด้วยจำนวนผู้เล่นหลายภาคส่วนทั้งคอนเทนท์โพรวายเดอร์ เน็ตเวิร์คโปรวายเดอร์ และบรอดแคสเตอร์รวมทั้งสิ้นกว่า 100 ราย

ที่กล่าวว่าจะมีเงินสะพัดกว่าแสนล้านนั้นประกอบด้วยหลายกลุ่ม อาทิ การลงทุนโครงข่าย หรือ MUX ที่ กสทช. กำหนดให้มีใบอนุญาตรวม 6 ใบอนุญาต 6 โครงข่ายซึ่งแต่ละโครงข่ายจะลงทุนประมาณ 3,000 ล้านบาท หากรวม 6 ใบอนุญาตก็จะเป็นเงินประมาณ 18,000 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบการที่สนใจขอใบอนุญาตด้านโครงข่ายนี้ เช่น อสมท. ไทยพีบีเอส กรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 11 เป็นต้น

ด้านกลุ่มผู้ผลิตเนื้อหาหรือคอนเทนท์โพรวายเดอร์ก็มองการลงทุนทีวีดิจิตอลเป็นโอกาสทองของอุตสาหกรรมประเภทนี้เช่นกันโดยจะเห็นได้จากการออกมาประกาศแผนธุรกิจและทิศทางการดำเนินงานของบริษัท อาร์เอส โปรโมชั่น จำกัด (มหาชน) ที่จะก้าวสู่การเป็น Multi Content Media Network เช่นเดียวกับบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ที่จะใช้ความเชี่ยวชาญด้านการผลิตรายการในกลุ่มวาไรตี้ของบริษัทในเครือมาร่วมดำเนินการทั้งเอ็กแซ็กท์ กลุ่ม A-Time และ GTH เป็นต้น

ในอดีตคอนเทนท์ โพรวายเดอร์ อาจเข้าสู่ตลาดได้ยากเนื่องจากแพลตฟอร์มมีอยู่อย่างจำกัดแค่ฟรีทีวีไม่กี่ช่อง แต่ในปัจจุบันที่มีทั้งทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี และกำลังจะมีทีวีดิจิตอลด้วยอีก ทำให้ผู้ประกอบการรายเล็กมีโอกาสเข้ามาเป็นคอนเทนท์โพรวายเดอร์ได้มากขึ้น ประกอบกับความต้องการรับชมประเภทรายการของผู้บริโภคในปัจจุบันที่มีความหลากหลายและแตกต่างกันมากขึ้น ทำให้โอกาสของคอนเทนท์ โพรวายเดอร์เหล่านี้มีมากขึ้นโดยส่วนหนึ่งคงต้องยอมรับว่ามีผลมาจากการเกิดทีวีดิจิตอลนั่นเอง

กลุ่มต่อมาที่ต้องเรียกได้ว่าเป็นที่จับตามองที่สุดคือช่องรายการธุรกิจจำนวน 24 ช่องที่ กสทช. จะจัดประมูลในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายนปีนี้ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว รศ.ดร.ไพฑูรย์ ไกรพรศักดิ์ หัวหน้าทีมวิจัยประเมินมูลค่าคลื่นความถี่โทรทัศน์ในระบบดิจิตอล คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคาดรายได้จากการประมูล 24 ช่องอยู่ที่ราว 20,700 ล้านบาท

นอกจากนี้เม็ดเงินในอุตสาหกรรมทีวีดิจิตอลยังมาจากการวิธีในการรับชมที่แบ่งออกเป็น 2 ช่องทางคือการติดตั้งกล่องรับสัญญาณหรือที่บางคนเรียกว่า Set top box โดยวิธีนี้สามารถที่จะติดตั้งกับจอโทรทัศน์เครื่องเดิมที่มีอยู่ได้ทันที ปัจจุบันกล่องรับสัญญาณรุ่น HD ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 2,500 บาทต่อกล่อง และด้วยจำนวน 22 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศจะทำให้เกิดเม็ดเงินถึง 5.5 หมื่นล้านบาท อีกช่องทางหนึ่งคือการซื้อโทรทัศน์รุ่นใหม่ที่ออกแบบมาให้สามารถรับสัญญาณดิจิตอลได้ โดยราคาจะขึ้นอยู่กับขนาดและลูกเล่นต่างๆ ที่มากับเครื่องโทรทัศน์นั้นๆ แต่ทั้งการซื้อกล่องรับสัญญาณและการซื้อทีวีใหม่นั้น กสทช. มีแผนงานที่จะแจกคูปองส่วนลดให้กับประชาชนทั้ง 22 ครัวเรือนเพื่อนำไปเป็นส่วนลดในการซื้อด้วย

การเปิดประมูลทีวีดิจิตอลในครั้งนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบเฉพาะแต่ในกิจการวิทยุโทรทัศน์แต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลกระทบถึงอุตสาหกรรมโทรคมนาคมด้วยเนื่องจากกำลังจะเกิดการหลอมรวมของอุตสาหกรรมทั้ง 2 ส่วน อันมีที่มาจากการเปิดให้บริการ 3G อย่างเป็นทางการบนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ของทางฝั่งโทรคมนาคมจากผู้ประกอบการทั้ง 3 รายที่มีแนวโน้มว่าจะนำ 3G มาผนวกเข้ากับธุรกิจด้านทีวีดิจิตอล

โดยที่เห็นได้เด่นชัดที่สุดน่าจะเป็นกลุ่มบริษัท อินทัช กรุ๊ป ที่มีบริษัท แอดวานซ์ อินโฟว์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS เป็นบริษัทในเครือนั้น นายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหาร อินทัช กรุ๊ปกล่าวถึงสาเหตุที่อินทัชต้องการเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอลเพื่อต่อยอดธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ของบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค บริษัทลูกของ AIS ด้วย ซึ่งภาพธุรกิจเบื้องต้นของอินทัช คือเมื่ออินทัชมีช่องรายการทีวีก็จะส่งสัญญาณทีวีผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่

การเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับและส่งสัญญาณในระบบทีวีดิจิตอลในครั้งนี้นับเป็นการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรมวิทยุโทรทัศน์ไทยในรอบ 50 ปีและจะเป็นการประมูลใบอนุญาตช่องรายการโทรทัศน์ครั้งแรกของ กสทช. จึงไม่น่าแปลกใจที่กำลังจะสร้างเม็ดเงินที่สะพัดกว่าแสนล้านบาท ประกอบกับใบอนุญาตช่องรายการที่มีระยะเวลา 15 ปีจึงนับเป็นโอกาสอันดีในการเข้ามาของผู้เล่นรายใหม่ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่างๆ รวมไปถึงเป็นโอกาสอันดีของผู้เล่นรายเดิมในการขยายฐานผู้ชมและพัฒนาคุณภาพของเนื้อหาที่จะต้องมีความหลากหลายและตอบโจทก์ความต้องการของผู้บริโภคที่อาจมีความแตกต่างหรือมีความต้องการในลักษณะเฉพาะทางมากยิ่งขึ้น

 

 

นับถอยหลังสู่ IPv6

นับถอยหลังสู่ IPv6

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม.
Nakrit Sawettanan ACIArb
ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

อินเตอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญต่อการใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากยอดการใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเติบโตขึ้นอย่างแพร่หลายในประเทศไทยจนส่งผลให้หมายเลขไอพีของอินเตอร์เน็ตเดิม Internet Protocol Version 4 (“IPv4”) จำนวนประมาณ 4,000 ล้านเลขหมายนั้นกำลังจะ หมดลง หากหมายเลขไอพีอินเตอร์เน็ตหมดลงสัญญาณอินเตอร์เน็ตก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย คณะรัฐมนตรีจึงอนุมัติแผนที่ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (“กระทรวงไอซีที”) เตรียม Internet Protocol Version 6 (“IPv6”) ขึ้นมาใช้แทน IPv4 เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนหมายเลขไอพีอินเตอร์เน็ตในอนาคตด้วย ในคอลัมน์ฉบับนี้จะขอนำผู้อ่านไปรู้จักกับระบบ IPv6 และความพร้อมล่าสุดในการนำระบบ IPv6 มาใช้ในประเทศไทย

โดยทั่วไปกลไกสำคัญในการทำงานของอินเทอร์เน็ตก็คืออินเทอร์เน็ตโพรโตคอล ส่วนประกอบสำคัญของอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลได้แก่หมายเลขอินเทอร์เน็ตแอดเดรสหรือไอพีแอดเดรส (IP address) ที่ใช้ในการอ้างอิงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆบนอินเทอร์เน็ตทั่วโลก เปรียบเสมือนการใช้งานโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันที่จะต้องมีเลขหมายโทรศัพท์เพื่อให้อ้างอิงผู้รับสายได้ฉันใด คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตก็ต้องมีหมายเลข IP Address ที่ไม่ซ้ำกับใครฉันนั้น ที่ผ่านมาเราใช้ IPv4 เป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 แต่ด้วยการขยายตัวของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว ก็มีได้มีรายงานวิจัยพบว่าจำนวนหมายเลข IP address ของ IPv4 กำลังจะถูกใช้หมดไปและไม่เพียงพอกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคต

IPv6 จึงถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้แทนที่ IPv4 โดย IPv6 ออกแบบมาเพื่อปรุงโครงสร้างของตัวโพรโตคอลให้รองรับหมายเลขแอดเดรสจำนวนมาก และปรับปรุงคุณลักษณะอื่นๆ อีกหลายประการ ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความปลอดภัยรองรับระบบแอพพลิเคชั่น (application) ใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลแพ็กเก็ต (packet) ให้ดีขึ้น อันจะทำให้ IP address เพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นจำนวนมากขึ้นหลายเท่าสำหรับ IP address เดิมภายใต้ IPv4 addressนั้น มี 32 บิต ในขณะที่ IPv6 address มีถึง 128 บิต คาดการณ์กันว่าระบบนี้จะมีจำนวน IP address ถึง 340 ล้านล้านเลขหมายทีเดียว โดยระบบนี้จะสามารถตอบสนองต่อการขยายตัวและความต้องการใช้งานเทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในอนาคตได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นอินเตอร์เน็ตระบบนี้น่าจะสามารถพัฒนาเพื่อใช้เชื่อมต่อสัญญาณคลื่นโทรศัพท์ 3G และ 4G ที่จะเปิดใช้ในอนาคตได้เป็นอย่างดีด้วย

จากประสิทธิภาพที่ดีของ ไอพีวี6 คณะรัฐมนตรีของไทยจึงได้ออกมติเห็นชอบให้กระทรวง ไอซีที เร่งดำเนินแผนงานเปลี่ยนงานเพื่อผลักดันเปลี่ยนระบบอินเตอร์เน็ตประเทศไทยให้ทันสมัยขึ้นจาก IPv4 มาเป็น ไอพีวี6 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา

และในวันถัดมากระทรวง ไอซีที ก็ได้วางแผนการพัฒนาระบบ ไอพีวี6 ให้สอดคล้องกับมติ คณะรัฐมนตรีที่ออกมา โดยไอซีทีจะวางแผนปฏิบัติการระยะสั้นที่ใช้เวลาดำเนินการ 3 ปี (พ.ศ. 2556 – 2558) ในแต่ละปีมีขั้นตอนดำเนินงานโดยปี 2556 จะจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการและประสานงาน ไอพีวี6 เพื่อให้คำปรึกษา อบรม ทดสอบ ตรวจประเมินด้าน ไอพีวี6 ของประเทศ ในปี 2557 ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตทุกรายจะต้องเปิดบริการโดยสามารถเชื่อมโยง ไอพีวี6 ได้ และในปี 2558 จะมีการติดตั้ง ระบบอินเตอร์เน็ต ไอพีวี6 ให้แก่หน่วยงานของรัฐและสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ

นอกจากแผนปฏิบัติการระยะสั้นแล้ว ไอซีที ยังวางแผนจะสนับสนุนให้ ไอพีวี6 ประสบความสำเร็จในระยะยาวด้วยการพัฒนาบุคลากรไปพร้อมกับเทคโนโลยี ทั้งนี้ไอซีทีจะจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ ไอพีวี6 ให้แก่ทั้งบุคลากรของภาครัฐและเอกชนให้มีความรู้ความเข้าใจและความเชี่ยวชาญในระบบ ไอพีวี6 นอกจากนั้นไอซีทีจะรณรงค์ให้หน่วยงานต่างๆหันมาใช้ IPv6 กันมากขึ้นด้วย

ดังนั้นเราจึงควรติดตามดูการพัฒนาจาก IPv4 ไปสู่ IPv6 ซึ่งเป็นการพัฒนาอินเตอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดภายในรอบสามสิบปี นับตั้งแต่มีอินเตอร์เน็ตให้ใช้งาน ซึ่งหากทำสำเร็จภายในสามปีตามที่กระทรวงไอซีที วางแผนไว้ โอกาสที่คนไทยจะได้เข้าถึงอินเตอร์เน็ตมากขึ้น 80% ที่ไอซีทีตั้งเป้าไว้คงไม่ใช่เรื่องยาก นอกจากนั้นระบบติดต่อสื่อสารต่างๆที่เชื่อมโยงกับอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยก็จะพัฒนามากขึ้นด้วยเช่นกัน

ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com

ดาวโหลดเอกสาร